Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1208
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์-
dc.contributor.authorปทิตตา ปานเฟือง-
dc.date.accessioned2022-08-05T07:33:15Z-
dc.date.available2022-08-05T07:33:15Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1208-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative study) แบบ Retrospective and Prospective before and after Intervention Study เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 87 ราย และกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติจำนวน 87 ราย ซึ่งได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการประเมินความพร้อมในระยะก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ แนวปฏิบัติในการดูแลในระยะหย่าเครื่องช่วยหายใจและแนวปฏิบัติในการประเมินความพร้อมในการถอดท่อช่วยหายใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานและแบบบันทึกข้อมูลการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เปรียบเทียบความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจระหว่างกลุ่มก่อนและกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติด้วยสถิติ Chi-square และเปรียบเทียบระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจระหว่างกลุ่มก่อนและกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติด้วยสถิติ Mann Whitney U-test ผลการวิจัยพบว่า ความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) และระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติตํ่ากว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectเครื่องช่วยหายใจ --ผู้ป่วย -- วิจัยen_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติที่ใส่เครื่องช่วยหายใจen_US
dc.title.alternativeThe effectiveness of weaning protocol in weaning success and duration of mechanical ventilation in critically ill patients with mechanical ventilatoren_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe purpose of this Retrospective and Prospective before and after Intervention study aimed to examine the effectiveness of weaning protocol on weaning success and duration of mechanical ventilation in critically ill patients. A purposive sample of 174 patients, 87 in retrospective and 87 prospective group was recruited for this study. The retrospective group received a usual care. The prospective group received the evidence-based weaning protocol comprising; Weaning assessment guideline, Weaning care protocol and extubation assessment guideline. Data were collected by using the biographic and weaning recording forms. Chi-square test was used to compare the weaning success rates of the 2 groups, Mann Whitney U-test was used to compare the duration of mechanical ventilation of the 2 groups. The results of this study showed that the rates of weaning success of the prospective group are significantly higher than those of the retrospective group (p = .000). Duration of mechanical ventilation of the prospective group was significantly lower than that of the retrospective group (p = .000)en_US
dc.description.degree-nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่en_US
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PATHITHA PANFUANG.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.