Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1609
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัฒน์ พิสิษฐเกษม-
dc.contributor.authorทัตยา ดวงจรัส-
dc.date.accessioned2023-02-28T07:29:41Z-
dc.date.available2023-02-28T07:29:41Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1609-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการโลจิสติกส์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกลยุทธ์การจัดหา (4M : Man Method Machine Money) และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการที่ปฏิบัติงานด้านจัดซื้อ จัดจ้างของกรมพลาธิการทหารบก จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ใช้แผนภูมิก้างปลา ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และ 2) ใช้การตอบแบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และทดสอบความแตกต่างโดยใช้การทดสอบค่าที (T-test) และการทดสอบความแตกต่างของความแปรปรวน (F-test) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-35 ปี ชั้นยศเป็นนายทหารประทวน จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานเกิน 15 ปีขึ้นไป โดยภาพรวมความพึงพอใจของปัจจัยกลยุทธ์การจัดหา (4M), ปัจจัยอื่นๆ และประสิทธิภาพ การดำเนินงาน อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด การทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ ชั้นยศ และประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพฯ ด้านความรวดเร็วในการดำเนินงานที่แตกต่างกัน และชั้นยศระดับการศึกษา และประสบการณ์ ที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพฯ ด้านความถูกต้องของสิ่งของที่จัดซื้อจัดจ้างที่แตกต่างกัน ปัจจัยกลยุทธ์การจัดหา (4M) และปัจจัยอื่นๆ มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพฯ ทั้งด้านความรวดเร็วในการดำเนินการ และความถูกต้องของสิ่งของที่จัดซื้อจัดจ้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เว้นปัจจัยด้าน Method ไม่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพฯด้านความถูกต้องของสิ่งของที่จัดซื้อจัดจ้างen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectกรมพลาธิการทหารบกen_US
dc.subjectการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐen_US
dc.subjectการจัดซื้อของทางราชการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษา กรมพลาธิการทหารบกen_US
dc.title.alternativeFactors affecting operational efficiency in the procurement process of government agencies: a case study of Quartermaster Department Royal Thai Armyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.description.other-abstractThe objectives of this research were to study the differences of personal factors affecting the operational efficiency in government procurement process and to study the relationship between procurement strategy factors (4M: Man, Method, Machine, and Money) as well as other factors which affect operational efficiency in the procurement process of government agencies. The sample group comprises civil servants, permanent employees and 84 government employees involving in the procurement process of the Quartermaster Department Royal Thai Army. The research instruments include: 1) using fishbone diagrams for finding the causes of problems and 2) using opinion survey responses. The data were analyzed using a ready-made software through descriptive statistics and inferential statistics consisting of percentage, mean, standard deviation, and correlation analysis, while the difference was tested using the T-test and the difference of variance test (F-test). The results showed that most of the respondents were female non-commissioned officers, aged 31-35 years, with a bachelor's degree and more than 15 years of work experience. By overall, satisfaction of the procurement strategy factors (4M), other factors and operational efficiency were at the highest level of agreement. According to hypothesis testing, the results revealed that some personal factors including different genders, class ranks, and work experience affected the different operational efficiency in the speed of operation, whereas different class ranks and educational levels affected the different operational efficiency in the accuracy of procurement. Moreover, the factor of procurement strategy (4M) and other factors had a relationship with the operational efficiency both in terms of the speed of operation and the accuracy of procurement with statistical significance at the level of 0.05, excluding method factors which did not correlate with the operational efficiency of the accuracy of procurementen_US
dc.description.degree-nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.degree-levelปริญญาโทen_US
dc.contributor.degree-disciplineการจัดการโลจิสติกส์en_US
Appears in Collections:Grad-ML-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
COLONEL THATTAYA DUANGJARAT.pdf5.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.