Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1625
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อุษณี ทรัพย์เจริญกุล | - |
dc.date.accessioned | 2023-04-03T03:19:10Z | - |
dc.date.available | 2023-04-03T03:19:10Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1625 | - |
dc.description.abstract | ยุงลายเป็นพาหะหลักของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ซึ่งนิยมใช้สาร Temephos มากำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง จึงมีความเสี่ยงที่ยุงลายจะสร้างกลไกความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงได้ ดังนั้นจึงได้มีการติดตามความเปลี่ยนแปลงในการสร้างความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงของลูกน้ำยุงลายระยะที่ 4 ณ ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี โดยนำลูกน้ำยุงลายมาจำแนกชนิด พบว่าร้อยละ 100 ของลูกน้ำยุงลายหมู่ที่ 6 (PTN6), 10 (PTN10) และ 11 (PTN11) เป็นชนิด Aedes aegypti ส่วนหมู่ 9 (PTN9) เป็นชนิด Aedes aegypti ร้อยละ 33.33 เป็น Aedes albopictus ร้อยละ 6.6 และเป็น Culex tritaeniorhynchus ร้อยละ 60 การทดสอบหาความไวต่อ Temephos พบว่ายุงในพื้นที่เมื่อทำการทดสอบแล้วมีอัตราการตายเพียงเล็กน้อย (3%) ซึ่งบ่งบอกว่าลูกน้ำยุงลายมีการสร้างความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามลูกน้ำยุงลายที่ได้จากกระทรวงสาธารณสุขเองก็พบว่ามีอัตราการตายน้อยเช่นกัน (7%) และจากการทดสอบหาการเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่งการออกฤทธิ์ของสารเคมีกำจัดแมลงชนิด Acetylcholinesterase (AChE) พบว่าลูกน้ำยุงลายในหมู่ที่ PTN6, PTN9, PTN10 และ PTN 11 มีค่า median ของ % inhibition ของ AChE ที่ถูกยับยั้งด้วย propoxur เท่ากับ 12.79, 12.88, 16.67 และ 48.58 ตามลำดับ ซึ่งเปรียบเทียบกับลูกน้ำยุงลายจากกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ค่า เท่ากับ 51.61 แล้วมีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.000) สามารถสรุปได้ว่าลูกน้ำยุงลายจากในพื้นที่ อ.ลาดหลุมแก้ว นั้นอาศัยกลไก AChE เป็นกลไกหลังในการต้านทานต่อ Temephos โดยไม่ได้อาศัยกลไกของเอนไซม์ α-esterase และ β-esterase อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเกี่ยวกับค่าความเข้มข้นของสาร Temephos ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และกลไกอื่นๆ ที่ลูกน้ำยุงลายใช้ในการต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงเพิ่มเติม | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | สารเคมี | en_US |
dc.subject | สารเคมีกำจัดแมลง | en_US |
dc.subject | ยุงลาย -- การควบคุม -- วิจัย -- ไทย -- ปทุมธานี | en_US |
dc.title | รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการศึกษาความต้านทานและกลไกความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงชนิด Temephos ในลูกน้ำยุงลาย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี | en_US |
dc.type | Other | en_US |
dc.description.other-abstract | Aedes spp. is a major cause of dengue hemorrhagic fever in Thailand. Now a day, temephos is the insecticide that continuously used to eliminate larvae of Aedes mosquitoes. Therefore, the changes in the insecticides resistance of the 4th star larva of Ae. aegypti at Koobangluang, Lat Lum Kaeo district in Pathum Thani Province have been studied. The species identification of larva mosquitoes from field found that was 100% Ae. aegypti in Moo 6 (PTN6), 10 (PTN10) and 11(PTN11). The Moo 9 (PTN9) was Ae. aegypti 33.33%, Ae. albopictus 6.6% and Culex tritaeniorhynchus 60%. Bioassay test found the Ae. aegypti larvae in this area showed slightly a mortality rate (3%) to Temephos insecticide, which indicates that this larvae is very resistant to insecticide. However a susceptible strain mosquito larva from the Ministry of Health has been also showed low the mortality rate (7%) as well. Determination of target site resistance, Acetylcholinesterase (AChE), of the mosquito larvae from PTN6, PTN9, PTN10 and PTN 11 is found the median values of percent inhibition of AChE by propoxur were 12.79, 12.88, 16.67 and 48.58, respectively. When compared to Ae. aegypti larvae from the Ministry of Public Health has a 51.61% inhibition, which showed a statistically significant difference (p < 0.000). This study concludes that AChE played a major role in Ae. aegypti larvae resistance mechanism to Temephos, while α-esterase and β-esterase were not involved. However, there should be a study of the suitable concentration of Temephos for use in eliminate of mosquito larvae and the other mechanism of insecticide resistance in larvae | en_US |
Appears in Collections: | MeT-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Utsanee Supcharoengoon.pdf | 6.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.