Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1593
Title: การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Other Titles: The factors analysis of SMES corporate income tax compliance
Authors: จุฑารัตน์ ร้อยอำแพง
metadata.dc.contributor.advisor: นิ่มนวล วิเศษสรรพ์
Keywords: กฎหมายภาษีอากร;ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม;ภาษีเงินได้นิติบุคคล
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยมีขึ้นเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อปัจจัยการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคล และวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จากตัวแปรทั้งหมด 50 ตัวแปร จำแนกเป็น 5 ด้าน: ด้านกฎหมายและระบบภาษีอากร ด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีของภาครัฐ ด้านทัศนคติของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร และด้านสภาพแวดล้อมของธุรกิจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทำบัญชีจำนวน 396 คน ด้วยแบบสอบถามที่ได้ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยค่าสถิติ Cronbach’ s Alpha ได้เท่ากับ .96 ใช้ค่าเฉลี่ยในการสรุปความคิดเห็น และการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) พบว่าองค์ประกอบของปัจจัยการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้ง 5 ด้าน แบ่งเป็นองค์ประกอบย่อย 11 ด้านโดยมีค่าความแปรปรวนรวมเท่ากับ 30.12%, 19.17%, 18.24%, 26.90%, 21.06%, 12.84%, 11.63%, 63.02%, 53.32%, 27.05 และ 54.32% ตามลำดับ ซึ่งค่าความแปรปรวนรวมสูงสุดเป็นขององค์ประกอบหลักด้านทัศนคติ จึงกล่าวได้ว่าทัศนคติของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะเป็นปัจจัยการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สำคัญมากที่สุด
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this study were to examine the opinions of accountants on factors influencing corporate income tax (CIT) compliance of SMEs and to analyze the components of the factors. Five factors can be classified from 50 observed variables, namely 1) Law and taxation, 2) The public administration of tax collection, 3) Attitude towards taxation, 4) Knowledge of tax laws, and 5) Business environment. Data were collected from a total of 396 accountants using a questionnaire that was tested for its reliability by Cronbach’s Alpha with statistical value of .96, and the mean was used to support conclusions. Principal component analysis was employed to explain exploratory factor analysis, and orthogonal rotation was executed by varimax method. The results revealed that there were eleven components among five factors affecting CIT compliance of SMEs. Each component had a variance of 30.12%, 19.17%, 18.24%, 26.90%, 21.06%, 12.84%, 11.63%, 63.02%, 53.32%, 27.05% and 54.32% respectively. The factor ‘Attitude towards taxation’ has the highest variance, representing the highest important factor of compliance in CIT of SMEs.
Description: วิทยานิพนธ์ (บ.ม. (บัญชี)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564
metadata.dc.description.degree-name: บัญชีมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: บัญชี
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1593
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:ACC-Acc-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JUTARUT ROIUMPANG.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.