Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1297
Title: | การพัฒนาระบบปฏิบัติการพยาบาลในการนำแนวปฏิบัติในการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดไปใช้ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน |
Other Titles: | Nursing practice system development in using protocol for persons with sepsis syndrome in emergency department |
Authors: | สมพร ศรีทันดร |
metadata.dc.contributor.advisor: | วารินทร์ บินโฮเซ็น, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ |
Keywords: | ผู้ป่วย -- การดูแลตนเอง -- วิจัย;ผู้ป่วย -- การติดเชื้อในกระแสเลือด -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยเชิงทดลองแบบหนึ่งกลุ่มศึกษาติดตามไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนาระบบปฏิบัติการพยาบาลในการนำแนวปฏิบัติการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดไปใช้ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ ปฏิบัติการพยาบาลในแผนกฯ จำนวน 27 คน และผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดจำนวน 186 คน ระบบปฏิบัติการพยาบาลในการนำแนวปฏิบัติการการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดไปใช้พัฒนาตามกรอบแนวคิดของ CURN Model เก็บข้อมูลเป็นเวลา 4 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย Paired t - test และ Repeated Measures ANOVA ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ในการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดไปใช้ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน หลังพัฒนาระบบสูงกว่าก่อนพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000, p=.000 ตามลาดับ) ผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดจำนวน 186 คน พบว่า เป็น กลุ่ม SIRS จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 22.2 กลุ่ม sepsis จานวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 47.3 กลุ่ม severe sepsis จำนวน 36 คน เป็นร้อยละ 19.4 และกลุ่ม septic shock จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 10.8 ระยะเวลาที่พยาบาลค้นพบมีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดภายใน 10 นาที ระยะเวลาที่แพทย์วินิจฉัย ภายใน 25 นาที ระยะเวลาที่เจาะเลือดเพาะเชื้อภายใน 1 ชั่วโมง 15 นาที และระยะเวลาที่ได้รับยาปฏิชีวนะ 1- 3.5 ชั่วโมง อัตราการเกิดภาวะช็อกในระหว่างขั้นตอนการตรวจรักษาในแผนกฯ ร้อยละ 19.35 และไม่พบอัตราการตายในระหว่างรับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ผลการวิจัยนี้ยืนยันความสำเร็จของการใช้ CURN Model ในการพัฒนาระบบปฏิบัติ การพยาบาลซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพยาบาลผู้ปฏิบัติ เพื่อนำแนวปฏิบัติที่ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน |
metadata.dc.description.other-abstract: | This prospective intervention study aimed to develop and investigate the effect of nursing practice system development in using protocol for caring person with sepsis syndrome in emergency department (ED). The samples consisted of 27 ED nurses and 186 persons with sepsis syndrome were recruited for this study. CURN Model was used as a conceptual framework for the development and implementation of the protocol. Process and Caring outcomes were collected 4 months during nursing practice system development. Descriptive statistics, Paired t - test and Repeated Measures ANOVA were used in data analysis. The findings showed that knowledge and practice scores of caring persons with sepsis syndrome of ED nurses, after the system development, were improved significantly (p = .000, .000 respectively). At admission, persons with sepsis syndrome were detected as SIRS (22.2%), sepsis (47.3%), severe sepsis (19.4%) and septic shock (10.8%). The median time of ED nurse detection of sepsis syndrome was within 10 minutes while doctor diagnosed within 25 minutes. Moreover, median time of blood culture was within 1 hours and 10 minutes and antibiotics delivered to patients after diagnosis regarding severe sepsis and septic shock was .69 and .92 hours respectively. During investigation in ED, 19.35% of person with sepsis syndrome were found shock, however no incidence of dead was reported. This study suggests the benefits of using CURN Model which focus in ED nurse participation in development of nursing practice system in using protocol for persons with sepsis syndrome. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1297 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SOMPORN SRITHUNDORN.pdf | 4.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.