Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/109
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดารุณี เสริฐผล-
dc.contributor.authorกัลยาณี ศรีสุขพันธ์-
dc.date.accessioned2021-12-02T07:33:11Z-
dc.date.available2021-12-02T07:33:11Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/109-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง กรด-เบส 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กรด-เบส และ 3) เปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาเคมี เรื่อง กรด-เบส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา2562 จำนวน 1 ห้อง รวม 42 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง กรด-เบส จำนวน 6 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กรด-เบส แบบวัดความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย อนุทินสะท้อนความคิดเห็นของนักเรียน และข้อเสนอแนะจากครูพี่เลี้ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง กรด-เบส ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมได้แก่ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การสรุปความรู้และการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนภายในกลุ่ม 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectการจัดการเรียนรู้en_US
dc.subjectการคิดอย่างมีวิจารณญาณen_US
dc.titleการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง กรด-เบสen_US
dc.title.alternativeDevelopment of grade 11 students’ critical thinking by using the science inquiry-based and cooperative learning in the lesson on acid and baseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe purpose of this action research were 1) to study the learning activities based on the science inquiry-based and cooperative learning in the lesson on acid and base to improve students’achievement, 2) to compare their learning achievement, and 3) to compare critical thinking ability of the students before and after learning science inquiry-based and cooperative learning. The samples were 42 Mattayomsuksa 5 students during the second semester in the academic year 2018, the number of which was obtained from purposive sampling. The research instruments were 6 lesson plans on acid and base, a learning achievement, a critical thinking ability test, field study reports, student reflective journals, and school mentors’ feedbacks. The data were analyzed using descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation, and dependent t-test. The results showed that science inquiry-based and cooperative learning encouraged students to develop their critical thinking ability. Key factors affecting students’ critical thinking were authentic experience learning, student participation, knowledge summary, and group discussions. The post test scores were higher than the pre-test scores with a significance level of .05. Students’ critical thinking ability after treated with science inquiry-based and cooperative learning was higher than with a significance level of .05en_US
dc.description.degree-nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการสอนวิทยาศาสตร์en_US
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanlayanee Srisukpan.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.