Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1385
Title: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการตั้งตำรับแผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดสมุนไพรไทย
Other Titles: Formulation preparation of topical patch from Thai Herbal extract
Authors: จิระพรชัย สุขเสรี
Keywords: ตำรับยาสมุนไพร -- วิจัย;สารสกัดจากพืชสมุนไพร -- วิจัย;สมุนไพร -- การสกัด -- วิจัย;สมุนไพร -- แผ่นแปะ --วิจัย
Issue Date: 2555
Publisher: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาแผ่นแปะจากลูกประคบสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษา โรคปวดเมื่อย โดยการสกัดแยกสารสำคัญของสมุนไพรที่ใช้ในลูกประคบ จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ ความบริสุทธิ์และพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารสำคัญที่สกัดออกมาได้คือ compound D ต่อมาเป็นการ เตรียมตำรับแผ่นแปะโดยการนำสารสกัดสมุนไพรและส่วนผสมอื่นๆ มาผสมกับสารละลายระหว่างไค โตซานและไฮดรอกซี่โพรพิลเมทิลเซลลูโลส หรือ สารละลายระหว่างไคโตซานและพอลิไวนิล แอลกอฮอล์ซึ่งใช้เป็นพอลิเมอร์เกิดฟิล์ม ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยสมุนไพรออกจากตำรับ ประเมินลักษณะทางกายภาพของแผ่นฟิล์มที่เตรียมได้ ทดสอบสมบัติเชิงกล เช่น ความแข็งแรง, ความ เปราะ, ความยืดหยุ่นและความสามารถในการยึดติดของฟิล์ม, สมบัติทางกายภาพ เช่น สังเกตการณ์ เปลี่ยนแปลงสีของฟิล์ม, ศึกษาลักษณะฟิ ล์มภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด, ศึกษาสมบัติการดูด ความชื้น, อัตราการพองตัว และ การกร่อนสลายของฟิล์ม และสมบัติทางเคมี เช่น การวิเคราะห์ด้วยฟู เรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี(FT-IR) เทคนิคดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงแคลอริมิเตอร์ (DSC) และ เทคนิคการวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์(XRD) ที่แสดงให้เห็นถึงความเข้ากันได้ของ ฟิล์ม การศึกษาการปลดปล่อยและการซึมผ่านผิวหนังหมูแรกเกิดของสารสกัดจากสมุนไพรภายนอก ร่างกาย พบว่าแผ่นแปะสมุนไพรที่เตรียมได้ทั้งจากพอลิเมอร์ผสมระหว่างไคโตซานและไฮดรอกซี่โพ รพิลเมทิลเซลลูโลส และไคโตซานและพอลิไวนิลแอลกอฮอล์สามารถควบคุมการปลดปล่อย (E)-4- (3,4-dimethoxyphenyl)but-3-en-l-ol (compound D)ได้เป็นอย่างดีและเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในอนาคต ได้
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to develop and prepare the transdermal patches which made from Luk-Pra-Kop herbs to relieve aches, inflammation, and pains. Firstly are the extraction, purification, and identification of the main active compound in Luk-Pra-Kop herbs which is compound D. Then, we prepared the transdermal patches that incorporated the various herbs and other ingredients in chitosan/hydroxypropyl methylcellulose or chitosan/polyvinyl alcohol polymer blends solution. The mechanical properties (hardness, brittle, flexible, and adhesion property), physical properties (color, photography by digital camera and SEM, moisture uptake, swelling ratio, and erosion), and chemical properties (FT-IR, DSC, and XRD) were evaluated to possibly determine their patches for herb patches. The in vitro release and skin permeation were found these patches, both chitosan/hydroxypropyl methylcellulose and chitosan/polyvinyl alcohol blended polymer could controlled the (E)-4-(3,4-dimethoxyphenyl)but-3- en-l-ol (compound D) from their patches and suitably used and developed in the future.
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1385
metadata.dc.type: Other
Appears in Collections:Pha-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jirapornchai suksaeree.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.