Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1293
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนวันนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ช่องท้อง
Other Titles: Factors relating to length of stay in patients with major abdominal surgery
Authors: ลดาวัลย์ มาลัยเจริญ
metadata.dc.contributor.advisor: วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
Keywords: การผ่าตัดช่องท้อง -- ผู้ป่วย -- วิจัย;ผู้ป่วย -- การให้คำปรึกษา -- วิจัย;ผู้ป่วย -- บริการทางการแพทย์ -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของการรักษาพยาบาลที่สาคัญ เนื่องจากจำนวนวันนอนโรงพยาบาลที่มีระยะเวลานานจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย ญาติ และโรงพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายแบบศึกษาย้อนหลังเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านการรักษาและการผ่าตัด กับจำนวนวันนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ช่องท้องจำนวน 138 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติไคสแควร์และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 5 ถึง 41 วัน โดยมีจำนวนวันนอนเฉลี่ย 13.36 วัน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.13) โดยเพศ การวินิจฉัยโรค และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด มีความสัมพันธ์กับจำนวนวันนอนโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม อายุ โรคร่วม และภาวะโภชนาการ ไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเฝ้าระวังโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ และการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด จะทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลน้อยลง สามารถกลับบ้านได้เร็วขึ้น
metadata.dc.description.other-abstract: Length of stay has been used as an indicator of the quality of care. Prolonged hospitalization has an impact on patients, their relatives and the hospitals. The purpose of this retrospective study was to investigate the relationship between personal factors, treatment and operation factors and length of stay in patients with major abdominal surgery. A-138 health record of the patients with major abdominal surgery was purposively recruited for the study. The data was analyzed using descriptive statistics, Chi-Square and Spearman Rank Correlation. The findings indicated that patients’ length of stay ranged from 5 to 41 days with mean of 13.36 days (SD = 8.13). Sex, diagnosis, complication, after operation and duration of operation were statistical significantly related to length of stay. However, age comorbidity and nutrition did not relate to length of stay. The results of study suggest that monitoring of patient’s illness and prevention of complications after operation will decrease length of stay and early discharge
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1293
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LADAWAN MARAICHARUAN.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.