Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1415
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การรับรู้วัฒนธรรมทางสายตา ผ่านกิจกรรมบันเทิงของเด็กแว้นและเด็กสก๊อย |
Other Titles: | Perception of visual culture - through the entertainment activities of subculture street racing |
Authors: | อนุพงศ์ เจริญมิตร |
Keywords: | การรับรู้ทางสายตา;การรับรู้และการรู้สึกในศิลปกรรม;เยาวชน -- ไทย -- การดำเนินชีวิต;เด็กที่เป็นปัญหา |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | โครงการวิจัย สร้างสรรค์เรื่อง “การรับรู้วัฒนธรรมทางสายตา ผ่านกิจกรรมบันเทิงของเด็กแว้นและ เด็กสก๊อย” มุ่งศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบผลงานสร้างสรรค์มีส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ 1.เนื้อหาของงาน 2. กายภาพของผลงานสร้างสรรค์ ประเด็นด้านเนื้อหาสนใจอ่านภาพผ่านที่กระทบสายตาผู้คนในด้าน “วัฒนธรรมทางสายตา” ที่มองผ่านกิจกรรมของกลุ่มเด็กแว้นและเด็กสก๊อยในสืาอโซเชียลมีเดียที่การรับรู้ของผู้คนในสังคมปัจจุบัน เคลื่อนขยับตามพัฒนาการของของเทคโนโลยีสื่อ และความโกลาหล สลับซับซ้อนของสังคม สนามภาพแห่งการรับรู้สมัยใหม่ ของสื่อโซเชียลมีเดียสื่อสารโดยตรงกับผู้คน มีความรวดเร็ว เข้าถึงและโต้ตอบระหว่างกันโดยง่าย ภูมิทัศน์ของการรับรู้ส่อโซเชียลมีเดียจึงเป็นพื้นที่ศึกษาหนึ่งที่มีความน่าสนใจ การศึกษาวิจัยโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้จัดงาน “แว้นหลุดโลก” ที่ให้ข้อมูลและความให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมทางศิลปะ(Activist art) กับกลุ่มเด็กแว้นและเด็กสก๊อย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นตอนการดำเนินโครงการ ได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากภาคเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำให้ทราบข้อคิดเห็นที่น่าแตกต่างหลายประการ จากมุมมองของเด็กแว้นและเด็กสก๊อยในฐานะผู้ถูกเฝ้ามองทางสังคม เรามิอาจปฏิเสธได้ว่าบางคราวสถานการณ์นำผู้คนในสังคมมองกลุ่มเด็กแว้นและเด็กสก๊อยด้วย ภาพเหมารวม(stereotype) มีอคติเป็ นต้นทุนในการทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ในการศึกษาวิจัยในโครงการนี้ผลสัมฤทธิ์จะถูกนำเสนอในรูปแบบผลงานสร้างสรรค์ ที่มิได้เป็น การสื่อสารแบบตรงไปตรงมาต่อผู้ชม แต่เป็นการสร้างภาพปรากฏเชิญสัญลักษณ์ การออกแบบ สถานะการณ์(event)จำลอง มีองค์ประกอบของพื้นที่ เวลา และกิจกรรมเพื่อสร้างภาพขึ้นใหม่ การบันทึกกิจกรรมที่ออกแบบบนี้จะถูกนำเสนอผ่านสื่อทางศิลปะที่เรียก วดีโออาร์ต(Video Art) ที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นความหมายแฝง ชักชวนให้ผู้ชมมีส่วนร่วมตีความ ค้นหาความหมายจากประสบการณ์ของตนเอง |
metadata.dc.description.other-abstract: | This creative research project the “Visual Perception through Entertainment Activities of “Dek Vant” and “Dek Skoy” is aimed to study the development of presentation that contains two objectives, i.e. 1) Content of the work and 2) The physical of the creative work. The content issues focus on seeing pictures through people's eyes as “Visual Culture” by looking at the activities of “Dek Vant” and “Dek Skoy” on social media. We cannot deny that the perception of people in today's society has shifted through the development of technology, media and the complex chaos of society. Presently the vision field of social media's modern perception has communicated directly with people quickly, and easily interact with each other. The landscape of social media awareness is one of an interesting subject to be studied. This research study was co-organized by the organizers of the “Vant Lood Loke” Event which provided information and cooperation on artistic activities with the groups of “Dek Vant” and “Dek Skoy” as a part of the creative process. The project implementation, the process has been studied and researched from recorded documents and in-depth interviews that have come up with several different opinions from “Dek Vant “ and “Dek Skoy” as they were stared by social watchers. We cannot deny that from time to time people in society look at "Dek Vant" and "Dek Skoy" as overall stereotypes with bias as a cost of understanding of what happens from the image that hits the eye sights. The results of this research study will be presented in the form of creative work that is not straight forward to the audience but to create a symbolic appearance by designing a simulated event situation with elements of space, time, and activities to recreate a new image. The recording of this designed activity will be presented through an artistic medium called Video Art with its characteristic connotation to persuade the audience to participate, interpret, and find out the meaning from self-experience |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1415 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | DIA-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anupong Charoenmitr.pdf | 81.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.