Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1484
Title: ทาการะ วอง : การสื่อสาร การแสดงความหมาย และวัฒนธรรมกลุ่มย่อย
Other Titles: Takara Wong : communication, signification, and subculture
Authors: ลภาวี สารโกศล
metadata.dc.contributor.advisor: กฤษดา เกิดดี
Keywords: ทาการะ วอง (แบรนด์สินค้า);ตราสินค้า -- การสร้าง;วัฒนธรรมย่อย;อัตลักษณ์ -- การออกแบบ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต. สำนักหอสมุด
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสาร การแสดงความหมายของแบรนด์ ทาการะ วอง และการสื่อสารของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยโดยทฤษฎีที่ใช้ศึกษาคือ ทฤษฎีการสื่อสารแฟชั่น ทฤษฎีการสร้างความหมาย แนวคิดวัฒนธรรมย่อย และทฤษฎีการสื่อสารตราสินค้า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย แหล่งข้อมูล 2 ประเภท คือ 1. ประเภทบุคคล ได้แก่ ดีไซเนอร์ และกลุ่มผู้สวมใส่ทั้งหมด 6 คน และ 2. ประเภทเอกสาร ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพถ่ายแฟชั่น นิตยสาร การวิเคราะห์ภาพถ่ายที่ศิลปิน ดาราสวมใส่ชุด และวีดีทัศน์ โดยมีผลการวิจัยดังนี้ 1. แบรนด์ทาการะ วองมีแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมย่อย โดย การวางตาแหน่งตราสินค้า (Brand Position) คือ ความเป็นกบฏ ต่อต้าน ทาการะ วองได้ถ่ายทอดเอกลักษณ์ตราสินค้า (Brand Identity) มีสัญญะทั้งหมด 5 สัญญะ ยกตัวอย่างเช่น สีแดงสด หมุดเงิน ฯลฯ สัญญะทั้ง 5 ล้วนมีความหมายเกี่ยวข้องกัน คือ ความกบฏ ความแตกต่าง ทั้งนี้การสื่อสารตราสินค้าจึงสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน สรุปได้ว่าแบรนด์สื่อความหมายได้อย่างชัดเจน และเป็นที่จดจา จนเกิดการเลือกใช้เสื้อผ้าของแบรนด์จากหน่วยงานอื่น ๆ นาไปสู่ศิลปินที่มีอัตลักษณ์ตรงกับแบรนด์ 2. ผลการวิจัยของกลุ่มวัฒนธรรมย่อย สรุปได้ว่าอัตลักษณ์ของกลุ่มมีความสอดคล้องกับแบรนด์ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลให้ความสนใจในการแต่งกาย นอกจากนี้กลุ่มเป้าหมาย ยังมีแรงจูงใจที่ใกล้เคียงกับแบรนด์อีกด้วย นั้นคือความแตกต่าง ผ่าเหล่า และความหลงใหลดนตรีที่มีรากของดนตรีร็อกเป็นแก่นหลัก สรุปได้ว่ากลุ่มวัฒนธรรมย่อยกลุ่มนี้รับเอาความหมายจากแบรนด์มาตกแต่งร่างกายได้ตรงกับความหมายที่แบรนด์สร้างไว้ ทั้งนี้ได้มีการผสมผสานเครื่องประดับอื่น ๆ ให้เข้ากับอัตลักษณ์ หรือวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคลต่างกันไป โดยความหมายหลักของเสื้อผ้าแบรนด์ทาการะ วอง ยังคงชัดเจน นั้นคืออานาจของกบฏนั้นเอง
metadata.dc.description.other-abstract: The objective of the research was to study communication, signification of TAKARA WONG brand, and communication among subculture groups. The theoretical framework for the current study included fashion communication theory, signification theory, subculture concept, and brand expression theory. This qualitative research consisted of two sources, including 1. participants: designers and customers in total six people and 2. documents: an analysis on fashion magazine photos, an analysis on dresses which celebrities wore, and videos. The findings revealed that 1. The inspiration behind TAKARA WONG brand was from the subculture. The Brand Position was being rebellious. The Brand Identity of TAKARA WONG expressed five signs, such as a bright red color, silver pin, etc. All five signs had related meanings which were rebellions and differences. The brand expression was consistent with the same direction. It could be concluded that the brand had a clear, memorable expression which led to the selection of the brand’s clothes by other organizations, contributing to artists who had the same identities as the brand. 2. The results regarding the subculture group could be concluded that their identities were consistent with the brand since the target group was individuals who were interested in dressing. This target group’s motivation was closely similar to the brand as well, namely difference, being different, and passion in music rooted in rock mainly. It can be concluded that this subculture group accepted the signification of the brand into dressing themselves according to the intention of the brand. It was also the mixture of other accessories where identities or purposes were matched with each individual. The major meaning of the TAKARA WONG brand clearly represented being rebellious.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564
metadata.dc.description.degree-name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิเทศศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1484
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CA-CA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CAPTAIN LAPAVEE SARAKOSALA.pdf11.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.