Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1210
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพปฎล สุวรรณทรัพย์, บุษบา พฤกษพันธุ์รัตน์ | - |
dc.contributor.author | กัญญ์กณิษฐ์ กมลกิตติวงศ์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-08-05T07:40:54Z | - |
dc.date.available | 2022-08-05T07:40:54Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1210 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (บธ.ด.) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทยที่มีความสาคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้เข้าประเทศ และมีการจ้างแรงงานเป็นจานวนมาก ในขณะเดียวกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เกิดจากผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งาน ขยะจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มีสารพิษเจือปน และก่อให้เกิดอันตราย ต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาปัจจัยที่มีความสาคัญต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว อิทธิพลของห่วงโซ่อุปทานสีเขียวต่อผลการดาเนินธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ไทย และความแตกต่างระหว่างบริษัทที่อยู่ในระดับที่ต่างกัน ประชากรที่ใช้ใน การวิจัย คือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยแบ่งงานวิจัยออกเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ ส่วนแรก คือ การวิเคราะห์ลาดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานสีเขียวของกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยคัดเลือกกลุ่มบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานสีเขียว จานวน 10 บริษัท โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลาดับชั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมของกลุ่มบริษัททั้ง 4 ระดับ มีการจัดลาดับทั้งหมดดังนี้ กฎระเบียบของรัฐบาล และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง คู่แข่งขัน และกลยุทธ์ขององค์กรธุรกิจ การลดต้นทุน สังคมหรือผู้มีส่วนได้เสีย ตลาดหรือผู้บริโภค ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โลจิสติกส์แบบย้อนกลับ และซัพพลายเออร์ ตามลำดับส่วนที่สอง คือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานสีเขียวกับผล การดาเนินธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ไทย ผู้วิจัยได้ทาการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจานวน 67 บริษัท โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธแบบคาโนนิคอล (Canonical Correlation Analysis) ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลุ่มปัจจัย ผู้วิจัยพบว่า การดำเนินกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานสีเขียวของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ไทย มีการจัดลาดับทั้งหมด ดังนี้ การผลิตสีเขียว ความร่วมมือกับลูกค้า ด้านสิ่งแวดล้อม/การตลาดสีเขียว การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมภายในกิจการ การจัดซื้อสีเขียว การกระจายสินค้าสีเขียว และการคืนทุนตามลาดับ และผลการดาเนินธุรกิจมีการจัดลาดับทั้งหมดดังนี้ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้านการดาเนินงาน และด้านเศรษฐกิจตามลำดับ ส่วนที่สาม คือ การวิเคราะห์ความแตกต่างของผลการดาเนินธุรกิจระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมสีเขียวประเภทอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ไทยที่อยู่ในระดับที่แตกต่างกัน โดยใช้สถิติการทดสอบค่าเฉลี่ยของข้อมูล 2 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าบริษัทระดับเชี่ยวชาญ และบริษัทระดับเริ่มต้น โดยส่วนใหญ่มีผลการดาเนินธุรกิจแตกต่างกันในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการดำเนินงาน และด้านการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ยกเว้นด้านเศรษฐกิจ ในบางประเด็นที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทระดับเชี่ยวชาญที่มีการนากลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานสีเขียวมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้มีผลการดาเนินธุรกิจที่ดีกว่าบริษัทระดับเริ่มต้น จากผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ไทย ได้เห็นถึงผลประโยชน์จากการดำเนินกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานสีเขียว อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการนากลยุทธ์มาสู่การปฎิบัติ นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นดำเนินการ ได้เห็นถึงแรงผลักดันไปสู่การดาเนินกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานสีเขียว การนำกลยุทธ์มาปรับใช้ และผลตอบแทนที่ได้รับ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนั้นจาเป็นต้องเร่งศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวอย่างถ่องแท้ เพื่อหาวิธีการนำมาปรับใช้เหมาะกับสภาพแวดล้อม ลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรม | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | อุตสาหกรรมการผลิต | en_US |
dc.subject | เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า | en_US |
dc.title | อิทธิพลของกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานสีเขียวต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย | en_US |
dc.title.alternative | The Influence of Green Supply Chain Strategy on Business Perpormance of Electronic Industry in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | Electrical and electronics industry is one of the main industries in Thailand. It plays an important role in economic and social development of the country because of generating high national income and employment opportunities. Meanwhile, this industry also generates harmful waste that causes environmental problems. The electronics waste is toxic and harmful to the environment. Therefore, it is important for the manufacturers to comply with environmental measures and to meet the needs of consumers. This research aims to identify the factors those are important to the green supply chain management (GSCM), the influence of the green supply chain on business performance of the Thai electronics manufacturing industry, and the differences between companies based on different levels. The population of this research is the industrial firms in the electrical and electronics industry, which have joined with the Green Project of Ministry of Industry. This research is divided into three parts. The first part is to identify the critical factors for GSCM strategic implementation of the electronics industry in Thailand. 10 samples were collected from the firms those are expert in GSCM. Analytic Hierarchy Process (AHP) was used to analyze their data. We have found that an overview ranking of the critical factors for GSCM strategies are government regulatory, support from top management, competitors, organization strategy, cost reduction, social/stakeholder, market/consumer, economic benefit, reverse logistics, and suppliers respectively. The second part is to analyze the relationship between GSCM implementation and business performance. The data were collected from 67 samples and analyzed the relationship of the factors by using canonical correlation analysis. The results show that the green supply chain strategy implementations of firm in the electronics industry in Thailand are ranked as follows: green manufacturing, cooperation with customers, eco-design, internal environmental management, green purchasing, green distribution and investment recovery. Furthermore, business performance is ranked as follows: environmental performance, competitive performance, operational performance and economic performance. The third part is to analyze the differences of business performance among firms who implementing green supply chain management in the electronics industry in Thailand using two samples t-test. We have found that the expert firms and initiative firms mostly have different business performance in environmental performance, operational performance and competitive performance, except economic performance that has not much different in some factors. These results exhibit that expert firms those adopting GSCM can achieve better business performance than initiative firms do. The results of this research support Thai electronics industry firms to foresee the real benefits of green supply chain strategy implementation. These entrepreneurs should pay more attention in transferring the GSCM strategies to their business operations. In addition, the research results also support other industries, which have not applied GSCM strategies. These industries can see the force to GSCM, applying GSCM strategies and benefits those will obtain. Entrepreneurs need to study and understand about GSCM to find the strategies and activities of GSCM, which are suitable for their industries. | en_US |
dc.description.degree-name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
Appears in Collections: | BA-BA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kankanit Kamolkittiwong.pdf | 15.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.