Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1632
Title: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการแยกเงินจากนํ้าเสียห้องล้างอัดภาพ โดยวิธีซีเมนเทชั่น |
Other Titles: | Removal of silver from photographic wastewater by cementation |
Authors: | อาภา หวังเกียรติ |
Keywords: | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การแยกเงิน -- วิจัย;น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิจัย;น้ำเสีย -- การวิเคราะห์ -- วิจัย;วิศวกรรมเคมี -- วิจัย;วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม -- วิจัย |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาการแยกเงินออกจากน้ำเสียห้องล้างอัดภาพโดยกระบวนการซีเมนเทชั่นในครั้งนี้ เป็นการศึกษาหาปัจจัยที่เหมาะสมจำนวน 4 ปัจจัย ในการแยกเงินออกจากกับสารละลายมาตรฐานเงินไนเตรท ได้แก่ ความเร็วรอบในการกวน 90 รอบ/นาที 120 รอบ/นาที และ 150 รอบ/นาที สภาพความเป็นกรด-ด่าง 2, 3, 3.5 และ 4 ปริมาณของผงสังกะสีและผงเหล็ก 2 กรัม 4 กรัม และ 6 กรัม และความเข้มข้นเริ่มต้นของเงินในสารละลายที่ความเข้มข้นประมาณ 10-60 มก./ล. ผลการศึกษาพบว่าการใช้สภาพความเป็นกรด-ด่าง 3 ความเร็วรอบในการกวน 120 รอบ/นาที และผงสังกะสี 6 กรัม สามารถที่แยกเงินออกจากสารละลายมาตรฐานได้ 91-99% ในขณะที่การใช้สภาพความเป็นกรด-ด่าง 2 ความเร็วรอบในการกวน 150 รอบ/นาที และผงเหล็ก 6 กรัม สามารถที่แยกเงินออกจากสารละลายมาตรฐานได้ 91-94% หลังจากนั้นจึ้งนำสภาวะที่เหมาะสมดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาประสิทธิภาพในการแยกเงินจากน้ำทิ้งจากการล้างฟิล์มสีและขาวดำ สำหรับการทดลองในน้ำยาฟิล์มล้างสี การใช้ผงสังกะสีและผงเหล็กจะให้ประสิทธิภาพในการแยกเงิน 45%-55% และ 25-53% .ในขณะที่การใช้ผงสังกะสีสามารถแยกเงินจากน้ำยาล้างฟิล์มขาวดำได้ 12. -74% และ การใช้ผงเหล็กสามารถแยกเงินได้ 13 %-74% ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพในการแยกเงินจากน้ำยาล้างฟิล์มสีและขาวดำจะต่ำกว่าการศึกษาในสารละลายมาตรฐาน เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่เหมาะสมในการแยกเงินเป็นหลัก จึงควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของกระบวนการซีเมนเทชั่นของเงิน รวมทั้งการศึกษาจริงในระดับโรงงานและโรงงานนำร่อง |
metadata.dc.description.other-abstract: | The cementation of silver synthesis wastewater was conducted by using zinc and iron powder to be an inducement. The 4 variation of removal conditions was applied. The pH values of solution as 2, 3, 3.5 and 4; quantity of zinc/iron powder at 2,4, and 6 g.; initial silver concentration at 10, 20, 50, and 60 mg/l; and agitation speed at 90, 120, and 150 rpm. Results of study shown that zinc and iron powders could effectively remove silver ion from synthesis wastewater prepared by silver nitrate. While under fixed condition of pH 3, 120 rpm agitation speed and 6 g. of zinc powder, the efficient cementation on zinc was in rang of 91-99%. In the other hand percent of silver removal by cementation on iron powder was in rang of 91-94. When applying selected optimal conditions acquired from previous with actual color photographic wastewater, the removal efficiently of silver was lower and only in rang of 45-55% and 25-53% for zinc and iron cementation respectively. The result of cementation in black and white photographic wastewater was also lower and in range of 12-74% for cementation on zinc and 13-70% for cementation on iron. Even though this results indicated lower removal efficiency of silver. It should be noted that this study is only basic research for feasibility study of silver removal by zinc and iron powder. There are other parameters, which might have effects and should be investigated in the further pilot or actual plant scales. |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1632 |
metadata.dc.type: | Other |
Appears in Collections: | Eng-Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arpha Wangkiat.pdf | 22.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.