Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1560
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลบาทต่อดอลลาร์ ยูโร และเยน
Other Titles: Factors affecting exchange rates baht/USD, Baht/EUR and Baht/Yen
Authors: จินดาทิพย์ สุพพัตกุล
metadata.dc.contributor.advisor: วรรณกิตติ์ วรรณศิลป์
Keywords: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา;ปริวรรตเงินตรา -- ไทย;อัตราปริวรรตเงินตรา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลบาทต่อดอลลาร์ บาทต่อยูโร และบาทต่อเยนโดยใช้แบบจำลอง ARDL (AutoRegressive Distributed Lag) ซึ่งข้อมูลเป็นแบบรายเดือนในช่วงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 รวมระยะเวลา 60 เดือน เพื่อทดสอบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ปริมาณเงิน ปริมาณพันธบัตรรัฐบาล ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม อัตราเงินเฟ้อ ทุนสำรองระหว่างประเทศ และดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร จากการประมาณความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว สาหรับ สกุลเงินบาทต่อยูโร (EUR) พบว่า อัตราดอกเบี้ย ปริมาณเงิน ทุนสำรองระหว่างประเทศ และดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่ออัตราแลกเปลี่ยน ในส่วนของสกุลเงินบาทต่อเยน (JPY) มีเพียงดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เท่านั้นที่มีนัยสำคัญ ส่วนตัวแปรอื่นๆไม่มีนัยสาคัญ และสำหรับเงินสกุลบาทต่อดอลลาร์ (USD) พบว่า ปริมาณเงิน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่ออัตราแลกเปลี่ยน ในส่วนของการปรับตัวในระยะสั้นเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาว พบว่า อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อยูโรจะปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวในอัตรา 43.4% ของผลกระทบจาก Shock ได้ในงวดถัดไป อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อเยนจะปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวในอัตรา 20% ของขนาดของผลกระทบจากการ Shock ได้ในงวดถัดไป และอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อดอลลาร์จะปรับตัวกลับเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาวได้ในอัตรา 26 % ของขนาดของผลกระทบจาก Shock ได้ในงวดถัดไป
metadata.dc.description.other-abstract: This research aims to study factors affecting exchang Rate THB/USD, THB/EUR and THB/JPY by using ARDL (AutoRegressive Distributed Lag) model with monthly data collected from January 1, 2014 to December 31, 2018 for a total of 60 months. The purpose is to test whether the economic factors, namely, Interest Rate Money Supply, Volume of Government Bonds traded, Manufacturing Production Index, Inflation Rate, International Reserves, and Stock Market Index have a significant impact on Exchange Rate.The resuts from the estimation of long run equilibrium relationship indicates that for Exchange Rate THB/EUR, Interest Rate, Money Supply, Stock Market Index and International Reserves have significant impact on Exchange Rate. For THB/JPY, only Stock Market Index is found to have significant effect. Lastly, for THB/USD, the test result showed that Money Supply and Stock Market Index have significant impact on Exchange Rate. As for the estimation of short-run adjustment, it was found that the THB/EUR Exchange Rate will adjust to revert to a long-term equilibrium in the next period at the Rate of 43.4% of the shock effect.The THB/JPY will adjust to a long-term equilibrium at the Rate of 20% of the size of the shock in subsequent period. Lastly, the THB/USD will revert to a long-term equilibrium at the Rate of 20% of the effect of the shock in the following period.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ประยุกต์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564
metadata.dc.description.degree-name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: เศรษฐศาสตร์ประยุกต์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1560
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EC-AE-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JINDATIP SUPPATKUL.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.