Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1040
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิดาภา ถิรศิริกุล | - |
dc.contributor.author | วชิรวัชร งามละม่อม | - |
dc.date.accessioned | 2022-06-02T03:05:12Z | - |
dc.date.available | 2022-06-02T03:05:12Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1040 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย เพื่อศึกษาการประเมินนโยบายช่วยเหลือชาวนาของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ในจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบาย 2) เพื่อประเมินผลกระทบจากการดำเนินนโยบาย และ 3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ซึ่งการวิจัย เชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์สุ่มแบบเจาะจง จำนวน 16 คน ได้แก่ ตัวแทนชาวนา เจ้าหน้าที่ของ ภาครัฐเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอและผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยใช้วิธีการ วิเคราะห์แบบอุปนัย และข้อมูลที่ได้จากเอกสารจะใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาส่วนการวิจัย เชิงปริมาณประชากรที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 400 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบเลือกตอบ และนำข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า : 1) ประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบาย ประกอบด้วย (1.1) ด้านบริบทหรือสภาวะ แวดล้อมของนโยบาย พบว่า เกษตรกรชาวนาทราบถึงเป้ าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการจ่ายเงิน ช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท และชาวนามีความเข้าใจเป้าหมายในการจ่ายเงินให้กับชาวนาจาการ ขึนทะเบียนเกษตรกรชาวนาขอรับเงินช่วยเหลือกับ ธกส. มีค่าสูงที่สุด (X = 3.08, S.D. = .838) (1.2) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของนโยบาย พบว่า วัสดุอุปกรณ์ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินงานใช้ร่วมกันกับงานประจำจึงสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และชาวนามี ความเห็นว่าผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีการประสานงานตามที่ส่วนราชการกำหนดได้อย่างทั่วถึง มีค่าสูงที่สุด (X = 3.07, S.D. = .854) (1.3) ด้านกระบวนการดำเนินการตามนโยบาย พบว่า หน่วยงาน ภาครัฐมีการจัดลำดับขั้นตอนการช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาอย่างเป็นระบบ ประกอบกับการใช้ข้อมูล จากสมุดทะเบียนเกษตรกรในการนำไปใช้ในการตรวจสอบรับรองสิทธิ์ และชาวนามีความเห็นว่าหน่วยงานภาครัฐมีการสำรวจและปรับปรุงรายชื่อผู้มีสิทธิได รับเงินช่วยเหลืออยู่เสมอมีค่าสูงที่สุด (X = 3.16, S.D. = .804) และ (1.4) ด้านผลผลิตของนโยบาย พบว่า การแก้ไขปัญหาที่ชาวนาได้รับ ความเดือดร้อน ซึ่งรัฐบาลเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต้นทุนการเพาะปลูก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ฐานล่าง และชาวนามีความเห็นว่านโยบายการช่วยเหลือชาวนาทำให้ชาวนาสามารถนำเงินที่ได้รับไปใช้ จ่ายในภาคการเกษตรได้อย่างเหมาะสมมีค่าสูงที่สุด (X = 2.88, S.D. = .951) 2) การประเมินผลกระทบจากการดำเนินนโยบาย พบว่า (2.1) ด้านปัจจัยเชิงบวกทำให้ช่วย ลดต้นทุนการปลูกข้าว ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและค่าอุปโภคบริโภค และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจาก การใช้จ่าย และชาวนามีความเห็นว่าชาวนาสามารถนำเงินไปใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค และเป็นการ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานล่างจากการใช้จ่ายของชาวนามีค่าสูงทีสุด ( X = 2.78, S.D. = .877) และ (2.2) ด้านปัจจัยเชิงลบเกษตรกรชาวนาได้รับผลกระทบจากปัญหาต้นทุนในการเพาะปลูกที่สูง และชาวนามี ความเห็นว่าราคาของปุ๋ยเคมี วัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร ยากำจัดศัตรูพืช ค่าจ้างแรงงาน ค่าเพาะปลูก และค่าเก็บเกี่ยว มีราคาสูงทำให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนในแต่ละพื้นที่มีค่าสูงที่สุด (X = 3.06, S.D. = 1.123) 3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา คือ (3.1) การพัฒนาชาวนาผู้ปลูกข้าวให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและการบริหารจัดการที่ดีในการผลิตและการจัดการผลผลิต และมีความ เข้มแข็งในการประกอบอาชีพ (3.2) การวางแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบเพื่อสนองความต้องการ ของชาวนาในการดำเนินชีวิตอย่างรอบด้าน (3.3) ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับข้าวและ ชาวนาอย่างเป็ นระบบ รวมทั้งสร้างองค์กรที่ดำเนินการเกี่ยวกับข้าวและชาวนาโดยตรง และ (3.4) เน้นการส่งเสริมการรวมกลุ่มของชาวนา สร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ชาวนาได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ภูมิปัญญา เพื่อการแก้ไขปัญหาและสามารถพัฒนาตนเองได้ตามแนวทางปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | คณะรักษาความสงบแห่งชาติ -- ผลงาน | en_US |
dc.subject | ชาวนา -- ไทย -- สุรินทร์ | en_US |
