Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1602
Title: คุณภาพการให้บริการจัดหางานสาธารณะแก่นักศึกษาของกรมทรัพยากรมนุษย์เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
Other Titles: The quality of public employment service of the department of human resource, Nanning City, the people’s republic of China
Authors: ฮุ่ยเคียนลี่
metadata.dc.contributor.advisor: ปธาน สุวรรณมงคล
Keywords: บริการจัดหางาน -- สาธารณรัฐประชาชนจีน -- หนานหนิง;บริการสาธารณะ;การสร้างงาน
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาช่องว่างคุณภาพการให้บริการจัดหางานสาธารณะแก่ นักศึกษาของกรมทรัพยากรมนุษย์ เมืองหนานหนิง 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลต่อผลคุณภาพการให้บริการจัดหางานสาธารณะแก่นักศึกษาของกรมทรัพยากรมนุษย์ เมืองหนานหนิง ในการศึกษาได้ใช้แบบจำลอง SERVQUAL ซึ่งพัฒนาโดย Zeithaml, Parasuraman, & Berry (1988) ที่มีการนำเสนอมิติการวัดระดับคุณภาพในงานบริการออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ ความเป็นรูปธรรมของบริการ(Tangibility) การมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) การมีการตอบสนอง (Responsiveness) การให้ความเชื่อมั่น (Assurance) การรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ (Empathy) และแนวคิดการบริการสาธารณะแบบใหม่ (NPS) ระเบียบวิธีการวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีวิทยา (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม ซึ่งได้ดำเนินการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากนักศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 464 คน และข้อมูลสัมภาษณ์จากนักศึกษาจำนวน 10 คน และเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ช่องว่างคุณภาพในด้านความเป็นรูปธรรมของบริการคิดเป็น ร้อยละ 11.6 ของความคาดหวัง อยู่ในอันดับที่หนึ่ง ช่องว่างคุณภาพในด้านการมีความน่าเชื่อถือคิดเป็นร้อยละ 11.4 ของความคาดหวัง อยู่ในอันดับที่สอง ช่องว่างคุณภาพในด้านการมีการตอบสนองคิดเป็นร้อยละ 10.83 ของความคาดหวังและอยู่ในอันดับที่สาม ช่องว่างคุณภาพในด้านการให้ความเชื่อมั่นคิดเป็นร้อยละ8.64 ของความคาดหวังและอยู่ในอันดับที่สี่ ช่องว่างคุณภาพในด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการคิดเป็นร้อยละ 7.5 ของความคาดหวังและอยู่ในอันดับที่ห้า 2) ปัญหาอุปสรรคสำคัญได้แก่ บริการจัดหางานขาดความหลากหลาย เจ้าหน้าที่บริการขาดความรู้ด้านเทคนิค สิ่งอำนวยบริการจัดหางานยังขาดความทันสมัย และการมีส่วนร่วมที่จำกัดขององค์กรสังคมในการจัดบริการจัดหางาน ข้อเสนอแนะได้แก่ การใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการให้บริการจัดหางานเพิ่มขึ้น สรรหาบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีมารับผิดชอบบริการจัดหางาน ประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการอำนวยความสะดวกและสนับสนุนให้องค์กรสังคมเข้าร่วมรับผิดชอบภารกิจจัดหางานแก่นักศึกษาที่หางาน"
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this study were 1) to study the quality gap of public employment services for students of the Department of Human Resources, 2) to study important problems contributing to the quality of the public employment service for students of the Department of Human Resources. Based on the SERVQUAL model developed by Zeithaml, Parasuraman, & Berry (1988), there are five dimensions of service quality measurement comprising tangibility, reliability, responsiveness, assurance, empathy, and new public service (NPS). The study was conducted using mixed methodology of both qualitative and quantitative methods through documentary research, structured interview, and questionnaire. The data of questionnaire were collected from 464 students, while interview data were collected from 10 students and 6 staffs. The results are as follows: 1) The quality gap in tangibility was 11.65 percent of expectations and ranked first. The quality gap in reliability was 11.4 percent of expectations and ranked second. The quality gap in responsiveness was 10.83 percent of expectations and ranked third. The quality gap in assurance was 8.64 percent of expectations and ranked fourth. The quality gap in empathy was 7.5 percent of expectations and ranked fifth. 2) The main problems analyzed are as follows: the services lack diversity, the personnel lack technical knowledge, the services lack modern facilities; and participation in the services of social organizations is not enough. The suggestions of this study are as follows: to find new services with artificial intelligence and other technologies, to recruit personnel with technical knowledge, to use new media to develop facilities and to subsidize social organizations to participate in the recruitment
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1602
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
HUIQIANLI.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.