Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1621
Title: | รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย การสำรวจการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซิน ในพริกป่นและถั่วลิสงป่นจากเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวเรือ คลองรังสิต จังหวัดปทุมธานี |
Authors: | กัลยา บุญเพ็ญ |
Keywords: | ผู้ป่วย, การดูแล;เครื่องช่วยหายใจ -- ผู้ป่วย -- การพยาบาล;เครื่องช่วยหายใจ -- การใช้รักษา |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | อะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่เป็นสาเหตุการเกิดภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสาธารณสุข และผลกระทบต่อภาคการเกษตร ทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ คณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซิน ในพริกป่นและถั่วลิสงป่นจากเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวเรือ บริเวณคลองรังสิต จังหวัดปทุมธานี เพื่อตรวจสอบและเปรียบเทียบอัตราการตรวจพบสารพิษอะฟลาทอกซิน โดยใช้ชุดทดสอบ DOA ELISA Test Kit จากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง ผลการศึกษาครั้งที่ 1 จำนวน 32 ร้าน 61 ตัวอย่าง ในตัวอย่างพริกป่นพบปริมาณอะ ฟลาทอกซินปนเปื้อนมากกว่า 20 ppb. อยู่ร้อยละ 22.6 (7 / 31 ตัวอย่าง) ในตัวอย่างถั่วลิสงป่นพบการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินมากกว่า 20 ppb. อยู่ร้อยละ 20.0 (6 / 30 ตัวอย่าง) ผลการศึกษาครั้งที่ 2 จำนวน 31 ร้าน 59 ตัวอย่าง ในตัวอย่างพริกป่น พบปริมาณอะฟลาทอกซินปนเปื้อน มากกว่า 20 ppb. ในทุกตัวอย่างวิเคราะห์ ( 30 ใน 30 ตัวอย่าง) ในตัวอย่างถั่วลิสงป่นพบการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินมากกว่า 20 ppb. อยู่ร้อยละ 51.7 (15 ใน 29 ตัวอย่าง) ตัวอย่างพริกจำนวน 11 ตัวอย่าง และถั่วลิสง จำนวน 8 ตัวอย่าง ที่ได้จากตลาดบริเวณใกล้เคียง ในตัวอย่างพริกป่นพบการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินมากกว่า 20 ppb. ในทุกตัวอย่างวิเคราะห์ ( 11 / 11 ตัวอย่าง) ในตัวอย่างถั่วลิสง พบปริมาณ อะฟลาทอกซินปนเปื้อนมากกว่า 20 ppb. ในทุกตัวอย่างวิเคราะห์ (8 / 8 ตัวอย่าง) เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ตัวอย่างในแต่ละครั้งกับการเพิ่มขึ้นของความชื้นสัมพัทธ์ พบว่าผลของความชื้นสัมพัทธ์ที่เพิ่มขึ้นทำให้พบปริมาณอะฟลาทอกซินปนเปื้อนเพิ่มขึ้น 11.87 เท่า เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการเก็บตัวอย่างครั้งแรก (p = 0.000) โดยในแต่ละตัวอย่างพบว่า ถั่วลิสงป่น และ พริกป่นเพิ่มขึ้น (p = 0.011 และ p = 0.000 ตามลำดับ) จากผลการทดลองพบการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซินสูงเกินกว่าประกาศกระทรวงสาธารณสุข จึงจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่อาหาร ที่จะช่วยกันดำเนินการในส่วนต่างๆเพื่อป้องกัน หรือลดอันตรายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภค |
metadata.dc.description.other-abstract: | Aflatoxin is a causative agent of chronic morbidity. Which effect to agriculture system and people health. The problem not only occurs in a community but also in a national level. We survey the rate of aflatoxin contamination in ground dried chilli and peanut that use as condiments of guay-teaw rue. The sample was twice collected from the store located along Klong Rangsit in Patumthani. In the first collection (32 store; 61 sample), the percentage of ground dried chilli and peanut containing aflatoxin more than 20ppb was 22.6 (7/31) and 20.0 (6/30), respectively. In a second collection (31 store, 59 sample), ground dried chilli contaminate aflatoxin more than 20ppb was 100% (30/30) and was 51.7% (15/29) in peanut. All sample of ground dried chilli and peanut sampling from a local market (ground dried chilli 11 sample and peanut 8 sample) contain aflatoxin more than 20 ppb. The frequency of a positive sample (> 20ppb) was significantly different between the two collection (both for ground dried chilli and peanut). In overall analysis, humidity of 80% was associated with the increase rate of positive sample (> 20ppb) (compare to 44%; OR, 11.87; 95% CI, 6.04-27.95). Our result showed that the prevalence of aflatoxin levels grether than 20ppb. A recommendation levels from the ministry of public health, was too high. To protect the adverse effect and to control the levels of aflatoxin contamination all of the relavent organization shoul be cooperated. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1621 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | MeT-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanlaya.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.