Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1479
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิตที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน |
Other Titles: | Factors associated with health behaviors for cardiovascular disease prevention of Rangsit University staff at risk of diabetes |
Authors: | ชนิดา พุทธเมธา |
metadata.dc.contributor.advisor: | รัชนี นามจันทรา, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ |
Keywords: | พฤติกรรมสุขภาพ;โรคหัวใจและหลอดเลือด -- การป้องกันและควบคุม -- วิจัย;โรคเบาหวาน |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต. สำนักหอสมุด |
Abstract: | การวิจัยเชิงพรรณนานี้ ศึกษาการรับรู้ในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรม สุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ในการปฏิบัติ พฤติกรรมสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในบุคลากร มหาวิทยาลัยรังสิตที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 101 คน เก็บข้อมูลด้วย แบบบันทึก ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคม ในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพเพื่อ ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและ หลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์เพียร์สันหรือสัมประสิทธ์ิ สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยการรับรู้ อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อ ป้ องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้ องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคมในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r=.286, p<.004; r=.588, p=<.001; r=.337, p<.001 ตามลำดับ) ส่วนการรับรู้อุปสรรคมี ความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r=-.548, p=<.001) ผลการศึกษาเสนอให้หน่วยงานมีกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับบุคลากรที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โดยเฉพาะด้านการรับประทานอาหารและการออก กำลังกาย และควรมีการวิจัยติดตามประเมินผลต่อเนื่องระยะยาว |
metadata.dc.description.other-abstract: | This descriptive research studied perception of health behaviors and health behaviors in preventing the cardiovascular diseases and the relationship between perception of health behaviors and health behaviors in preventing the cardiovascular diseases among participants of 101 Rangsit University staff who were in a risk group of diabetes mellitus. The data were collected through Personal and Health Related Data Record Form, Questionnaires of Perceived Benefit, Perceived Barrier, Perceived Self-Efficacy, and Social Support in performing health behaviors for cardiovascular diseases prevention, and Health Behaviors for Cardiovascular Diseases Prevention Questionnaire. Descriptive statistics, Pearson’s Moment Product Correlation Coefficient or Spearman Rank Correlation Coefficient were used in data analysis. The results showed that the sample perceived benefit at a high level; perceived barrier, perceived self-efficacy, and social support were at a moderate level; and health behaviors in cardiovascular diseases prevention were also at a moderate level. Perception of benefits, selfefficacy, and social support in performing health behaviors for cardiovascular diseases prevention had statistically significant positive correlations with health behaviors in preventing cardiovascular diseases (r=.286; p<.004; r=.588, p=<.001; r=.377; p<.001 respectively). Perception of barriers in performing health behaviors for cardiovascular diseases prevention had shown the statistically significant negative correlations with health behaviors in preventing cardiovascular diseases (r=-.548, p=<.001). The research results suggest that the institute should create activities to promote health behaviors for the staff who are at risk of diabetes mellitus, especially in eating behaviors and physical activity behaviors, and research for continual longterm evaluation should be conducted |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม (การพยาบาลผู่ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1479 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
CHANIDA PUTTAMETHA.pdf | 5.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.