Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/101
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดารุณี เสริฐผล-
dc.contributor.authorณิชกมล โพธิรังสิยากร-
dc.date.accessioned2021-12-02T06:50:14Z-
dc.date.available2021-12-02T06:50:14Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/101-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวคิดทาง วิทยาศาสตร์ ผลการเรียนรู้และศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ โดยใช้ รูปแบบการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยกลุ่ม ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 จำนวน 45 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี ในปี การศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน แบบทำ นาย สังเกต อธิบาย (POE) เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ บันทึกหลังการสอน แบบสังเกตพฤติกรรม การเรียนของนักเรียน และแบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อ มูลเชิง คุณภาพโดยการจัดกลุ่มระดับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และวิเคราะห์ข้อ มูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยนักเรียนมีแนวคิดทาง วิทยาศาสตร์ในระดับไม่มีแนวคิดจำนวนลดลงร้อยละ 79.63 และแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนในระดับแนวคิดที่สมบูรณ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.83 รวมถึงผลความก้าวหน้าทางการ เรียนเฉลี่ยรายชั้นหลังการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 0.64 จัดอยู่ในระดับปานกลาง และผลความก้าวหน้าทางการเรียนรายบุคคลอยู่ในระดับสูงจำนวน 16 คนและระดับปานกลางจำนวน 29 คน จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบทำ นาย สังเกต อธิบาย(POE) สามารถช่วยพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ได้en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectพันธะเคมี -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectการพัฒนาแนวคิดen_US
dc.subjectการจัดการเรียนการสอนen_US
dc.titleการพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE)en_US
dc.title.alternativeThe development of grade 10 students’ scientific concept on covalent bonds using predict observe explain (POE)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis classroom action research aimed to develop the scientific concept of grade 10 students and their learning outcomes and to study approaches for the management of science instruction in the lesson on covalent bonds using Predict Observe Explain (POE). The samples were 45 grade 10 students at a school in Pathumthani Province during the academic year 2019, the number of which was obtained from purposive sampling. The research instruments were the Predict Observe Explain (POE) lesson plans on covalent bonds, a field note, a learning behavior observation form, and a scientific concept test. The qualitative data were analyzed using mean, standard deviation, and normalized gain <g>. The results showed that, after using the Predict Observe Explain (POE) technique, the percentage of students in the ‘no understanding’ level dropped to 79.63%. The percentage of students meeting the complete understanding level increased to 38.83%. The class average normalized gain was classified as medium gain (0.64%). The average normalized gains of 16 and 29 students’ learning outcomes were high and medium, respectively. The findings implied that learning management with Predict Observe Explain (POE) could develop the students’ scientific concept and learning outcomes in the lesson on covalent bonds.en_US
dc.description.degree-nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการสอนวิทยาศาสตร์en_US
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nichakamon Potirungsiyakorn.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.