Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1396
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุนี ไชยรส | - |
dc.date.accessioned | 2023-01-26T02:45:17Z | - |
dc.date.available | 2023-01-26T02:45:17Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1396 | - |
dc.description.abstract | งานศึกษาวิจัยเรื่อง "การพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาผ่านการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ชุมชน"ครั้งนี้ได้เลือกศึกษา "กรณีโครงการคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น" ที่วิทยาลัยนวัตกรรมสังคมได้ทำ MOU กับกรมการปกครอง ร่วมกับหลายภาคีเครือข่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผลการวิจัยสามารถสะท้อนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมการลงพื้นที่ปฏิบัติจริง ในการเรียนรู้และกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะ เพื่อให้ทราบปัจจัยผลักดันต่างๆ และประเมินผลกระทบซึ่งกันและกันในการดำเนินกิจกรรมเรียนรู้ของนักศึกษาผ่านประสบการณ์เชิงชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติจริง และเพื่อสร้างองค์ความรู้ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการ และเพื่อพัฒนาแนวคิดในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของวิทยาลัยฯต่อไป งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม คือการศึกษาปรากฏการณ์ในภาพรวม โดยผู้วิจัยมีส่วนร่วมในกิจกรรมและสังเกตการณ์อย่างเป็นธรรมชาติ ให้ความสำคัญและเคารพข้อมูลปัจเจกแต่ละคน ศึกษาจากเรื่องเล่าและการถอดบทเรียนของแต่ละคน โดยยึดหลักแลกเปลี่ยนอิสระเสรี มีส่วนร่วม และหลักเท่าเทียม สร้างความไว้วางใจ ใช้คำถามแบบปลายเปิดให้ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกเหมือนเป็นการสนทนาทั่วไป เพื่อทำให้ข้อมูลถูกพูดออกมาอย่างมีความหมาย ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาได้มีกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำเอง ผ่านประสบการณ์โครงการคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่นที่มีปัญหาสิทธิที่สำคัญพื้นฐานในเรื่องสัญชาติ อันนำไปสู่การไร้สิทธิใดๆที่กระทบต่อผู้คนจำนวนมากมายาวนานและยังแก้ไขปัญหาล่าช้า ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์การเรียนรู้ต่อปัญหาโครงสร้างของสังคมชัดเจนขึ้นและได้เสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะ เนื่องจากโครงการฯนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่ต้องการจิตอาสาที่มุ่งมั่น รับผิดชอบ เสียสละเวลา ทำงานหนัก ซึ่งมีนักศึกษาอาสาเข้าร่วมจำนวนมาก ข้อค้นพบที่นำไปสู่ข้อเสนอแนะที่สำคัญต่อวิทยาลัยฯและมหาวิทยาลัยฯ คือ (1) การสนับสนุนโครงการฯนี้ และโครงการอื่นๆที่ให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์เชิงชุมชนมากยิ่งขึ้น โดยให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมที่นักศึกษาได้วางแผนและรับผิดชอบงาน รวมทั้งพัฒนากลไกการดำเนินงานและงบประมาณทางสังคมอย่างมีแผนงานชัดเจนและต่อเนื่อง (2) ปรับปรุงหลักสูตรที่เชื่อมโยงกิจกรรมเชิงชุมชนให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอน เช่น การเปิดวิชาเลือก 6 หน่วยกิตในภาคฤดูร้อนเพื่อเป็นทางเลือกให้ไปเรียนรู้ประสบการณ์เชิงชุมชน การให้ทางเลือกฝึกงานแก่นักศึกษาตั้งแต่ปีที่ 2 และอาจเลือกฝึกได้ 2 ครั้งๆละ 2 เดือน เพื่อค้นพบความสนใจที่ชัดเจนของตนเอง (3) การให้ทุนวิจัยในชั้นเรียนภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน และนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย เพื่อสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนให้อาจารย์สร้างผลงานวิชาการบริการสังคม และเพิ่มการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานกิจกรรมร่วมกับชุมชน (4) การจัดให้มี"ทุนนักกิจกรรมทางสังคม" สำหรับนักเรียนที่มาศึกษาต่อมหาวิทยาลัยรังสิต นอกจากนี้ มีข้อเสนอเพื่อการวิจัยต่อไปในอนาคต ต่อปรัชญาการศึกษา ที่จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงหลักคิด ระบบการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่ออกนอกกรอบเดิม และมีทางเลือกใหม่ๆในการพัฒนานักศึกษา เพื่อให้เป็นคนที่มีคุณค่าของสังคม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีจิตสำนึกสาธารณะต่อสังคมโดยรวม | en_US |
dc.description.sponsorship | ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | จิตสาธารณะ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | จิตสำนึกสาธารณะ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | สัญชาติ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | en_US |
dc.subject | การปฏิรูปการศึกษา -- ไทย | en_US |
dc.title | การพัฒนาจิตสานึกสาธารณะของนักศึกษาผ่านการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ชุมชน : กรณีโครงการคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น | en_US |
dc.title.alternative | Development of student public consciousness through community experience learning : the case of project of returning to stranded Thai people | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | This research works chose to study the case of "project of returning nationality to stranded Thai people" that social innovation college made an MOU with the Department of Administrative Affairs and many network parties. The objective that in order to make the research result reflect the result that happens from hands-on activity operation in learning and development process of public conscience in order to know various driving force and impact assessment to each other in learning activity operation of students through hands-on community experience. This enabled students to have learning experience to the social structure problem in a clearer way and created public consciousness by focusing on studying through the work operation of student clubs along with the equality and fairness promotion center, social innovation college as this project was a continuous activity that required volunteers with determination, responsibility, sacrifice time, working hard. There were a lot of volunteer students. This research was qualitative research focused on participatory operational research. The important operational principle was to study phenomenon in the overall picture. The researcher participated in the activity and natural observation, prioritized and respected data of each individual, studied from storytelling and lesson acquired by each individual by using the principle of free exchange and participation and equality principle, creating trust, using open-ended questions so that interviewees would feel as if it was like a normal conversation so that the data were spoken meaningfully. The finding which led to important suggestion of the college and university were as follows. (1)Support of this project and other projects allowing students to have more community experienceby creating participatory process that students had planned and be responsible for the work anddeveloping work operation mechanism and social budget with a clear and continuous work plan. (2)course concerned with community activity was improved to be part of the teaching process such asopening 6 credits of elective subjects in the summer as a choice to go learn community experience,providing internship choice to students from second year and over. They might choose to have 2trainings. Each on lasted two months to clearly find their interest (3) provide in- class research scholarship under the condition of learning development that used community as a foundation and students participated in the research process to create motivation and support to teachers to create social service academic work and increased teaching arrangement that combined activities with community. (4) Arrangement of "social activity scholarship" for students who came to study at Rangsit University. Moreover, there was a suggestion for research about the educational philosophy to develop thinking principle, teaching system to follow the outside- the-box learning process and there were new choices in developing students, so they become people with social value, having creativity and public consciousness. | en_US |
Appears in Collections: | CSI-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunee Chaiyarose..pdf | 14.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.