Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1566
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม | - |
dc.contributor.author | นิรันดร์ ไชยชมภู | - |
dc.date.accessioned | 2023-02-27T09:01:32Z | - |
dc.date.available | 2023-02-27T09:01:32Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1566 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)) มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่องข้อเสนอเชิงนโยบายในการกำหนดมาตรการและแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ต้องเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรมสะเทือนขวัญมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการกำหนดนิยามลักษณะของผู้ต้องขังที่ต้องเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรมสะเทือนขวัญหรือเป็นภัยต่อสังคม เพื่อศึกษาการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณาจำแนกกลุ่มผู้ต้องขังที่ต้องเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรมสะเทือนขวัญหรือเป็นภัยต่อสังคมในประเทศไทย และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการกระบวนการแนวทางปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ต้องเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรมสะเทือนขวัญหรือเป็นภัยต่อสังคม โดยการใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า นิยามลักษณะของผู้ต้องขังที่ต้องเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรมสะเทือนขวัญหรือเป็นภัยต่อสังคม หมายถึง “กลุ่มผู้ต้องขังที่มีลักษณะพฤติกรรมการกระทำผิด ที่อาชญากรกระทำด้วยความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อเหยื่อ ผู้เสียหายและสังคมจนเกิดความหวาดกลัว” โดยมีพฤติการณ์กระทำความผิดในลักษณะความผิด ได้แก่ ข่มขืนหรือล่วงละเมิด ทางเพศเด็ก ฆ่าข่มขืนหรือข่มขืนในลักษณะทารุณโหดร้าย ฆาตกรต่อเนื่อง ฆาตกรโดยสันดาน กระทำผิดซ้ำซากรุนแรง ฆาตกรโรคจิต ฆาตกรที่มีพฤติกรรมโหดร้ายทารุณ (ฆ่าเด็ก/ฆาตกรรมหมู่) ควรมีมาตรการและแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างจากผู้ต้องขังทั่วไป มาตรการและแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังภัยและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการ กระทำผิดซ้ำ ความสำเร็จของการกำหนดมาตรการและแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไข ปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของการกำหนดมาตรการและแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ได้แก่ การตรากฎหมายเฉพาะ การกำหนดแนวทางปฏิบัติที่มีความชัดเจน การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ผู้ต้องขัง -- การดำเนินชีวิต | en_US |
dc.subject | อาชญากร -- ไทย | en_US |
dc.subject | นักโทษ -- การควบคุม | en_US |
dc.subject | อาชญากรรม | en_US |
dc.title | ข้อเสนอเชิงนโยบายในการกำหนดมาตรการและแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ต้องเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรมสะเทือนขวัญ | en_US |
dc.title.alternative | Policy recommendations on the guidelines of custodial measures for “watch list” | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The purpose of this thesis is to examine how to provide a definition of the term “Watch List” and establish measures to classify the term “Watch List” in Thailand in order to recommend approaches on the development of the treatment of “Watch List”. A qualitative approach is selected as research method, through the use of documentary analysis and in-depth interview. The research findings indicate that the definition of the term “Watch List” is a group of prisoners who exhibit violent criminal behavior that can inflict harms on victims, injured persons, and society. The violent criminal behavior these prisoners exhibit include child sexual abuse and rape, rape and murder or a third-degree rape, serial killer, born criminal, repeated violent offences, mental criminal, and violent criminal (pedicide/massacre). The findings also point out that there should be measures and approaches on the specific treatments of these prisoners, which must be different from other prisoners. These measures and approaches are crucial as they can be used as criminal precautions and can prevent negative consequences that may be affected by the repeated offences. To successfully establish such measures and approaches, the executives who strongly focus on improving factors contributing to this establishment, which are an enactment of specific law, an establishment of explicit guidelines, and a cooperation between related sub-organizations in the criminal justice system, must assure full support | en_US |
dc.description.degree-name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | อาชญาวิทยาและ การบริหารงานยุติธรรม | en_US |
Appears in Collections: | CJA-CJA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NIRUN CHAICHOMPHU.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.