dc.subject | ข้าว -- นโยบายของรัฐ -- ไทย -- สุรินทร์ | en_US |
dc.subject | เกษตรกร -- นโยบายของรัฐ | en_US |
dc.title | การประเมินนโยบายช่วยเหลือชาวนาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ในจังหวัดสุรินทร์ | en_US |
dc.title.alternative | Evaluation of helping farmer policy of national council for peace and order (ncpo) in the case of the spending 1,000 baht per rai for farmers project in Surin Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The purpose of this research was to investigate the evaluation of Helping Farmer Policy of National Council for Peace and Order (NCPO), the case of “1,000 Baht per Rai for Farmers” financial support project in Surin Province. The objectives included: 1) to evaluate the effective implementation of the policy, 2) to evaluate the impacts of the implementation and 3) to suggest the solutions for the problem. Sixteen informants, farmer representatives, government officers, district agricultural officers and the manager of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, were randomly chosen for the interview in the qualitative part of this research. The data from the interview were inductively analyzed, and those from document were analyzed through content analysis. For the quantitative part, the sampling group of 400 respondents was assigned through Taro Yamane's formula. The data collecting instrument was multiple choice questionnaires. The data were statistically analyzed by percentage, arithmetic mean and standard deviation. The research finding were as follows: 1. The effectiveness of the policy was evaluated in the following aspects: 1.1) In terms of context, it was found that farmers were informed of objectives of the financial supporting project. They also understood the aim of the sum of 1,000 baht provided for them after being registered on the list of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. This item was rated the highest (X = 3.08, S.D. = .838). 1.2) Regarding the fundamental factors of the policy, the item rated the highest (X = 3.07, S.D. = .854) was the materials, print media or other resources relating to the effective daily operation of the policy. The respondents agreed that the community leaders cooperated well with the government officers. 1.3) With respect to the policy procedure, the item rated the highest (X = 3.16, S.D. = .804) was the government systematic supporting scheme targeted to the farmers, along with data from the official right confirming booklet, which was constantly revised by the government. 1.4) In terms of the outcomes of the policy, the item receiving the highest scores (X = 2.88, S.D. = .951) was the solution to the problem in which farmers were helped through the agricultural fund and low-level economic was developed. The respondents agreed that the money from the policy could help them properly. 2. The impacts of the policy implementation were evaluated in the following aspects: The effects of the policy evaluation found that: 2.1) In terms of positive factors which helped minimize the cost and household expenses. The respondents agreed that this could stimulate low-level economy via money spending and perceived this item the highest (X = 2.78, S.D. = .877). 2.2) Regarding the negative factors, the item rated the highest (X = 3.06, S.D. = 1.123) was the unreasonably high cost of farming. The respondents posited that the price of chemical fertilizer, agricultural equipment, pesticide, labor wages, and harvesting cost were high, causing big financial problems in each area. 3. The suggestions to the problem are 3.1) developing rice farmers, equipping them with needed skills in terms of agricultural product management to enable them to earn their living strongly. 3.2) There should be systematic strategic planning in order to serve the needs of farmers in all aspects. 3.3) The law about rice and farmers should be systematically reviewed and revised; this includes establishing organizations which oversee rice producing process. 3.4) The political get-together of farmers should be encouraged so that they can access to data and information which lead to the solutions and the self-development according to the principles of Sufficiency Economy Philosophy | en_US |
dc.description.degree-name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | en_US |
Appears in Collections: | PAI-PA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WACHIRAWACHR NGAMLAMOM.pdf | 35.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.