Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1636
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอาภาลักษณ์ พรรคสายชล-
dc.date.accessioned2023-04-03T08:42:07Z-
dc.date.available2023-04-03T08:42:07Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.urihttps://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1636-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและหาประสิทธิภาพของบทเรียนวิชาชีวกลศาสตร์ 1 เรื่อง การทดสอบกำลังกล้ามเนื้อและการวัดช่วงการเคลื่อนไหวสำหรับเสริมการเรียนที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง “การตรวจกำลังกล้ามเนื้อและการวัดช่วงการเคลื่อนไหว” 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และ 3) แบบวัดเจตคติและความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การดำเนินการวิจัยประกอบไปด้วย 1) การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบ่งเป็น การทดลองขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง การทดลองขั้นกลุ่มเล็ก และการทดลองขั้นกลุ่มใหญ่ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 1 จำนวน 19 คน 2) การหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม คือ กลุ่มทดลอง ศึกษาจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และกลุ่มควบคุมศึกษาจากเอกสารประกอบการเรียน และ 3) ศึกษาเจตคติและความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากนักศึกษากายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ t-test แบบอิสระ ผลปรากฏว่า จากการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 85.33/87.67 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) 3) เจตคติและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตen_US
dc.subjectคอมพิวเตอร์ช่วยการสอน -- วิจัยen_US
dc.subjectกายภาพบำบัด -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน -- วิจัยen_US
dc.titleการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเสริมการเรียนวิชาชีวกลศาสตร์ 1 เรื่อง การทดสอบกำลังกล้ามเนื้อและการวัดช่วงการเคลื่อนไหว ของนักศึกษากายภาพบำบัดชั้นปีที่ 1en_US
dc.title.alternativeThe development of computer assisted instruction to support studying on Biomechnics 1 in manaul muscle testing and range of motion for the first year physical therapy studentsen_US
dc.typeOtheren_US
dc.description.other-abstractThe purposes of this study were 1) to evaluate the efficiency of Computer Assisted Instruction (CAI) to support studying on Biomechanics 1 Manual Muscle Testing and Range of Motion (MMT and ROM) 2) to compare the learning achievement between physical therapy students who study with CAI and physical Therapy students who study with document and 3) to survey the student attitude toward the CAI. The instruments used for gathering data were 1) CAI and document on “MMT and ROM” developed by researcher 2) an achievement test was focused on Biomechanics MMT and ROM was used pretest and posttest and 3) a questionnaire was used for surveying the subjects’ attitude on the effectiveness of CAI. A three-step experimentation process of trying out composed of 1) A one by one try out 2) A small group try out 3) A large group try out, was conducted to evaluate the efficiency of CAI The analysis of the t-test was used to analyze the data in order to measure the subjects’ learning achievement scores with 30 first-year physical Therapy students faculty of Physical Therapy of the Rangsit University. By using sample random sampling, the subjects were selected by ability group and decided into two groups; one was the experimental group using CAI. The other group was the controlled group using document. The mean and standard deviation of the questionnaire scores were used to survey the students’ attitude toward the CAI with thirty second-year physical Therapy students. The results revealed that 1) the efficiency of learning at 85.33 / 87.67 was higher than the 80 / 80 standard level. 2) the achievement scores of the physical Therapy students after using CAI were significant higher at 0.05 level and 3) The student’s attitudes toward the CAI were highly positive.en_US
Appears in Collections:Phy-Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arpalak Paksaichol.pdf8.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.