Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1228
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชนี นามจันทรา-
dc.contributor.authorสุชาวดี รุ่งแจ้ง-
dc.date.accessioned2022-08-11T07:43:33Z-
dc.date.available2022-08-11T07:43:33Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1228-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อาการ และความรุนแรงของอาการใน ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม และ 2) วิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ของการจัดการอาการใน ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่างเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม ที่มารับบริการ ณ หน่วยผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จํานวน 83 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ ความเจ็บป่วย และแบบสัมภาษณ์อาการ ความรุนแรงของอาการ วิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์ ของการจัดการอาการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการจัดการอาการของ Dodd, et al. (2001) วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า อาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ได้แก่ ปวด ไอ เหนื่อยล้า หายใจลําบาก และเบื่ออาหาร อาการที่มีค่าเฉลี่ยความรุนแรงมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ เบื่ออาหาร ปวด เหนื่อยล้า หายใจลําบาก และไอ โดยอาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ในขณะที่อาการเบื่ออาหารมีค่าเฉลี่ย ความรุนแรงสูงที่สุด ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามใช้วิธีการหลายๆ วิธีในการจัดการอาคารแต่ละ อาการ วิธีการจัดการอาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก มีดังนี้ 1) อาการปวด ใช้วิธีการรับประทานยาแก้ ปวดทุกครั้งที่มีอาการ 1) อาการไอ ใช้วิธีจิบน้ําอุ่น ดื่มน้ํา และรับประทานยาละลายเสมหะ 3) อาการ เหนื่อยล้า ใช้วิธีการนั่งพัก/นอนพักช่วงกลางวัน 4) อาการหายใจลําบาก ใช้วิธีการนั่งพัก/นอนพัก และ 5) อาการเบื่ออาหาร ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทาน อาหารหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หรือดื่มเครื่องดื่มอาหารเสริมระหว่างมื้ออาหาร ผลลัพธ์ของการ จัดการอาการของผู้ป่วยโดยรวมเป็นไปในทางที่ดี คือ มีอาการทุเลา ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม เพื่อ ป้องกันความรุนแรงและบรรเทาอาการจากโรคและนําไปสู่การให้ข้อมูล ให้คําปรึกษา รวมทั้ง สนับสนุนให้ผู้ป่วยและญาติมีการจัดการอาการด้วยตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการในการ ดําเนินชีวิตประจําวัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectผู้ป่วย, การจัดการดูแลen_US
dc.subjectผู้ป่วยมะเร็งen_US
dc.subjectมะเร็งปอดen_US
dc.titleการจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามen_US
dc.title.alternativeSymptom management in patients with advanced lung canceren_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThis descriptive study aimed to describe 1) symptoms and severity of the symptoms in advanced lung cancer patients, and 2) symptom management strategies and outcomes in those with advanced lung cancer. The sample included 83 patients with advanced lung cancer were purposive sampling from the patients at the outpatient unit (OPD) of Chulabhorn Hospital during January -October 2015. Data collection was performed by using: 1) a personal data form, 2) a medical record form, and 3) interviewed questions about symptoms, severity of the symptoms, symptom management strategies, and outcomes. Data were analyzed using descriptive statistics. The results showed that the 5 most frequently found symptoms consisted of pain, cough, fatigue, dyspnea, and lost appetite. The first common top 5 symptoms with most average severity comprised, lost appetite, pain, fatigue, dyspnea, and cough. Pain is the most frequently found, while the mean scores of the severity of lost appetite yielded the highest level. Meanwhile, the management of symptoms among advanced lung cancer patients could be varied on each symptom. The first 5 common symptomatic management in these patients were 1) taking painkillers for pain, 2) sipping of warm/regular water for cough and taking mucolytic drugs, 3) resting/sleeping during the day when fatigue, 4) resting/sleeping while dyspnea, and 5) changing eating habits in case of lost appetite such as eating sour fruits or foods and food supplement beverage between the meal. The outcomes tended to be better symptoms in overall patients. The results of the study could be helpful in nursing care planning for patients with advanced lung cancer to prevent the severity of and to relieve the disease symptoms. They could be used for providing information, counselling and support to the patients and their relatives towards self-symptom management according to their routine lifestyles for enhancing the quality of life among advanced lung cancer patients.en_US
dc.description.degree-nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่en_US
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchawadee Rungjang.pdf3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.