Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1158
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตพงษ์ สอนสุภาพ, นฤมิตร สอดศุข-
dc.contributor.authorชุติมา ปรีชญางกูร-
dc.date.accessioned2022-07-01T08:49:33Z-
dc.date.available2022-07-01T08:49:33Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1158-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557en_US
dc.description.abstractดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและองค์ประกอบของคุณลักษณะภาวะการนำเฉพาะตัวและพฤติกรรมภาวะการนำทางการบริหารจัดการของผู้บริหารกรมศุลกากรไทย (2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกรมศุลกากร ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ และมีปัจจัยใดที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกรมศุลกากรไทยในปัจจุบันและ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ความโปร่งใสในเรื่องการคอร์รัปชั่นในกรมศุลกากรไทย วิธีการศึกษาวิจัยจะใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) โดยให้นํ้าหนักที่การวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างเป็นหลัก โดยเฉพาะในการศึกษาถึงความมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของกรมศุลกากรและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ความโปร่งใสในเรื่องการคอร์รัปชั่นในกรมศุลกากรจะเป็นการวิเคราะห์โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพียงอย่างเดียว ส่วนการศึกษารูปแบบภาวะการนำของผู้บริหารกรมศุลกากรไทยว่ามีองค์ประกอบใดบ้าง จะเป็นการศึกษาโดยการวิเคราะห์ทั้งจากการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ (Principal Component Analysis : PCA) เพื่อสกัดหาองค์ประกอบภาวะการนำของผู้บริหารกรมศุลกากร และนำองค์ประกอบที่ได้ไปสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารทั้งระดับสูง ระดับกลาง และระดับต้น เพื่อวิเคราะห์หาคุณลักษณะภาวะการนำเฉพาะตัว และพฤติกรรมภาวะการนำทางการบริหารจัดการของผู้บริหารกรมศุลกากรไทย และนำมากำหนดเป็นรูปแบบ (Model) ภาวะการนำของผู้บริหารกรมศุลกากร ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารกรมศุลกากรมีองค์ประกอบภาวะการนำเฉพาะตัวที่สำคัญ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ ความสามารในการสื่อสาร การเป็นแบบอย่างที่ดี การทำงานเชิงรุก ความสามารถในการปฏิบัติงาน ความเชื่อมั่นในตนเอง และการมุ่งมั่นอุทิศตนและมีภาวการณ์นำทางการบริหารจัดการ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การตระหนักรู้และยอมรับการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการที่เป็นสากล การกระจายอำนาจ และให้ความสำคัญกับทีมงาน การใส่ใจและปรารถนาดีต่อผู้อื่น และการยอมรับในความสามารถและสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ทั้งนี้พบว่า ผู้บริหารฯ แต่ละระดับให้ความสำคัญขององค์ประกอบที่แตกต่างกัน สำหรับการศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของกรมศุลกากรและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ความโปร่งใสในเรื่องการ คอร์รัปชั่นในกรมศุลกากร พบว่า การบริหารจัดการของกรมศุลกากรยังคงมีความไม่โปร่งใสในกระบวนการนำเข้า-ส่งออกอยู่บ้าง แต่ดีขึ้นกว่าในอดีตอย่างชัดเจน ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (NSW) พบว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากยังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างครบวงจร ระบบการผ่านพิธีการโดยไร้เอกสาร (e-Paperless) ในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมาก ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานทั้งของผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ได้อย่างชัดเจน มีความรวดเร็ว เป็นระบบที่ช่วยลดการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ เป็นที่พึงพอใจของผู้ประกอบการ โครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (AEO) ปัจจุบันถือได้ว่าประสบผลสำเร็จค่อนข้างมากแต่ยังมีปัญหาอุปสรรคอยู่ในการทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Agreement : MRA) ที่ปัจจุบันยังไม่มีการทำข้อตกลงฯกับต่างประเทศเลย ระบบการบริหารจัดการชายแดน ปัจจุบันกรมศุลกากรยังไม่มีนโยบายการบริหารจัดการชายแดนที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม สำหรับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันกรมศุลกากรให้ความสำคัญอย่างชัดเจน และมีแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจและมีส่วนร่วมมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา ส่วนการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องการเลื่อนตำแหน่งของกรมศุลกากรในปัจจุบันยังคงมีปัญหา เนื่องจากยังไม่เป็นไปตามหลักคุณธรรม (Merit System) ยังคงใช้ระบบพวกพ้องและระบบอุปถัมภ์ ไม่มีการนำระบบ Competency และ Career Path มาใช้ในการพิจารณาและยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ทั้งนี้หากจะมองในองค์รวม พบว่า การบริหารจัดการในภาพรวมของกรมศุลกากรยังไม่มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าอย่างเพียงพอ ยังคงพบว่าปัญหาในเรื่องการคอร์รัปชั่นในกรมศุลกากรยังคงอยู่ ซึ่งจากการวิเคราะห์ผู้วิจัยเห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มาจากปัจจัยทั้งในเรื่องของระบบงานที่ยังไม่รัดกุม มีช่องว่าง และไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบควบคุมได้อย่างแท้จริง ไม่มีระเบียบ คำสั่ง วิธีปฏิบัติกำหนดที่ชัดเจน รวมทั้ง บุคลากรในการปฎิบัติงานยังไม่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน บุคลากรในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอและสอดคล้องกับปริมาณงานen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectการบริหารจัดการen_US
