Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1011
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมปอง สุจริตกุล, ศิีิริโรจน์ รัฐประเสริฐ-
dc.contributor.authorปิติผล อุทัยแพน-
dc.date.accessioned2022-06-01T03:38:12Z-
dc.date.available2022-06-01T03:38:12Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1011-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการนำสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ไปใช้ เป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน 2) เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการแปลงสินทรัพย์เป็น ทุน ในกรณีการนำสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ไปใช้เป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกร 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจน แนวคิดเกี่ยวกับแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในต่างประเทศ กับในประเทศไทย 4) เพื่อศึกษาแนวทางใน การแก้ไขปัญหาการนำสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ไปใช้เป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อแก่ เกษตรกรในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน จากการศึกษาวิจัยใน ประเด็นแรก พบว่า การนำที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 มาใช้เป็นหลักประกัน การชำระหนี้ตามนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็ นทุน เนื่องจากตามกฎหมายที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือ ทำให้ไม่สามารถนำที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้กู้ยืมเงิน ได้ ดังนั้นในการขับเคลื่อนนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็ นทุนจำต้องอาศัยกลไกข้อตกลงระหว่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ในทางปฏิบัติ ส.ป.ก. จะต้องทำข้อตกลงเพื่อสร้างหลักประกันในการ ชำระหนี้ให้กับ ธ.ก.ส. เพื่อควบคุมให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และโครงการ ประเด็นที่สอง พบว่า ตามบันทึกข้อตกลงในการดำเนินการระหว่าง ส.ป.ก. กับ ธ.ก.ส. เรื่องการให้ผู้ได้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขอรับสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ปี 2556 ได้กำหนดหลักกฎเกณฑ์เพื่อสร้างหลักประกันการชำระหนี้ให้กับ ธ.ก.ส. โดยให้ ส.ป.ก. สรรหาเกษตรกรรายใหม่ซึ่งยินยอมชำระหนี้แทนให้ ธ.ก.ส. ตลอดจนการนำ เงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมชำระหนี้แทนให้ ธ.ก.ส. อย่างไรก็ดี แม้จะได้มีการแก้ไข บันทึกข้อตกลงในการดำเนินการระหว่าง ส.ป.ก. กับ ธ.ก.ส. ปี 2546 ในปี 2556 แล้วก็ตาม แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ได้มีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการสรรหาเกษตรกร รายใหม่ซึ่งยินยอมชำระหนี้แทนให้ ธ.ก.ส. ประเด็นที่สาม พบว่า ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรซึ่งมีสิทธิจะได้รับ ที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมไม่ครอบคลุมการสรรหา เกษตรกรรายใหม่ซึ่งยินยอมชำระหนี้แทนให้ ธ.ก.ส. เนื่องจากเกษตรกรซึ่งมีสิทธิจะได้รับที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้แทนให้ ธ.ก.ส. ดังนั้น จึงควรมีหลักเกณฑ์เป็นการเฉพาะเพื่อให้ เกิดความเสมอภาค เป็นธรรม และโปร่งใส ตลอดจนเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายแปลง สินทรัพย์เป็นทุนบรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายและโครงการจำเป็นต้องมีการประเมินราคาที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 และวงเงินในการปล่อยสินเชื่อควรเหมาะสมเพียงพอ ตลอดจนการควบคุมการใช้ ประโยชน์เงินจากการกู้ยืมเงินของเกษตรกรตามนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุน จากการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่าการนำนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุนมาใช้ในกรณีการนำ สิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ไปใช้เป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกร เป็นนโยบายที่ช่วยให้ เกษตรกรมีแหล่งเงินทุนในการเกษตรกรรม แต่อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากการสร้างหลักประกัน ให้กับสถาบันการเงินผู้ปล่อยสินเชื่อเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวแล้ว การประเมินราคาที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 และวงเงินในการปล่อยสินเชื่อควรเหมาะสมเพียงพอต่อการสร้างผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนควรให้มีการควบคุมการใช้ประโยชน์เงินจากการกู้ยืมเงินดังกล่าวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายและโครงการ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การสรรหาเกษตรกรรายใหม่ซึ่งยินยอมชำระ หนี้แทนให้ ธ.ก.ส. ขึ้นไว้โดยเฉพาะ กำหนดให้ใช้การประเมินราคาที่ดินโดยผู้ประเมินอิสระได้ นอกเหนือจากการใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ รวมทั้งกำหนดให้มีหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และควบคุมการดำเนินงานตามนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ในกรณีการนำสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ไปใช้เป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกร ระหว่าง ส.ป.ก. กับ ธ.ก.ส. ขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipวิทยานิพนธ์ (น.ม. (สาขานิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectที่ดินเพื่อการเกษตร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยen_US
