Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1563
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารณีย์ วิวัฒนาภรณ์-
dc.contributor.authorอิสริยา สันติธรรม-
dc.date.accessioned2023-02-27T08:42:52Z-
dc.date.available2023-02-27T08:42:52Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1563-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)) มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการควบคุมตนเองของเด็กและเยาวชน ที่ไม่กลับไปกระทำผิดซํ้าในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ในช่วงเวลาที่ได้รับการปล่อยตัวจาก ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลทำให้เด็กและเยาวชนไม่กระทำผิดซํ้าในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ รวมถึงเพื่อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดซํ้าของเด็กและเยาวชนในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) เด็กและเยาวชนที่ไม่กระทำผิดซํ้าในฐานความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ภายในระยะเวลา 6 เดือน จำนวน 10 ราย และ (2) เจ้าหน้าที่ในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ จำนวน 2 ราย ตำแหน่งนักจิตวิทยา จำนวน 1 ราย โดยมีประสบการณ์การทำงานด้านเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี รวมถึง (3) ศึกษาครอบครัวของเด็กและเยาวชน จำนวน 3 ครอบครัว ที่ศาลเคยตัดสินให้เข้ารับการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยามาแล้ว 1 ครั้ง ในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ แล้วไม่กลับไปกระทำผิดซํ้าในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีก ภายในระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา จำนวนรวมทั้งสิ้น 16 ราย ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการควบคุมตนเองของเด็กและเยาวชนที่ไม่กลับไปกระทำผิดซํ้าในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ในช่วงเวลาที่ได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน คือ (1) การตระหนักถึงความรักและความห่วงใยของครอบครัว (2) การที่เด็กและเยาวชนได้รับโอกาสและการส่งเสริมสนับสนุนจากสังคม (3) การตั้งเป้าหมายในชีวิต และมุ่งมั่นตั้งใจ ทำตามเป้าหมายอย่างแน่วแน่ (4) การรู้จักที่จะอดทนรอคอยความสำเร็จ (5) การมีทักษะในการปฏิเสธ (6) การมีทักษะในการเลือกคบเพื่อน (7) การมีทักษะในการผ่อนคลายอารมณ์ (8) การหลีกเลี่ยงสภาพการณ์ หรือสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงให้กลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด (9) การนึกถึงประโยชน์และโทษในการไม่กลับไปหรือกลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (10) การหวนคิด/นึกถึงการกลับเข้าไปในสถานควบคุม (11) การกำหนดต้นแบบที่ดีเพื่อยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต และปัจจัยที่มีผลทำให้เด็กและเยาวชนไม่กระทำผิดซํ้าในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยในหลาย ๆ ด้าน ทั้งปัจจัยด้านตนเอง ปัจจัยด้านครอบครัวและบุคคลใกล้ชิด ปัจจัยด้านสังคมชุมชน ปัจจัยด้านการคบเพื่อน และปัจจัยด้านแบบอย่างที่ดี รวมถึงปัจจัยด้านการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดซํ้าของเด็กและเยาวชนในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ในส่วนระดับปฏิบัติ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ควรเน้นการเรียนรู้และเพิ่มโปรแกรมหรือกิจกรรมที่พัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชน และควรเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชนมีการวางแผนอนาคต อีกทั้งควรเน้นกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย โดยเฉพาะการให้เด็กและเยาวชนออกไปเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวภายนอกสถานควบคุม รวมถึงควรมีการอบรมให้ความรู้ส่งเสริมทักษะการเลี้ยงดูลูกวัยรุ่น การดูแลเด็กและเยาวชนภายหลังปล่อยตัวอย่างเหมาะสมให้แก่ผู้ปกครอง นอกจากนี้สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาควรมีการปลูกฝังความกตัญ􀁳ูกตเวทีให้แก่เด็กและเยาวชน และควรส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างที่เหมาะสมควบคู่ไปด้วย ในระดับนโยบาย กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ควรผลักดันให้มีการจัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และเพิ่มการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการให้โอกาสเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำผิด รวมถึงผลักดันให้มีระบบการติดตาม การส่งต่อ และเฝ้าระวังเด็กและเยาวชน ที่มีความเสี่ยงกระทำผิดซํ้าในคดียาเสพติด.โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่มีความใกล้ชิดกับเด็กและเยาวชน ตลอดจนการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกที่ดีให้กับประชาชนในการมีส่วนร่วมป้องกันปัญหาการกระทำผิดซํ้าเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็กและเยาวชนen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectเยาวชน -- การกระทำความผิดen_US