dc.subjectผู้บริหาร -- การตัดสินใจ -- วิจัยen_US
dc.subjectกรมศุลกากร -- ไทยen_US
dc.titleรูปแบบภาวะการนำและการบริหารจัดการของผู้บริหาร กรมศุลกากรไทยในยุคโลกาภิวัตน์en_US
dc.title.alternativeModel of customs's leadership and management in globalization eraen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe purpose of this dissertation is: (1) to study the model and components of the personal qualities and behaviors for leadership in management of the executives of Thai Customs Department; (2) to study the efficiency of their management and analyze if it is carried out appropriately and if there is any impeding factor; (3) to study the factors that influence their image in terms of transparency. The approach adopted in this research is Mixed Methodology. We give more weight to qualitative research, by using structured in-depth interviews as our main approach. This is also the only method adopted in the study of the efficiency of the management of the Customs Department and the study of the factors that influence their image in terms of transparency. Whereas, in study of the model of the leadership in management of the executives of Thai Customs Department, both qualitative and quantitative research methods are adopted. Factor Analysis and Principal Component Analysis (PCA) are adopted to identify the components of leadership. Those components are then used in the in-depth interviews with high, middle and low-level executives of Thai Customs Department, to analyze their personal qualities and behaviors for leadership in management, in order to determine a model of leadership of the Thai Customs's executives. According to the study, there are 7 significant personal components of leadership that the executives of the Customs Department possess: having a vision, communication capability, being a good role model, being proactive, task performing ability, self-confidence and devotion. They also have these following 5 components of leadership in management, which are: admitting and accepting changes; having a globalized management system; having good skills in distributing tasks and giving importance to their team; paying attention and meaning well to others, as well as acknowledging other people's abilities, supporting and helping them appropriately. The study also found that executives of different levels give importance to different components. According to the study of the factors that influence their image in terms of transparency, it is found that there is still some ambiguity in the export-import process in the management of the Customs Department but it has improved significantly from the past. National Single Window (NSW) is found to be not as successful as it should, as the public cannot fully use and benefit from it. e-Paperless is considered quite efficient. It helps reducing steps of the working procedures for both entrepreneurs and officials significantly. It also works quickly and helps reduce the need of direct communication with the officials, proven satisfactory by the entrepreneurs. The Authorized Economic Operator (AEO) is considered highly successful but there are still obstacles preventing mutual recognition agreement (MRA) from being made. Currently, the agreement has not yet been made with foreign countries. At present, the Customs Department does not have any concrete and clear policy for the border management system. The Customs Department clearly gives importance and has concrete and clear procedures for the cooperation between the public sector and the private sector. Entrepreneurs feel more satisfied and cooperate more than previously. However, there are still some problems in administrating human resources in terms of job promotion within the Department. It has not been executed according to the Merit System, but rather, through cronyism and patron-client relationship. The system of competency and career path is not brought into consideration and the criteria are not clear enough. Overall, it is found that the management of the Customs Department in general is not yet efficient. There are still some corruption problems within the Department. Based on the analysis, we see that corruption problems are caused by various factors. For instance, the working system still has holes and cannot really be used as a tool for audit. It also lacks order, discipline and clear procedures. Furthermore, the personnel still lack specialized knowledge and skills. The number of human resources is also not sufficient for the amount of worken_US
dc.description.degree-nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
dc.contributor.degree-disciplineผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมืองen_US
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CHUTIMA PREECHAYANGKUN.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.