Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1036
Title: การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างกองทัพอากาศให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
Other Titles: Knowledge management for strengthening Royal Thai Air Force to be a learning organization
Authors: พลิศร วุฒำพำณิชย์
metadata.dc.contributor.advisor: สมบูรณ์ สุขสำราญ, จุมพล หนิมพานิช
Keywords: กองทัพอากาศ -- การเรียนรู้องค์การ;การจัดการเรียนรู้ -- วิจัย;องค์การแห่งการเรียนรู้
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงกระบวนการการจัดการความรู้ของกองทัพอากาศ และ สภาวะที่มีผลต่อกระบวนการการจัดการความรู้ ตลอดจนพัฒนาข้อเสนอแนะในการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างกองทัพอากาศให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ การวิเคราะห์งานวิจัย การสังเคราะห์ หลักฐานเชิงประจักษ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1. ด้านกระบวนการการจัดการความรู้ของกองทัพอากาศ พบว่า การจัดการความรู้ (KM) จะเกิดประโยชน์ต่อเนื่องในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์การในที่สุด โดยกองทัพอากาศ ขับเคลื่อนกระบวนการการจัดการความรู้บนพื้นฐานความคิดที่ว่า “KM ต้องไม่เพิ่มภาระงานให้กับ ผู้ปฏิบัติงาน” และกองทัพอากาศมีกระบวนการการดําเนินการที่เป็นระบบและกิจกรรมการจัดการ ความรู้ที่มีความชัดเจน โดยใช้แนวคิด 4 Learn ในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ มีการแต่งตั้ง คณะทํางานและกําหนดผู้รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีแผนแม่บทในการจัดการความรู้เพื่อ เสริมสร้างกองทัพอากาศให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการนําโปรแกรม เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการเข้าถึงองค์ความรู้ ด้วยการสร้างเว็บไซต์การจัดการความรู้ ของกองทัพอากาศ (RTAF KM Web Portal) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้จาก หน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ 2. ด้านสภาวะที่มีผลต่อกระบวนการการจัดการความรู้ พบว่า สภาวะที่ช่วยหนุนนําและ สนับสนุนการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของกองทัพอากาศให้พัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม นําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ และผลักดันให้กระบวนการ การจัดการความรู้นําพากองทัพอากาศไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ในที่สุด นอกจากการมี กระบวนการการดําเนินการที่เป็นระบบ ความร่วมมือและทักษะที่ดีของกําลังพลในการจัดการ ความรู้ และการมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่รองรับแล้ว ยังมีสภาวะสําคัญด้านอื่นอีกที่มีผลเชิงบวก ต่อกระบวนการการจัดการความรู้ของกองทัพอากาศ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 2.1 ด้านภาวะผู้นํา พบว่า การผลักดันของผู้นําเป็นสภาวะที่มีบทบาทสําคัญที่สุด ต่อการขานรับและการขับเคลื่อนกระบวนการการจัดการความรู้ของแต่ละหน่วย โดยการขับเคลื่อน อย่างต่อเนื่องจะไม่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นํา และผู้นําระดับสูงจะเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้นําทุกระดับของกองทัพอากาศมีอิทธิพลเชิงบวก ต่อการผลักดันและนําพาให้กระบวนการการจัดการความรู้ขับเคลื่อนไปได้อย่างเป็นรูปธรรม 2.2 ด้านวัฒนธรรมองค์การ พบว่า กองทัพอากาศมีวัฒนธรรมที่เหมาะสมและเกื้อหนุน ให้องค์การพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง นําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ รวมทั้งผลักดันให้การจัดการความรู้ขับเคลื่อนไปได้ โดยกองทัพอากาศมีวัฒนธรรมองค์การที่เป็น ทางการ มีความแข็งแรง คงทน และเปลี่ยนแปลงได้ยาก ตลอดจนมีสายการบังคับบัญชาที่เข้มแข็ง ชัดเจน มีระเบียบวินัย และการเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา อันเป็นลักษณะสําคัญที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ รวมทั้งมีวินัยทหารซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจที่ช่วยหนุนนําและสร้างมาตรฐานความสําเร็จภายใน องค์การ นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมองค์การที่ไม่เป็นทางการสอดแทรกอยู่ด้วย นั่นคือ วัฒนธรรมที่มุ่งเน้น ความเป็นพี่เป็นน้อง และวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ ตลอดจนมีการสร้างจิตสํานึกในความเป็นทหารอากาศและการกําหนดค่านิยมหลักของกองทัพอากาศ ให้กําลังพลถือปฏิบัติจนหยั่งรากลึกและเกิดเป็นวัฒนธรรมที่นําไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ 2.3 ด้านโครงสร้างองค์การ พบว่า กองทัพอากาศมีโครงสร้างองค์การที่เหมาะสม มีการกระจายอํานาจ การลดจํานวนลําดับชั้นในองค์การ และมีการบริหารจัดการภายในที่ดี ซึ่งส่งผลเชิงบวก ต่อการจัดการความรู้ โดยกองทัพอากาศเป็นกองทัพขนาดเล็กที่จิ๋วแต่แจ๋วและมีโครงสร้างการสั่งการ จากบนลงล่าง ส่งผลให้ง่ายต่อการถ่ายทอดความรู้และสามารถดึงองค์ความรู้ที่แทรกอยู่ในทุกระดับของ องค์การมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันได้ หากมีการสั่งการลงมา รวมทั้งมีการกําหนดแนวทางการกํากับ ดูแลตนเองที่ดีและมีความชัดเจน การบริหารจัดการองค์การที่ดี และการเปิดรับแนวคิคลีนมาปรับใช้ใน การจัดการและบริหารองค์การ โดยมุ่งเน้นการกําจัดความสูญเปล่าให้ออกไปด้วยการปรับปรุงกระบวนงาน 3. ด้านข้อเสนอแนะในการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างกองทัพอากาศให้เป็นองค์การแห่ง การเรียนรู้ พบว่า กองทัพอากาศควรกําหนดตัวชี้วัดการประเมินผลการดําเนินการการจัดการความรู้ ไว้ในแผนปฏิบัติการของทุกหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศต่อเนื่องทุกปี และประเมินผลการจัดการความรู้ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีของทุกหน่วยอย่างน้อยหน่วยละ 1 เรื่องต่อปี รวมทั้งจัดระบบให้มีการตรวจเยี่ยม ให้คําปรึกษาแนะนําเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และร่วมสร้างชุมชนนักปฏิบัติด้านการตัดสินผลงาน คุณภาพระดับหน่วยงาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ตลอดจนกําหนด แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการความรู้สําหรับหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศอย่างชัดเจน
