Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1570
Title: การศึกษาผลของยาหอมอินทจักร์ต่อระดับความดันโลหิตในอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
Other Titles: Effects of Ya-Hom In-Ta-Jak on blood pressure in high-risk patients
Authors: ดลทิพา มณีใส
metadata.dc.contributor.advisor: ประสาน ตั้งยืนยงวัฒนา
Keywords: ยาหอมอินทจักร์ -- การใช้รักษา;ยาหอม -- เภสัชฤทธิ์วิทยา;ความดันโลหิตสูง -- ผู้ป่วย -- วิจัย
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ของยาหอมอินทจักร์ต่อค่าความดันโลหิตในกลุ่มผู้ที่มีเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 มีอาสาสมัครที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 25 คน โดยทำการทดสอบให้อาสาสมัครรับประทานยาหอมอินทจักร์ชนิดผงปริมาณ 1.5 กรัมละลายน้ำต้มสุกแล้วนั่งในท่าที่ผ่อนคลาย จากนั้นทำการวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล โดยวัดค่าความดันโลหิตค่าซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure) ค่าความดันไดแอสโตลิก (Diastolic BloodPressure) และค่าเฉลี่ยความดันเลือดแดง (Mean Arterial Pressure) ณ นาทีที่ 5, 15, 30, 45, 60, 90,180, 360 และ 480 นาที และตอบแบบสอบถามอาการต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังรับประทานยาหอมอินทจักร์ จากผลการทดสอบและนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ Repeated Measure ANOVA ทดสอบสมมติฐาน 2 ทาง พบว่า ยาหอมอินทจักร์สามารถลดระดับความดันโลหิตได้ โดยลดระดับค่าความดันโลหิตซิสโทลิก (SBP) ในนาทีที่ 45 ถึงนาทีที่ 180 โดยลดลงเฉลี่ยสูงสุด 23.00±1.31 มิลลิเมตรปรอท สามรถลดระดับค่าความดันโลหิตไดแอสโทลิก (DBP) ในนาทีที่ 60 ถึงนาทีที่ 90 โดยลดลงเฉลี่ยสูงสุด 10.28±1.29 มิลลิเมตรปรอท และลดระดับค่าเฉลี่ยความดันเลือดแดง (MAP) ในนาทีที่45 ถึงนาทีที่ 180 โดยลดลงเฉลี่ยสูงสุด 14.23±1.07 มิลลิเมตรปรอท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) และเมื่อเวลาผ่านไปความดันโลหิตจะกลับขึ้นมาอยู่ในระดับเท่ากับก่อนรับประทานยาหอมอินทจักร์ และไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ ในอาสาสมัคร
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this study were to study the efficacy and safety of Ya-Hom In-Ta -Jak on blood pressure in high-risk patients. This study was in phase two of clinical research. Twentyfive volunteers were selected by inclusion criteria. All of volunteers took 1.5 gram of Ya-Hom In-Ta-Jak powder dissolved in boiled water, and they all sat in a relaxing posture. Then, all of them received blood pressure measurement by digital blood pressure monitor; the levels of Systolic Blood (SBP), Diastolic Blood Pressure (DBP) and Mean Arterial Pressure (MAP) at 5, 15, 30, 45, 60, 90, 180, 360, and 480 minutes and answered the questionnaire regarding symptoms before and after they took Ya-Hom In-Ta-Jak. The result of the study was analyzed by Two-Way Repeated Measures ANOVA statistic. According to the statistical analysis, it was found that Ya-Hom In-Ta-Jak was able to significantly decrease SBP level at the range of 45-180 minutes after the volunteers took Ya-Hom In-Ta-Jak. An average decrease of SBP level was 23.00±1.31 mmHg. Moreover, it was able to decrease DBP level at the range of 60-90 minutes with an average decrease DBP level equaling to 10.28±1.29 mmHg. For the MAP values, they decreased at the range of 45-180 minutes with an average decrease of MAP level equaling to 14.23±1.07 mmHg (p<0.05). However, when time went by, the blood pressure returned to the same level as before the volunteers took Ya-Hom In-Ta-Jak. Moreover, there was no side effect of Ya-Hom In-Ta-Jak.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การแพทย์แผนตะวันออก)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การแพทย์แผนตะวันออก
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1570
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ort-OM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
DONTIPAR MANEESAI.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.