Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1478
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุมาลี สว่าง | - |
dc.contributor.author | พิมพ์พร ชีวานันท์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-02-02T05:45:17Z | - |
dc.date.available | 2023-02-02T05:45:17Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1478 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (บธ.ด. (บริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 | en_US |
dc.description.abstract | บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะใช้เงินสนับสนุน ผ่านวิธีการระดมทุนสาธารณะในวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการ แบ่งปันข้อมูลเรื่องการระดมทุนสาธารณะในวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่จะใช้เงินในการสนับสนุนผ่านวิธีการระดมทุนสาธารณะในวิสาหกิจเพื่อสังคม และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง บรรทัดฐานทางสังคม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถของตนเอง สิทธิประโยชน์ทางภาษี ความตั้งใจในการสนับสนุนทางการเงิน ความตั้งใจในการแบ่งปันข้อมูล และพฤติกรรมสนับสนุนทางการเงินผ่านการระดมทุนสาธารณะเพื่อการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม และเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยลงทุนผ่านวิธีการระดมทุนสาธารณะในวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย จำนวน 1,527 ราย ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่าปัจจัยด้านทัศนคติ บรรทัดฐานทางสังคม การรับรู้ ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถของตนเอง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีมี อิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจในการสนับสนุนทางการเงินให้กับวิสาหกิจเพื่อสังคม ในขณะที่ปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ไม่มีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจในการสนับสนุนทางการเงินให้กับวิสาหกิจเพื่อสังคม ด้วยวิธีการลงทุนผ่านการระดมทุนสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยด้านทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง บรรทัดฐานทางสังคม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและการรับรู้ความสามารถของตนเองมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจในการแบ่งปันข้อมูล ในขณะที่ปัจจัยด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี ไม่มีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคม ผ่านวิธีการลงทุนสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ ความตั้งใจในการสนับสนุนทางการเงิน และความตั้งใจในการแบ่งปันข้อมูล มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมสนับสนุนทางการเงิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต. สำนักหอสมุด | en_US |
dc.subject | ทุนทางสังคม -- ไทย | en_US |
dc.subject | การระดมทุน -- ไทย | en_US |
dc.subject | วิสาหกิจเพื่อสังคม | en_US |
dc.title | โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจ และพฤติกรรมในการสนับสนุนทางการเงินผ่านการระดมทุนสาธารณะเพื่อการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | The structural equation modelling of factors effecting financial contribution intention and behavior via equity crowdfunding in social enterprise in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The purposes of this research were to study the factors influencing the intention of financial contribution via equity crowdfunding in social enterprise, to study the factors influencing information sharing intention via equity crowdfunding in social enterprise, to study the factors influencing financial contribution behavior via equity crowdfunding in social enterprise in Thailand, and to recheck the conformity of structural equation model influence of attitude, subjective norm, social norms, perceived behavioral control, self-efficacy, tax incentives, financial contribution intention, information sharing intention, and financial contribution behavior via equity crowdfunding in social enterprises in Thailand. Quantitative research is conducted with a questionnaire as a research tool, and the data were collected from 1,527 people who have invested via equity crowdfunding in social enterprise in Thailand. According to the analysis of the structural equation model, the results revealed that attitude, social norms, perceived behavioral control, self-efficacy, and tax incentives have a positive direct influence on financial contribution intention, while the factor of subjective norm has no positive direct influence on financial contribution intention via equity crowdfunding in social enterprises at statistically significant of 0.05, and found that the factor of attitude, subjective norm, social norm, perceived behavioral control, self-efficacy have a positive direct influence on information sharing intention, while the factor of tax incentives has no positive direct influence on information sharing intention of equity crowdfunding in social enterprise at statistically significant of 0.05. It was also found that both financial contribution intention and information sharing intention have a positive direct influence on financial contribution behavior at statistically significant of 0.05 | en_US |
dc.description.degree-name | บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | บริหารธุรกิจ | en_US |
Appears in Collections: | BA-BA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PIMPORN CHEWANANTH.pdf | 9.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.