Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1038
Title: | การพัฒนาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานด้านพัฒนาเกษตรกรของสานักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสกลนคร |
Other Titles: | Developing a lavel of public participation in farmer development’s sector of the land reform office area in Sakonnakhon Province |
Authors: | ประกายรุ่ง สายสุด |
metadata.dc.contributor.advisor: | สมบูรณ์ สุขสาราญ |
Keywords: | ที่ดิน, การปฏิรูป -- ไทย --สกลนคร;ที่ดิน, การปฏิรูป -- การมีส่วนร่วมของประชาชน;การปฏิรูปที่ดิน -- ไทย --สกลนคร |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนเพื่อแสวงหาแนวทางการส่งเสริม และพัฒนาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานด้านพัฒนาเกษตรกร ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสกลนคร โดยมีขอบเขตด้านประชากร คือ ประชาชนซึ่งเป็นเกษตรกร ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบในแต่ละดับพื้นที่ และเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินของจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมของแบบสอบถามเท่ากับ 0.89 และใช้แบบสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบอิสระ (T-Test Independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ด้วยสถิติทดสอบ (F-Test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 277 คน คิดเป็นร้อยละ 69.2 คน มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี คิดเป็น ร้อยละ 55.8 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 91 และประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 80.5 ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 60 มีแรงงานในครัวเรือน เพียง 2 คน คิดเป็นร้อยละ 65 ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 72.5 และไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 50.3 2) ผลการวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมในงานด้านพัฒนาเกษตรกรของสำนักงาน การปฏิรูปที่ดินจังหวัดสกลนคร โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ร่วมด้านการปรึกษาหารือ ด้านการให้ข้อมูล และด้านการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน อยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผนร่วมกัน / ร่วมปฏิบัติ และด้านการร่วมติดตามตรวจสอบ อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการควบคุมโดยประชาชน อยู่ในระดับน้อย 3) ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในงานด้านพัฒนาเกษตรกรของสานักงาน การปฏิรูปที่ดินจังหวัดสกลนคร โดยรวม จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ จำนวนแรงงานในครัวเรือนตำแหน่งทางสังคม การเป็นสมาชิกกลุ่ม พบว่า ไม่แตกต่างกัน 4) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระดับการมีส่วนร่วมในงานด้านพัฒนาเกษตรกรของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสกลนคร มีดังนี้ (1) สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน ทั้งส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค ต้องปรับกระบวนทัศน์ ใช้การสื่อสารจากล่างขึ้นบนตลอดจนพัฒนาบุคลากร ทุกระดับขั้นให้มีความรู้ ให้เข้าใจกระบวนการทางานแบบมีส่วนร่วมของประชาชนและกระบวนการทางานส่งเสริมการเกษตร (2) ควรเพิ่มช่องทางการในการให้ข้อมูล ข่าวสาร เช่น การใช้แอพพลิเคชั่น Line, Facebook หรือช่องทาง อื่น ๆ ตลอดจนลงพื้นที่เป็นประจำ และครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น (3) ให้ความสำคัญกับ ผู้แทนเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการอื่นที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ตลอดจน ธุรกิจในท้องถิ่น ที่เกี่ยวกับเกษตรกร โดยเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในทุกกระบวนการ ตลอดจนร่วมกันปฏิบัติงานแบบบูรณาการ (4) ควรมุ่งเน้นการทำงานไปที่การสร้างความแข็งแรงให้กับชุมชนท้องถิ่นในการแก้ปัญหาของตัวประชาชนเอง และร่วมกันติดตามและประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงการทางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (5) ควรสร้างจิตสานึกให้กับคนในชุมชน ให้ตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ ต่อการพัฒนา และต่อสังคม ตลอดจนต้องมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research employs both quantitative and qualitative methods, aiming to study and analyze a level of public participation covering to develop a level of public participation in farmer development’s sector of the land reform office area in Sakon Nakhon province. The population used in the study was 400 farmers who are leader of community learning center of farmer’s network in the land reform area of Sakon Nakhon Province. The instruments used were a checklist, rating scale questionnaire and used interview for 5 experts. Entire reliability coefficient was 0.89. The Statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test Independent and One-Way Analysis of Variance. The findings were as follows: 1. Most of the respondents or 69.2% were males; 55.8 % were in the 41~50 age range; 91% graduated at the primary education level ; 80.5 % were agricultural farmers; 60% had income less than 5,000 baht / month ; 65% had household labor only 2 person ; 72.5% does not have a social position and 50.3 did not belong to the group. 2. The analysis result of a level of public participation in farmer development’s sector of the land reform office area in Sakon Nakhon province was found at the medium level. Considering it by aspects, it was found that participation in the aspect of join the discussion, Information and the public exposure was at the high level; while in those of joint to planning and co-monitoring is moderately and co-operation were at the medium and controlled by the public were low levels. 3. The result of the overall of a level of public participation in farmer development’s sector of the land reform office area in Sakon Nakhon province as classified by sex, age, educational attainment, occupation and income, number of laborers in the household, social position and group membership was found that those had no differences. 4. The recommendations to develop a level of public participation in farmer development’s sector of the land reform office area in Sakon Nakhon province. According to the experts are as follows: (1) The central and regional land reform office must adjust the paradigm and use communication from the bottom up. As well as the development of personnel at all levels to have the knowledge to understand the process of public participation and agricultural extension work processes. (2) It should add channels to provide information, such as using the application Line, Facebook or other channel and go to the agricultural area regularly and more coverage to remote areas. (3) Pay attention to farmers' representatives, farmer groups, community leaders; both formal and informal, local government, other government agencies working in the area and local businesses with farmers by giving them the opportunity to get involved in every process of work and integrated work practices. (4) It should focus on strengthening the local community in solving the problems of the people themselves and joint, track and evaluate periodically to improve the work more effective. (5) Should raise awareness for people in the community to be aware of the role of development and society, and to have a shared responsibility |
Description: | วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560 |
metadata.dc.description.degree-name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1038 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | PAI-PA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PRAKAYRUNG SAISUD.pdf | 5.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.