Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1215
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสันติ กีระนันทน์, ดวงทิพย์ เจริญรุกข์-
dc.contributor.authorปิยะรัตน์ จันทรยุคล-
dc.date.accessioned2022-08-05T08:34:12Z-
dc.date.available2022-08-05T08:34:12Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1215-
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (บธ.ด. (การจัดการ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจปรากฎการณ์การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของอาจารย์ชาวต่างชาติ เพื่อค้นหาประเด็นที่มีความเกี่ยวเนื่องในระดับบุคคล ระหว่างบุคคล และองค์การ กับการปรับตัวตามความคาดหวังก่อนเดินทาง และกับการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของอาจารย์ชาวต่างชาติ ที่ปฏิบัติงานในบริบทกิจการด้านการศึกษาในประเทศไทย รวมถึงกระบวนการปรับตัว และรูปแบบของการปฏิบัติตนของอาจารย์ชาวต่างชาติ เมื่อเผชิญกับอุปสรรค ค่านิยมและวัฒนธรรมของไทยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 คือ ผู้มีประสบการณ์การทางานกับอาจารย์ชาวต่างชาติ ได้แก่ ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน และผู้ประสานงานด้านต่างประเทศ จานวน 18 คน ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ชาวต่างชาติที่ปฏิบัติงานในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 เดือน จานวน 18 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีประสบการณ์การทางานกับอาจารย์ชาวต่างชาติ พบประเด็นที่มีความเกี่ยวเนื่องในระดับบุคคล ระหว่างบุคคล และองค์การกับการปรับตัวตามความคาดหวังก่อนเดินทาง และกับการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักวิชาการชาวต่างชาติ ที่ปฏิบัติงานในบริบทกิจการด้านการศึกษาในประเทศไทย มีประเด็นสาคัญที่เหมือนและแตกต่างจากกรอบแนวคิดของ Black และคนอื่นๆ (1991) ที่ศึกษาการปรับตัวของพนักงานเมื่อปฏิบัติงานต่างประเทศ คือ แรงจูงใจข้ามวัฒนธรรม ทัศนคติที่เกี่ยวกับประเทศไทย บุคลิกภาพ การรับรู้วัฒนธรรมและค่านิยมไทย ลักษณะของนักเรียนไทย กลุ่มบุคคลในสถานศึกษา การสื่อสาร นโยบายและการสนับสนุนความเป็นนานาชาติขององค์การ การกาหนดหน้าที่และมอบหมายงาน และการสนับสนุนจากองค์การช่วงเริ่มต้นการสนทนากลุ่มกับอาจารย์ชาวต่างชาติที่ปฏิบัติงานในประเทศไทยจานวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน พบว่า อาจารย์ชาวต่างชาติจะมีการปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องกับความตระหนัก ทาความเข้าใจเชิงบวกของเหตุและผล และหาวิธีการจัดการเมื่อเผชิญกับอุปสรรค หรือปัจจัยเชิงลบจากวัฒนธรรมและค่านิยมไทย ได้แก่ ประเด็นเรื่องประสบการณ์การทางานด้านการสอน การสื่อสารระหว่างบุคคล คุณลักษณะของนักเรียนไทยในระบบการเรียนการสอนภายใต้บริบทของกิจการด้านการศึกษาไทย นโยบายและการสนับสนุนความเป็นนานาชาติขององค์การ การกาหนดหน้าที่และมอบหมายงาน และการสนับสนุนจากองค์การในช่วงแรก สาหรับเรื่องมิติความหลากหลายทางวัฒนธรรมของ Hofstede (2001) พบว่าอาจารย์ชาวต่างชาติจะรับรู้และมีความตระหนักมาก่อนแล้ว ไม่พบว่าลาดับชั้นของตาแหน่งในองค์การเป็นอุปสรรคในการปรับตัว แต่พบว่ารูปแบบพฤติกรรมการพูดอ้อมค้อมของเพื่อนร่วมงานคนไทยที่พัฒนามาจากค่านิยมไทย เรื่อง ค่านิยมการยึดถือตัวตน หรือพฤติกรรมการไม่เคารพเวลา ไม่ตรงต่อเวลา ที่เป็นผลมาจากค่านิยมความยึดหยุ่นของคนไทย เป็นปัจจัยเชิงลบต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ส่วนพฤติกรรมการแสดงออกว่า “ไม่เป็นไร” เป็นพฤติกรรมของคนไทยที่อาจารย์ชาวต่างชาติ มีความชื่นชอบและนามาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและการดารงชีวิตในประเทศไทย จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นปรากฎการณ์ในประเด็นความเกี่ยวเนื่องกับการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของอาจารย์ชาวต่างชาติเมื่อตัดสินใจเดินทางมาปฏิบัติงานในกิจการด้านการศึกษาในประเทศไทย กระบวนการปรับตัว 9 ระยะและการปฏิบัติตนของอาจารย์ชาว ต่างชาติเมื่อเผชิญกับอุปสรรค หรือวัฒนธรรมและค่านิยมไทยที่ไม่คุ้นเคย ผลที่ได้นี้สามารถนาไปกาหนดแผนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การให้ความดูแลจิตใจของอาจารย์ชาวต่างชาติ ข้อพึงตระหนักในการทางานร่วมกับอาจารย์ชาวต่างชาติ รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลให้อาจารย์ชาวต่างชาติในการเตรียมตัวและปรับตัวในประเด็นที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการปรับตัวทั่วไป การปฏิสัมพันธ์กับคนไทย และการทางานในบริบทของกิจการด้านการศึกษาในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectการปรับตัวในการทำงานen_US
dc.subjectการปรับตัวในสังคมen_US
dc.subjectวัฒนธรรม -- ไทย -- วิจัยen_US
dc.titleการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของอาจารย์ชาวต่างชาติในบริบทกิจการด้านการศึกษาในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe cross-cultural adjustment of international expatriate academic members to Thai educational business contexten_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis research is to explore and understand the factors related to cross-cultural adjustment of international expatriate academic members in Thai educational business context. The study was generated by the conceptual framework of International adjustment (Black, et al., 1991). The methodologies are in-depth interview, focus group and document analysis. Eighteen Thai people, working with the expatriate academic members, were interviewed to explore the related issues to cross-cultural adjustment of international expatriate academic members. Cross-cultural motivation is the key individual factor level to anticipatory adjustment before coming to Thailand. The three level factors, related to in-country adjustment, are personality, attitude to Thai, perception in Thai cultures and values, Thai students, communication, group in organization, internationalization policy and supports, responsibility and delegation, orientation and logistic supports. Based on the findings, I propose the conceptual framework linking individual, group or interpersonal and organizational level factors of Thai educational business context. The results of three focus groups of six expatriate academic members per group showed that they faced some obstacles in organization supports and unfamiliarity in Thai student characteristics, Thai cultures or values but they can well manage themselves, especially in general life. Furthermore, the results were expressly showed that the high-context culture and pattern of Thai time behavior are concerned to cross cultural adjustment of expatriate academic members. Thai concept of “Mai pen rai” is impressed to expatriate life in Thailand. According to the cross-cultural adjustment process in Thai educational business context, there are nine stages, starting at the origins of motivation at home country to the mastery stage in Thailand. Even though, some issues of three level factors are negatively related to cross-cultural adjustment of international expatriate academic members in Thai educational business context, most expatriate academic members can well adjusted themselves in various period. The executives should realize the mental health service to strenghten expatriate academic members. Moreover, the lack of organization supports or internationalization management were advisedly considered.en_US
dc.description.degree-nameบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาเอกen_US
Appears in Collections:BA-BA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyarat Chantarayukol.pdf12.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.