Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1578
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุริยะใส กตะศิลา | - |
dc.contributor.author | พระศุภโชค ทองฮั้ว | - |
dc.date.accessioned | 2023-02-28T02:53:34Z | - |
dc.date.available | 2023-02-28T02:53:34Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1578 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564 | en_US |
dc.description.abstract | ธรรมาธิปไตย หมายถึงการยึดถือหลักการ หลักเหตุผล หลักความจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมเป็นประมาณในการบริหารจัดการต่างๆ คือจะทำอะไรก็ยึดถือธรรมเป็นหลัก ละเว้นการยึดถือตนและกระแสเสียงคนส่วนใหญ่ที่ไม่ถูกธรรมไม่เป็นธรรม ดุษฎีนิพนธ์เรื่องการนำหลักธรรมาธิปไตยมาปกครองคณะสงฆ์ไทยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1.เพื่อศึกษาหลักธรรมาธิปไตยในหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา 2.เพื่อวิเคราะห์การนำหลักธรรมาธิปไตยมาใช้ในการปกครองคณะสงฆ์ไทย 3.เพื่อเสนอแนวทางในการนำหลักธรรมาธิปไตยมาใช้ปกครองคณะสงฆ์ไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยมีขั้นตอน 1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนเรื่องธรรมาธิปไตยในพระพุทธศาสนา จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทั้งขั้นปฐมภูมิ (Primary Sources) เช่น พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและขั้นทุติยภูมิ (Secondary Sources) เช่น เอกสารวิจัย วิทยานิพนธ์ ตลอดจนเอกสารวิชาการอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง 2.ศึกษา วิเคราะห์ ตีความข้อมูลที่รวบรวมได้ 3.เรียบเรียงและนำเสนอผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1.หลักธรรมาธิปไตย หมายความว่า การถือธรรมเป็นใหญ่ การถือความถูกต้องเป็นหลัก มีธรรมเป็นใหญ่ หรือจะหมายความว่าการถือธรรมเป็นใหญ่เป็นหลักในการบริหารจัดการ ความหมายในที่นี้ คือแนวคิดใช้ธรรมะเป็นสาคัญไม่ว่าจะเป็นระบอบหรือตัวผู้บริหารก็จาเป็นต้องมีธรรมะนำการบริหารจัดการทั้งสิ้น 2. การนำหลักธรรมาธิปไตยมาใช้ในการปกครองคณะสงฆ์ไทยต้องยึดหลักตามพันธกิจของพระพุทธศาสนา มี 6 ด้าน 1.การเพื่อความเรียบร้อยดีงาม 2.การศาสนศึกษา 3.การศึกษาสงเคราะห์ 4.การเผยแผ่พระพุทธศาสนา 5.การสาธารณูปการ 6.การสาธารณสงเคราะห์ เพื่อให้องค์กร คณะสงฆ์สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง 3.พระสงฆ์ควรดำรงคงมั่นด้วยการปกครองตามหลักพระธรรมวินัย อันเป็นธรรมนูญสูงสุดที่สงฆ์ทุกรูปต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ควรปฏิรูประบบโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์และการบริหารจัดการให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นด้วยการแก้ไขกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของมหาเถรสมาคม ให้สอดคล้องกับสังคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน ควรให้พุทธบริษัท 4 มีส่วนร่วมตามรูปแบบการมีส่วนร่วม บ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ด้วยการให้คนในชุมชนละแวกใกล้เคียงวัดมีส่วนร่วม ด้วยการรวมตัวในรูปแบบขององค์กรหรือชมรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อปกป้องดูแลกิจการของวัด และส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ธรรมาธิปไตย | en_US |
dc.subject | สงฆ์ -- ไทย -- การปกครอง | en_US |
dc.subject | พุทธศาสนา -- ไทย -- การปกครอง | en_US |
dc.title | การนำหลักธรรมาธิปไตยมาปกครองคณะสงฆ์ไทย | en_US |
dc.title.alternative | Implementation of Dhamma democracy to govern Thai monks | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The term “Dharmacracy” refers to the implementation of principles, rationales, justice, and equity in the management or administration. A person who holds the principles of Dharmacracy by heart will not value egocentricity and injustice. This study aims to 1) investigate the concept of Dharmacracy in Buddhist teachings, 2) examine the implementation of Dharmacracy in the administration of Thai Sangha, and 3) propose the guidelines for the implementation of Dharmacracy in the administration of Thai Sangha. This study employed the documentary research method. The process included 1) collecting data related to the teachings of Dharmacracy in Buddhism from the primary sources such as the Tipitaka, the exegesis, and the Buddhist academic documents as well as the secondary sources such as research papers, theses, and other related documents, 2) analyzing the collected data, and 3) presenting the results. The results showed that the principles of Dharmacracy revolved around dhamma and justice. Such principles highlighted the use of dhamma in the management and administration. Furthermore, it was found that the implementation of Dharmacracy in the administration of Thai Sangha was based upon the Buddhist missions in six aspects including 1. the maintenance of virtue and peace, 2. the study of Buddhism, 3) the educational welfare, 4) the Buddhist propagation, 5) the public facilities, and 6) the public assistance. This would help the monks to be able to develop and adapt themselves to the changing society. In addition, the study recommended that the monks should strictly behave according to the Dhamma Vinaya which was the supreme covenant. In addition, this study also suggested a reformation of Thai Singha administrative structure in order to increase the effectiveness of the administration. Such reformation could be done through the amendment of rules and regulations designated by the Sangha Supreme Council of Thailand to match the current social conditions. Plus, the four assemblies residing near the monastery should be allowed to take part in the promotion and preservation of Buddhism | en_US |
dc.description.degree-name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง | en_US |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PHRA SUPACHOK THONGHU.pdf | 3.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.