Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1012
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริโรจน์ รัฐประเสริฐ-
dc.contributor.authorสิทธา จันทรวิบูลย์-
dc.date.accessioned2022-06-01T03:50:54Z-
dc.date.available2022-06-01T03:50:54Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1012-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (สาขานิติศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน การกระทําความผิดอันเกิดจากการปล่อยเงินกู้นอกระบบเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอันเกี่ยวกับการป้องกัน การปล่อยเงินกู้นอกระบบ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการปล่อยเงินกู้นอกระบบสามารถบรรลุ วัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ได้อย่างแท้จริง โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร โดยจะศึกษาค้นคว้าข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ตัวบทกฎหมายดําอธิบาย ตําราทางวิชาการ บทความของนักกฎหมาย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และคําพิพากษาศาลฎีกา • จากการศึกษาวิจัยพบว่า ประเด็นแรก แม้ว่าในประเทศไทยจะมีกฎหมายอยู่หลายฉบับ ซึ่งนํามาใช้บังคับกับการกระทําความผิดอันเกิดจากการปล่อยเงินกู้นอกระบบก็ตาม แต่ก็มิใช่ กฎหมายที่ใช้กํากับดูแลธุรกิจการปล่อยเงินกู้นอกระบบโดยเฉพาะ ทั้งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ใน ปัจจุบันก็บัญญัติไม่ครอบคลุมถึงลักษณะพฤติการณ์ และความร้ายแรงของการกระทําความผิด อันเกิดจากการปล่อยเงินกู้นอกระบบที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันแต่อย่างใด กอปรกับอัตราโทษน้อย ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทําความผิด ทั้งยังไม่มีหน่วยงานใดที่มีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบ ป้องกัน และกํากับดูแลการประกอบธุรกิจการเงินนอกระบบ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับความ เสียหายจากการปล่อยเงินกู้นอกระบบโดยเฉพาะ นอกจากนี้ประเด็นที่สองมาตรการทางกฎหมาย ในการป้องกันการปล่อยเงินกู้นอกระบบในต่างประเทศนั้น มีทั้งการกําหนดความรับผิดในทางแพ่ง และความรับผิดในทางอาญาแตกต่างกัน แต่ก็ไม่ได้มีการกําหนดความผิดและบทลงโทษอันเกี่ยวกับ การปล่อยเงินกู้นอกระบบเอาไว้เป็นการเฉพาะ เพียงแต่มีการบัญญัติความผิดเอาไว้เป็นรายกรณี ๆ ไปในกฎหมายแต่ละฉบับ เหมือนกับกรณีของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศนั้น ก็มีหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบ ป้องกัน และกํากับดูแลการประกอบธุรกิจการเงินนอกระบบโดยเฉพาะ ดังเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเด็นสุดท้าย เพื่อให้มาตรการทางกฎหมาย ในการป้องกันการปล่อยเงินกู้นอกระบบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และได้สัดส่วน ที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทําความผิด จึงควรกําหนดความผิดอาญาอันเกี่ยวกับการให้กู้ยืม เงินนอกระบบ โดยบัญญัติให้ครอบคลุมถึงลักษณะ พฤติการณ์ และความร้ายแรงของการกระทําความผิด รวมทั้งกําหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการปล่อยเงินกู้นอกระบบไว้เป็นการเฉพาะ จากการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการปล่อยเงินกู้นอกระบบ ในต่างประเทศ เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทยไม่ได้มีการกําหนดความผิดและบทลงโทษ อันเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินนอกระบบเอาไว้เป็นการเฉพาะ เพียงแต่มีการบัญญัติความผิดเอาไว้เป็นราย กรณี ๆ ไป ในกฎหมายแต่ละฉบับ ซึ่งไม่ครอบคลุม และไม่ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของการกระทํา ความผิด ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการกําหนดความผิดอาญาอันเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินนอกระบบโดย การตราเป็นพระราชบัญญัติและบัญญัติให้ครอบคลุมถึงลักษณะ พฤติการณ์ และความร้ายแรงของ การกระทําความผิด ตลอดจนกําหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการปล่อยเงินกู้นอกระบบen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectหนี้นอกระบบ -- การจัดการ -- วิจัยen_US
dc.subjectหนี้นอกระบบ -- การแก้ปัญหา -- วิจัยen_US
dc.titleหนี้นอกระบบ : ศึกษากรณีมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการปล่อย เงินกู้นอกระบบen_US
dc.title.alternativeIllegal debt : a case study of legal preventive measures against the illegal lendingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis research aims to study legal measures to prevent offence from illegal lending in comparison with foreign laws and to find a guideline of solving problems of legal enforcement related to prevention of illegal lending so that the solution for illegal lending can be achieved according to true intention. This study is a qualitative research emphasizing documentary research by examining and researching data and documents in both Thai and foreign language including legal provisions, explanations, academic textbook, article of lawyers, thesis, independent studies and supreme court judgment. The study result reveals that although Thailand has a number of laws that are enforced with offence owing to illegal lending, they are not laws particularly employed for supervising illegal lending business. In addition, currently enacted laws do not cover manners, circumstance and severity of offence from illegal lending and the penalty is weak and disproportionate to the crime. Furthermore, there are no authorities that have duties and responsibilities to audit, prevent and monitor illegal lending business operation and to assist debtors who are injured from illegal lending. The second issue is that legal measures to prevent illegal lending in foreign countries are regulated of both civil and criminal responsibility differently but they do not stipulate offence and penalty specifically related to illegal lending as they regulate only offence in case by case in each legal provision. This is similar to Thai law; however, foreign countries have authorities that have duties to audit, prevent and monitor illegal lending, in particular, such as the United States. The final issue is to make legal provisions for preventing illegal lending effective, comprehensive and proportionate to offence severity. It is necessary to determine criminal offence in relation with illegal lending with regulation covering manners, circumstance and severities of offence and to appoint illegal lending prevention and suppression commission. According to the study, it can be concluded that legal provisions for preventing illegal lending in foreign countries compared with laws in Thailand were not stipulated of offence and punishment pertaining to illegal lending, in particular. They are just regulated in case by case in each law, which are not inclusive and proportionate to offence severity. Therefore, the researcher proposes that criminal penalty be imposed on illegal lending by regulating it to include manners, circumstance and severities of offence. Moreover, illegal lending prevention and suppression commission should be particularly appointed.en_US
dc.description.degree-nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineนิติศาสตร์en_US
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SITTA CHANTARAVIBOON.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.