Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1001
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ สุขสำราญ, วัชรินทร์ ชาญศิลป์-
dc.contributor.authorจินตวิช บัวทอง-
dc.date.accessioned2022-05-30T02:50:50Z-
dc.date.available2022-05-30T02:50:50Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1001-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รม. (สาขาวิชารัฐศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560en_US
dc.description.abstractการศึกษา อุดมการณ์ทางการเมืองในบทเพลงที่ขับร้องโดย คํารณ สัมบุณณานนท์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาของบทเพลงในการสะท้อนสภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเพื่อศึกษา รูปแบมของอุดมการณ์ทางการเมืองจากเนื้อหาบทเพลงที่ คํารณ ขับร้อง ในช่วง พ.ศ.2481-2506 จํานวน 171 บทเพลง รวบรวมข้อมูลจากแผ่นเสียง หนังสือเพลง เอกสารอื่น ๆ การสัมภาษณ์ และ วิเคราะห์เนื้อหาบทเพลงในการสะท้อนสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงรูปแบบอุดมการณ์ในบทเพลง ผลการศึกษาพบว่า บทเพลงได้สะท้อนสังคม การเมือง เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา เช่น ปัญหาความยากจน ความยากลําบากในการดํารงชีพของผู้คนในสังคม พฤติกรรมการทุจริตคอรัปชั่น ของนักการเมือง การใช้อํานาจที่ไม่เป็นธรรมของผู้มีอํานาจในรัฐบาลและสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นในยุคนั้นเป็นต้น ในส่วนของอุดมการณ์ทางการเมือง ปรากฏอุดมการณ์สังคมนิยมจํานวนมากที่สุด เกิดขึ้นในช่วงที่สังคมมีปัญหาการแบ่งชนชั้น มีเนื้อหากล่าวถึงการแบ่งชนชั้น การถูกกดขี่ ชูครีค เอารัด เอาเปรียบของผู้คนในสังคมอุดมการณ์เสรีนิยมเกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลอนุญาตให้ประชาชน วิพากษ์วิจารณ์การเมืองได้อย่างเสรี ในปี 2498-2500 มีเนื้อหากล่าวถึงการใช้อํานาจในทางมิชอบและ ไม่เป็นธรรมของนักการเมือง รวมถึงการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และอุดมการณ์ชาตินิยม ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงที่มีกรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร มีเนื้อหาปลุกใจ ให้คนไทยมีความรักสามัคคี ร่วมกันปกป้องประเทศชาติจากผู้รุกราน โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ อุดมการณ์ทางการเมืองในบทเพลงได้แก่ สภาพการเมือง เศรษฐกิจ สังคม นโยบายและการใช้อํานาจของ รัฐบาล นักประพันธ์และศิลปินผู้ขับร้อง ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าบทเพลงส่วนใหญ่กล่าวถึง “ศาสนา” สอดแทรกอยู่ในทุกกลุ่มบทเพลง แสดงให้เห็นอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อผู้คนและสังคมในยุคนั้น และ บทเพลงยังเป็น “บันทึกประวัติศาสตร์” จากมุมมองของนักประพันธ์เพลง หรือมุมมองจากชาวบ้าน ในยุคนั้น ซึ่งเป็นมุมมองที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือการศึกษาอื่น ๆen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectคำรณ สัมบุณณานนท์ -- ผลงานen_US
dc.subjectอุดมการณ์ทางการเมืองen_US
dc.subjectบทเพลง -- การตีความ -- วิจัยen_US
dc.subjectเพลง -- แง่สังคมen_US
dc.titleอุดมการณ์ทางการเมืองในบทเพลงที่ขับร้องโดย คำรณ สัมบุณณานนท์en_US
dc.title.alternativePolitical ideology of Kamron Samboonnanon's songen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe objectives of this study were (1) to study the political, economic, as well as social expressions in Kamron's song lyrics; and (2) to research the political ideology patterns from the 171 songs he sang in 2481-2506 B.E. (1938-1963 A.D.) period collected from music discs, songbooks, other related documents, including the interviews, then analyzed and interpreted the a social, economic, political reflections, along with ideology styles from the songs. The results of research findings showed that Kainron Samboonnanon's songs cxpressed the social, economic, and political events happened in each period, for example, poverty, living difficulties, political corruption, power abused by politicians; as well as cconomic problems. In the part of political ideology, the socialist ideology was mostly taken place when social stratification happened. The lyrics at that period were written by inforning about stratification, oppression, extortion; including exploitation. Additionally, there was liberalism idcology occurred in 2498 - 2500 B.E. (1955 - 1957 A.D.). The songs at that time informed about abuse of power and freedom of speech prohibition. Besides, the Preah Vihear casc was the nationalism ideology creation which expressed the harmony and national defense through the song government policies and power; together with the songwriter and artist themselves. In addition, it was interesting that "the religion" were inserted in every Kamron's song. This point reflected that the religion had an influence on Thai people and Thai society. Most importantly, these songs were able to be “the historical records" by using the songwriter along with people points of view. All of them were interesting as well as useful for history studies, political sciences studies; and any further studies.en_US
dc.description.degree-nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineรัฐศาสตร์en_US
Appears in Collections:Political-Political-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jintawit Buathong.pdf7.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.