metadata.dc.description.other-abstract: This research aims to study the knowledge management process of Royal Thai Air Force. The conditions that affect the knowledge management process and development of knowledge management suggestions for strengthening Royal Thai Air Force to be a learning organization. The qualitative method was used to collect data from primary and secondary documents, analysis research, synthesis empirical evidences, in-depth interview and participant observation. It was found from the study as follows. 1. The knowledge management process of Royal Thai Air Force found that knowledge management (KM) will continue to benefit the development of people, job and organization. The knowledge management process is based on the idea that "KM must not add workload to the worker." Royal Thai Air Force has a clear knowledge management process and activities. 4 Learn is used to drive knowledge management. Workers are appointed and assigned to take concrete action. There is a master plan for knowledge management for strengthening Royal Thai Air Force to be a learning organization. The application of information technology to facilitate the access to management and information technology support, there are also other important conditions that have a positive effect on the knowledge management process of Royal Thai Air Force, which can be summarized below : 2.1 In terms of leadership condition it was found that leadership plays an important role in driving the process of knowledge management. If leader does not support, continuous driving will not occur. In addition, high level leaders will be the starting point for effective change. Leaders of all levels of Royal Thai Air Force have a positive influence on driving knowledge management process. 2.2 In terms of organizational culture condition it was found that Royal Thai Air Force has an appropriate organizational culture and supporting the development of the organization in the right direction. Leading to increased efficiency and effectiveness of the organization. It can also drive the knowledge management process. Royal Thai Air Force has a formal culture that is relatively strong, durable and difficult to change including a strong command line, discipline and obey the bosses, which is an important aspect that facilitates learning. There is the military discipline which is the heart to help lead and build the standard of success within the organization. In addition, Royal Thai Air Force has an unofficial organizational culture focusing on being a brotherhood. A culture of learning that values and participates in actions that support knowledge management. And creating a consciousness in the Air Minded by defining the core values of Royal Thai Air Force for troops to hold its roots and become a culture of Royal Thai Air Force that leads to achieving its vision. 2.3 In terms of organizational structure condition it was found that Royal Thai Air Force has the appropriate organizational structure, decentralization, reducing the number of hierarchical organization and good organizational management positively influenced the process of knowledge management. Royal Thai Air Force is "Small is Beautiful,” with its, a top-down order structure facilitates the transfer of knowledge and can pull the knowledge that is inserted at all levels of the organization to exchange it if a commander orders. Royal Thai Air Force is also a military organization with good and clear self-regulatory guidelines, good organizational management and lean management concepts have been adapted for use in the management and organization management by focusing on eliminating waste out of operations to improve processes. 3. In terms of suggestions for knowledge management for strengthening Royal Thai Air Force to be a learning organization, it was found that Royal Thai Air Force should set up the evaluation of knowledge management activities in the action plan of all Royal Thai Air Force units every year. Knowledge management is evaluating the best practices of each unit at least 1 per unit per year. In addition, organizing the inspection system, consultation is ongoing and building a Community of Practice for judging the quality of the agency. To strengthen the Royal Thai Air Force units and establish a guideline for driving knowledge management for the Royal Thai Air Force units clearly.
Description: ดุุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1036
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FLYING OFFICER PALISORN WUTHAPHANICH.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.