dc.subjectการปฏิรูปที่ดิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนen_US
dc.titleการแก้ปัญหากฎหมายในการนำสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ไปใช้เป็นหลักประกันในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนen_US
dc.title.alternativeSolutions to legal problems of using rights in alro 4-01 land as collateral for loans to farmers in the asset capitalization projecten_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe purpose of this research was to 1) Study the problems of land use right transfer in ALRO 4-01 as collateral for granting loans to farmers in the capital-intensive projects. 2) To study theories and principles related to agricultural land reform. And asset conversion. In the case of land use right ALRO 4-01 is used as collateral to provide loans to farmers. 3) To compare the legal measures related to land reform. The concept of equity capital in foreign countries in Thailand 4) To study the way to solve the problems of land use right transfer in ALRO 4-01 as collateral for granting loans to farmers in the project of asset conversion. From the study on the first issue, it was found that using ALRO 4-01 land as collateral for debt repayment according to asset capitalization policy because ALRO 4-01 land is nontransferable according to the law causes it to be unable to be sold on the market for debt repayment. Therefore, to further develop the asset capitalization policy, the agreement among associate department are needed. In the other word; Agricultural Land Reform Office (ALRO) must practically make an agreement to create collateral for debt repayment with the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC) to control the objective of the process according to the law and the project. The study on the second issue found that according to the process agreement documentation between ALRO and BAAC on the subject of credit allocation for licensee of the land reformation from BAAC B.E. 2556 (2013) and the criteria has been set to make the collateral for debt repayment to BAAC by making ALRO agree to pay the debt in the place of BAAC all the way to using capital fund of agricultural land reform to pay the debt in place of BAAC. However, while there is a modification made on the agreement between ALRO and BAAC B.E. 2546 (2003) in year 2013, the agreement documentation does not have a clear detail on the process and method for searching new farmer who would agree to pay debt in place of BAAC. On the third issue, the Agricultural Land Reform Commission on Rules, Procedures, and Conditions for Selecting Farmers entitled to Land from Agricultural Land Reform, BE 2535 (1992) and as amended does not cover the matter of searching new farmer who would agree to pay debt in place of BAAC as farmer entitled to ALRO 4-01 land has no duty to pay the debt in place of BAAC. Therefore, a specified criterion should be created for fairness, clearness, and to be able to process according to the asset capitalization policy and success the objective of the law, and the project have to assess the price of ALRO 4-01, appropriate financial amount of credit released, and control the utilization of the loans of the farmer according to the asset capitalization policy. From the study, it could be summarized that using the asset capitalization policy on the case of using ALRO 4-01 land as collateral for credit allowance is a policy that would allow farmers to have budget for agriculture activities. However, other than creating the collateral for the bank to release credit and drive the policy forward, the assessment of the price of ALRO 4-01 land and the financial amount of credit released should be appropriate and sufficient for the agricultural production as well as increase the intensity and continuity of the loan control for the process to be according to the objective of law and the project. Therefore, the researcher suggests that a specified criterion on searching new farmer who would agree to pay debt in place of BAAC should be created, independent appraiser other than Department of Treasury should be able to assess the price of the land, and the criterion for supporting and controlling the process to be according to the asset capitalization policy in case of using ALRO 4-01 land as collateral for credit allowance between ALRO and BAAC.en_US
dc.description.degree-nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineนิติศาสตร์en_US
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PITIPHOL UTHAIPAN.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.