Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1291
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วารินทร์ บินโฮเซ็น, อำภาพร นามวงศ์พรหม | - |
dc.contributor.advisor | น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ | - |
dc.contributor.author | วิธิรงค์ สุทธิกุล | - |
dc.date.accessioned | 2022-10-07T05:48:32Z | - |
dc.date.available | 2022-10-07T05:48:32Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1291 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของ การพัฒนาระบบปฏิบัติการพยาบาลในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ในการดูแลผู้ที่ได้รับ บาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน อุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 24 คน และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยที่เข้ารับบริการจำนวน 626 คน ระบบปฏิบัติการพยาบาลในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ในการดูแลผู้ที่ได้รับ บาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย พัฒนาตามกรอบแนวคิดของ CURN Model โดยเน้นการมีส่วนร่วมของ พยาบาลผู้ปฏิบัติและทีมสหวิชาชีพแผนกศัลยกรรมทุกขั้นตอน เก็บข้อมูลหลังพัฒนาระบบเป็นเวลา 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย Paired t - test และ Wilcoxon signed rank test ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลในการนำแนว ปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ในการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยหลังพัฒนาระบบสูงกว่าก่อน พัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000, p=.000 ตามลำดับ) ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย ที่เข้ารับบริการจำนวน 626 คน พบว่า เป็นผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยกลุ่มความเสี่ยงต่ำ 293 คน (ร้อยละ 46.6) กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง 77 คน (ร้อยละ 12.4) และกลุ่มความเสี่ยงสูง 256 คน (ร้อยละ 41) และพบภาวะการบาดเจ็บที่ศีรษะระยะที่ 2 ทั้งสิ้น 31 คน โดยพบว่า เป็นผู้อยู่ในกลุ่ม ความเสี่ยงปานกลาง 9 คน (ร้อยละ 29) และกลุ่มความเสี่ยงสูง 22 คน (ร้อยละ 71) ช่วงเวลาที่พบ ภาวะการบาดเจ็บที่ศีรษะระยะที่ 2 พบได้ 3 ช่วงเวลาคือ พบหลังประเมินอาการแรกรับ 24 คน (ร้อย ละ 77.4) พบขณะที่สังเกตอาการ ณ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 3 คน (ร้อยละ 9.7) และพบ หลังจากจำหน่ายจากหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินแล้วกลับมาตรวจซ้ำ 4 คน (ร้อยละ 12.9) ผลการวิจัยนี้ยืนยันความสำเร็จของการใช้ CURN Model ในการพัฒนา ระบบปฏิบัติการพยาบาลซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพยาบาลผู้ปฏิบัติ เพื่อนำแนวปฏิบัติที่ใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์มาใช้ในการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | พยาบาล -- การพัฒนาระบบ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วยฉุกเฉิน -- วิจัย | en_US |
dc.subject | การพยาบาล -- วิจัย | en_US |
dc.title | การพัฒนาระบบปฏิบัติการพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน | en_US |
dc.title.alternative | Nursing practice system development in caring for persons with mild head injury in emergency department | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | This prospective intervention study aimed to investigate the effect of nursing practice system development in using evidence – based caring protocol for person with mild head injury. The participants consisted of 24 ED nurses and a sample of 626 persons with mild head injury was recruited for this study. CURN Model was used as a conceptual framework for the development and implementation of the caring protocol. During the process of development, participation of ED nurses was focused. Caring outcomes were collected 3 months after nursing practice system development. Descriptive statistics, Paired t - test and Wilcoxon signed rank test were used in data analysis. The findings showed that knowledge and practice of caring persons with mild head injury of ED nurses, after the development, were improved significantly (p = .000, .000 respectively). In addition, a sample of 293 persons (46.6%), 77 persons (12.4%), and 256 persons (41%) with mild head injury were classified as low risk, medium risk, and high risk for secondary head injury respectively. Furthermore, 31 persons was developed to secondary head injury which of 9 persons (29%) in medium risk group and of 22 persons (71%) in the high risk group. It was also found that secondary head injury was found after triage (24 persons, 77.4%) and during observation at ED (3 persons, 9.7%), as well as after discharge from ED and revisit (4 persons , 12.9 %). This study suggests the benefits of using CURN Model in development of nursing practice system in using evidence – based caring protocol for persons with mild head injury | en_US |
dc.description.degree-name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | en_US |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WITHIRONG SUTTHIGOON.pdf | 4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.