Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1525
Title: | การประเมินผลเชิงดุลยภาพของการประยุกต์ใช้มาตรฐานISO/IEC 29110 ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย |
Other Titles: | A balanced scorecard measurement of applying ISO/IEC 29110 in Thai software development companies |
Authors: | ชริษากาญจน์ ธารณ์พชิราภาสกุล |
metadata.dc.contributor.advisor: | วศิณ ชูประยูร |
Keywords: | ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ -- มาตรฐาน -- ไทย;อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ -- ไทย |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO/IEC 29110 ของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ในประเทศไทย เพื่อการบริหารโครงการด้านการผลิตและการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทั้ง 8 ด้าน คือ ข้อกำหนดโครงการ แผนการดำเนินโครงการ ความก้าวหน้าของโครงการ การขอเปลี่ยนแปลงความต้องการ การทบทวนการประชุม ความเสี่ยง กลยุทธ์ในการควบคุมรุ่นของซอฟต์แวร์ และการรับประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ และ 2) ประเมินผลเชิงดุลยภาพของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ใน 4 มุมมอง คือ การเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน และการเรียนรู้และการเจริญเติบโต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการผลิตซอฟต์แวร์ในประเทศไทย จำนวน 79 บริษัท ผู้ประกอบการตอบและส่งแบบสอบถามกลับคืนครบเต็มจำนวน (ร้อยละ 100.00) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ก) สถิติพื้นฐานคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ข) สถิติอ้างอิงเพื่อทดสอบมมติฐานคือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีตะ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติสหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO/IEC 29110 ในการบริหารจัดการโครงการด้านการผลิตและการพัฒนาซอฟต์แวร์ ได้แก่ ลักษณะบริษัท และรูปแบบการจดทะเบียนบริษัท ส่วนการได้รับการรับรอง ISO/IEC 29110 มีความสัมพันธ์กับการผลิตและการพัฒนาซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ การบริหารจัดการโครงการด้านการผลิตและการพัฒนาซอฟต์แวร์มีความสัมพันธ์กับปัจจัยการประเมินผลเชิงดุลยภาพทั้งสี่มุมมองคือ มุมมองด้านการเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน การเรียนรู้และการเจริญเติบโต |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of this thesis were 1) to study the applications of ISO/IEC 29110 of the Thai software development companies in eight terms: limitations of the project, project planning, the project progresses, system modification, meeting revision, possible risks in the project, methods of software controls, and quality control of the software, and 2) to evaluate the companies using the balanced scorecard in four perspectives: finance, customer, internal processes, and learning and growth. This thesis is quantitative research using questionnaires to gather empirical data from 79 companies. All of them completed and returned the questionnaires (100.00%). Statistics used for data analysis were (a) descriptives including percentage, arithmetic mean, and standard deviations; and (b) inferential statistics: Eta, Canonical, and Pearson correlations. The hypothesis test found that factors that correlate to the application of ISO/IEC 29110 to manage software development and production were company characters and registered types. The correlation was significant at the level of .05. Therefore, the factor--ISO/IEC 29110 certified companies correlate to software development and production. In addition, the management of software development and production also relates to the balanced scorecard's four perspectives |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดเทคโนโลยีสารสนเทศ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1525 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | ICT-ITM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
CHARISAKARN TARNPACHIRAPASAKUL.pdf | 4.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.