dc.subjectเด็ก -- การกระทำความผิดen_US
dc.subjectยาเสพติด -- การป้องกันและแก้ไข -- พระนครศรีอยุธยาen_US
dc.subjectคนติดยาเสพติด -- พระนครศรีอยุธยาen_US
dc.titleแนวทางการควบคุมตนเองของเด็กและเยาวชนที่ไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ กรณีศึกษา ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยาen_US
dc.title.alternativeelf-control of non-recidivistic juvenile drug offenders : a case study of Ayutthaya Juvenile Ttraining Centeren_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe objectives of this research were to study guidelines for self-control of non-recidivistic juvenile drug offenders at the time of their release from the Juvenile Training Center and to study the elements affecting non-recidivistic juvenile drug offenders, as well as to make suggestions for the prevention of non-recidivistic juvenile drug offenders. This study was conducted using qualitative research methodology including in-depth interview from a sample of three groups: (1) 10 non-recidivistic juvenile drug offenders within 6 months, (2) 2 social workers, 1 psychologist with the recidivistic juvenile offenders experience for at least three years, and (3) 3 families with the children that has been judged by the court to receive the training at the Ayutthaya Juvenile Training Center for a single time in case of drug and non-recidivistic within 6 months. Total 16 people has been studied as the sample from the Ayutthaya Juvenile Training Center. The results of the study found that guidelines for the self-control of non-recidivistic juvenile drug offenders at the time of their release from the Juvenile Training Center were as follows: (1) awareness of family love and concern, (2) the opportunity for the juveniles to be supported by the society, (3) setting life goals and concentration on the goals, (4) knowing to be patient and waiting for success, (5) having the skills to reject, (6) having the skills to choose friends, (7) having the skills to relax emotion, (8) avoidance of circumstances or situations where is a risk of relapsing into drugs, (9) recalling the benefits and dangers recidivism of drugs, (10) thinking / recalling of returning to the control place, and (11) setting a good role model in life. The elements affecting of non-recidivistic juvenile drug offenders are related with many elements, including self-determination, family and intimates, society, friendship and good role model, as well as productive use of free time. According to the guidelines for the prevention of recidivism of juvenile drug offenders at the practical level, Department of Juvenile Observation and Protection, Ministry of Justice, should emphasize on education, add program or activity for life development of the juveniles, foster future plans for the juveniles and emphasize on preparation before leaving, especially releasing the juveniles for preparation before releasing them outside the controlled place. Their parents should be provided with youth raising skills promotion, maintenance of the juveniles after the juveniles were appropriately released to the parents. In addition, the family and institute should instill gratitude in the juveniles and productive use of free time as well. At the policy level, Department of Juvenile Observation and Protection, Ministry of Justice should push forward to establish pre-release center and increase more public relations by providing opportunity to the offered juveniles as well as pushing forward the system of monitoring, referral and surveillance for the juveniles who take the risk of recidivism in drug through the participation of close networks with the juveniles, as well as raising awareness and consciousness among the public in the prevention of recidivism of juvenile drug offenders.en_US
dc.description.degree-nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineอาชญาวิทยาและ การบริหารงานยุติธรรมen_US
Appears in Collections:CJA-CJA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ISSARIYA SANTITHAM.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.