Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1414
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทรงพล อัตถากร-
dc.date.accessioned2023-01-26T07:30:49Z-
dc.date.available2023-01-26T07:30:49Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1414-
dc.description.abstractอาคารเรียนที่มีโถงกึ่งเปิดโล่งกลางอาคารในย่านชานเมืองกรุงเทพมหานคร นับเป็นหนึ่งในรูปแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืนที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยแนวทางการพึ่งพาธรรมชาติของโถงสูงขนาดใหญ่ซึ่งเป็นพื้นที่ต้อนรับ ทางสัญจรหลัก และพื้นที่กิจกรรมส่วนกลาง โถงกึ่งเปิดโล่งถูกโอบล้อมด้วยห้องเรียนโดยรอบสูงหลายชั้นและปกคลุมด้วยมีหลังคาโปร่งแสง การวิจัยมีจุดประสงค์ในการศึกษาถึงปริมาณและคุณภาพของสภาวะแวดล้อมเชิงธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในโถงกรณีศึกษา ซึ่งช่วยส่งเสริมสุขภาวะและการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การศึกษาเริ่มจากการทดสอบและประเมินสภาวะแวดล้อมเชิงธรรมชาติใน 4 กรณีศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ รังสีความร้อน ความชื้นสัมพัทธ์ ลมธรรมชาติ แสงธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวภายใน และการมองสู่ภายในโถงและสู่ทิวทัศน์ภายนอก ต่อมาเป็นการหาความสัมพันธ์ของรูปแบบอาคารที่มีผลต่อคุณภาพเชิงอุณหภาพและคุณภาพด้านการมอง อันนำไปสู่การเสนอแนวทางในการออกแบบโถงกึ่งเปิดโล่ง ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพกรณีศึกษาทั้ง 4 มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับที่สูงกว่าปานกลาง โดยแต่ละกรณีศึกษามีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปแบบอาคารกับผลคุณภาพสภาวะแวดล้อมเชิงธรรมชาติ ได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะแนวทางออกแบบโถงกึ่งเปิดโล่งในอาคารเรียน 5 ข้อดังนี้ 1) ควรลดการส่งผ่านความร้อนจากหลังคา โดยการมีพื้นที่หลังคาโปร่งแสงที่พอเหมาะ ควรมีสัดส่วนโถงที่สูง และควรมีการบังแดดสู่ภายในที่ดี เพื่อช่วยให้พื้นโถงมีอุณหภูมิและรังสีความร้อนลดลง 2) ควรเปิดรับลมธรรมชาติสู่โถงอย่างมีคุณภาพ โดยเปิดรับลมเข้าให้ตรงกับทิศลมธรรมชาติและเปิดช่องลมออกในตำแหน่งที่มีความดันเป็นลบ และควรมีการกระจายลมและการระบายอากาศร้อนออกสู่ภายนอกที่ดี เพื่อช่วยลดความชื้น เพิ่มความเร็วลม และกระจายลมได้ทั่วถึง 3) ควรเปิดรับแสงธรรมชาติในปริมาณที่พอเหมาะ ควรหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดโดยตรง และควรมีการกระจายแสงที่ทั่วถึง เพื่อช่วยให้โถงมีปริมาณแสงที่เหมาะสม มีความสม่ำเสมอ และลดโอกาสเกิดแสงบาดตา 4) ควรมีโถงที่กว้าง สว่าง และมีบรรยากาศเชิงธรรมชาติที่ดี โดยควรมีสวนหย่อมภายใน เพื่อความผ่อนคลายและการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ และ 5) ควรมีช่องเปิดอาคารที่กว้างสู่ภายนอก เพื่อส่งเสริมการมองจากภายในโถงสู่วิวทิวทัศน์ภายนอก ซึ่งช่วยส่งเสริมการเชื่อมต่อกับธรรมชาติ และช่วยยกระดับความสบายด้านการมองen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectอาคารเรียน -- การออกแบบและการสร้างen_US
dc.subjectการออกแบบสถาปัตยกรรม -- การระบายอากาศen_US
dc.subjectอาคารเรียน -- การระบายอากาศen_US
dc.subjectสถาปัตยกรรมกับภูมิอากาศen_US
dc.titleรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การศึกษาโถงกึ่งเปิดโล่งในอาคารเรียนเพื่อความยั่งยืนen_US
dc.title.alternativeStudy of semi-open atrium in sustainable educational buildingen_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThe semi-open atrium in the contemporary educational building is a popular space in sustainable architecture. The naturally-voluminous space used for multi-function common areas is surrounded by several levels of classrooms and covered with a translucent roof. This research aims to reveal the conditions and qualities of the natural environment inside the case studies which promote well-being and creativity. The study begins with testing and assessing the natural environment conditions inside the 4 case studies, including temperature, radiant heat, humidity, natural ventilation, daylight, indoor green area, and views inside and outside. Next, the relationships between building characteristics and the effects of thermal quality and visual quality are investigated. Then, the design guidelines are recommended. The testing and assessing results showed that the overall environmental quality of the 4 case studies was higher than moderate while each case study has different strengths and weaknesses. The results of the relationship analysis brought into 5 design guidelines as follows: 1) The transmission of heat from the roof should be reduced by having optimal skylights, increasing the Well Index Ratio, and providing sunshades for lower temperatures and radiation. 2) Effective natural ventilation should be provided by having inlet openings at the windward side and outlet openings at negative air-pressure locations. Incoming airflow should be well distributed whereas upper hot air should be discharged. 3) Daylight should be optimally and uniformly provided with no direct sunlight for better daylight effects and lower daylight glare probability. 4) Atrium should be spacious, well-lighted, and having a good natural atmosphere. Indoor plants or organic elements should be provided for relaxing and creative learning. And 5) Atrium should open widely to outside views for better natural connection and visual comforten_US
Appears in Collections:ARC-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songpol Atthakorn.pdf24.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.