Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1429
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกัญจนพร โตชัยกุล-
dc.date.accessioned2023-01-27T02:03:07Z-
dc.date.available2023-01-27T02:03:07Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1429-
dc.description.abstractปัจจุบันโรคมะเร็งทางนรีเวชที่พบมาก คือโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งรังสีรักษามีบทบาทอย่างมากต่อการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะรังสีรักษาระยะใกล้ที่สามารถให้ปริมาณรังสีสูงต่อก้อนเนื้อและลดปริมาณรังสีต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง แต่อย่างไรก็ตามการเกิดภาวะแทรกซ้อนในงานรังสีรักษาระยะใกล้ยังคงมีอุบัติการณ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่จะพบบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจวัดปริมาณรังสีบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายด้วยอุปกรณ์วัดรังสีแบบสอดเข้าทางทวารหนัก เพื่อเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีที่แสดงในเครื่องวางแผนการรักษา ขั้นตอนแรกจะทำการสอบเทียบข้ามระหว่างหัววัดไอออนไนเซชันกับหัววัดไดโอด เพื่อหาค่าประจุสะสมมาคำนวณหาค่าปัจจัยการสอบเทียบของเคอมาในอากาศ จากนั้นทำการหาค่าตัวแปรแก้ไขระยะทางและทิศทางระหว่างหัววักับแหล่งกำเนิดรังสี ในส่วนสุดท้ายจะทำการวัดปริมาณรังสีที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายได้รับ โดยใช้หุ่นจำลองบริเวณอุ้งเชิงกราน โหลดแร่อิริเดียม-192 ด้วยปริมาณรังสี 7 เกรย์ นับวัดทั้งหมด 3 ครั้งต่อ 1 แผนการรักษา นับวัดทั้งหมด 15 แผนการรักษา จากนั้นนำค่าประจุเฉลี่ยสะสมที่วัดได้จากแต่ละแผนการรักษามาคำนวณเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างระหว่างค่าปริมาณรังสีที่วัดได้จากหัววัดไดโอดและค่าปริมาณรังสีที่วัดได้จากการคำนวณด้วยเครื่องวางแผนการรักษา จากผลการทดลองพบว่า ค่าปัจจัยการสอบเทียบของเคอมาในอากาศที่ได้จากการสอบเทียบข้ามของหัววัดไดโอดมีค่าประมาณ 3.9707 มิลลิเกรย์ต่อนาโนคูลอมบ์ และค่าเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของปริมาณรังสีที่วัดได้จากหัววัดไดโอดกับค่าปริมาณรังสีที่คำนวณด้วยเครื่องวางแผนการรักษาในหุ่นจำลองบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย มีค่าอยู่ในช่วง 0.11-4.10% รวมถึงการทดสอบทางสถิติทีเทสพบว่าปริมาณรังสีจากวิธีทั้งสองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าการวัดปริมาณรังสีในร่างกายผู้ป่วย โดยจัดระบบการทวนสอบปริมาณรังสีก่อนการรักษาด้วยหัววัดชนิดไดโอดนั้นอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ (เกณฑ์กาหนด ±5%) เพื่อป้องกันการให้ปริมาณรังสีผิดพลาดที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลโดยตรงไปยังผู้ป่วยได้en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectมะเร็งปากมดลูก -- การรักษาen_US
dc.subjectการฉายรังสีen_US
dc.subjectกัมมันตภาพรังสี -- การวัด -- วิจัยen_US
dc.titleรายงานผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การวัดปริมาณรังสีในหุ่นจำลองบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายสำหรับการฉายรังสี ระยะใกล้ของโรคมะเร็งปากมดลูกen_US
dc.title.alternativeA phantom study in-vivo rectal dosimetry of high dose rate brachytherapy in cervical canceren_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractCurrently, cervical cancer is the top 2 of gynecological disease which radiotherapy plays an important role in the cervical cancer treatment. Especially, brachytherapy can provide high prescription dose to target and decrease normal tissue dose. However, the brachytherapy complications are still occurred. For cervical cancer, most complication was found at the rectal area. Therefore, the aim of this study was to measure the rectum received dose with a rectal dosimeter to compare with the radiation dose recorded in the treatment planning system. The first step, a cross calibration between the ionization chamber and the diode dosimeter was performed. The accumulated charges were used to calculate the air kerma calibration factor. Then, the distance and direction correction factor between the dosimeter and the radiation source were found. In the last section, the amount of radiation received at rectum was measured by using an in-house pelvic phantom. Iridium-192 source was loaded into the phantom with 7 Gy, repeated 3 times were achieving per treatment plan, total studies were 15 treatment plans. The cumulative average charge of each plan was calculated to the percentage difference between the diode dosimeter and the treatment planning system. The results found the air kerma calibration factor obtained by the cross calibration process is approximately 3.9707 mGy/nC. The percentage difference range of radiation dose between the diode dosimeter and the treatment planning system is about 0.11-4.10%. The t-test statistical showed a no significantly difference between the two methods. The percent difference showed that the diode dosimeter was acceptable (criteria ±5%) to perform the in vivo dosimetry as treatment verification system for prevent the radiation dose error that can be directly effect to the patienten_US
Appears in Collections:RdT-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Gunjanaporn Tochaikul.pdf19.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.