Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1650
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปรีชาญาณ วงศ์อรุณ, ฉัตรวรัญ องคสิงห์ | - |
dc.contributor.author | ชัชวาล เสนะวงศ์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-01T07:53:35Z | - |
dc.date.available | 2023-06-01T07:53:35Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1650 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและภาวะผู้นำของฝ่ายบริหารการบินไทย ในการตอบสนองและบริหารจัดการภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2544-2554 คือ (1) ภาวะ วิกฤติการก่อการร้าย “9/11” (2) ภาวะวิกฤติโรคซาร์ส (3) ภาวะวิกฤติคลื่นยักษ์สึนามิ (4) ภาวะ วิกฤติราคาน้ำมัน (5) ภาวะวิกฤติปิดสนามบิน และ (6) ภาวะวิกฤติมหาอุทกภัย โดยศึกษา บทบาทและภาวะผู้นำของฝ่ายบริหารการบินไทยเกี่ยวกับกำหนดมาตรการเฉพาะหน้าและนโยบาย การนำ นโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย เพื่อให้การบินไทยผ่านพ้นใน แต่ละวิกฤติไปให้ได้ และศึกษาผลลัพธ์จากการบริหารจัดการในแต่ละภาวะวิกฤติ มีความสัมฤทธิ์ผล หรือล้มเหลวในการบริหารจัดการอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบทบาทและภาวะผู้นำของ ฝ่ายบริหารในอนาคต การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณ ภาพ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกฝ่ายบริหารรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริหารจัดการภาวะวิกฤติเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ผลการศึกษาพบว่า 1. ฝ่ายบริหารการบินไทยแสดงบทบาทและภาวะผู้นำทันทีเมื่อรับรู้ถึงภาวะวิกฤติแต่ละ วิกฤติ โดยการยกเลิกหรือปรับลดเที่ยวบินเพื่อหยุดยั้งความเสียหายเป็นลำดับแรก หลังจากนั้น กำหนดนโยบายต่อเนื่องด้านการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้เพื่อจำกัดขอบเขตผลกระทบของภาวะ วิกฤติมิให้ขยายวงกว้างในเชิงลบ และหลังจากภาวะวิกฤติสิ้นสุดลงได้พยายามเร่งฟื้นฟูองค์การ โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การและแผนกลยุทธ์ให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยควบคู่ไปด้วย 2. ภายหลังแต่ละภาวะวิกฤติผ่านพ้นไป ฝ่ายบริหารการบินไทยได้ประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการบริหารจัดการภาวะวิกฤติแต่ละครั้ง แต่มิได้นำมาเป็นบทเรียนในการฟื้นฟู การบินไทยและเตรียมการบริหารจัดการภาวะวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องการ ควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและการปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ให้มี ประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 3. การศึกษาบทบาทและภาวะผู้นำของฝ่ายบริหารการบินไทยในการเผชิญแต่ละภาวะ วิกฤติ ผลการศึกษาพบว่า ฝ่ายบริหารแสดงบทบาทการบริหารแบบ “มุ่งเน้นงาน” หรือ “มุ่งกิจ สัมฤทธิ์” โดยให้น้ำหนักมากกว่าแนวทางการบริหารแบบ “มุ่งเน้นคน” จากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบการบริหารจัดการภาวะวิกฤติ ทั้ง 6 วิกฤติ พบว่า การบินไทย มุ่งเน้นความสัมฤทธิ์ผลทางการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ 1. การควบคุมรายจ่าย 2. การเพิ่มรายได้ 3. การเพิ่มประสิทธิภาพงานโดยปรับปรุงโครงสร้างองค์การและแผนกลยุทธ์ 4. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านสร้างขวัญกำลังใจพนักงาน เนื่องจากการบินไทยเป็นองค์การขนาดใหญ่ระดับนานาชาติและเป็นบริษัทมหาชนใน ตลาดหลักทรัพย์ ได้ชื่อว่าเป็น “สายการบินแห่งชาติ” เสมือนหนึ่งประชาชนชาวไทยเป็นเจ้าของ การบินไทย การบริหารจัดการภาวะวิกฤติที่ผ่านมาโดยเปรียบเทียบแล้ว ฝ่ายบริหารการบินไทย บริหารจัดการภาวะวิกฤติโรคซาร์สได้ประสิทธิผลสูงสุดในภาพรวม ด้วยการสนับสนุนนโยบายของ รัฐด้านการป้องกันมิให้เชื้อโรคซาร์ส ระบาดเข้าสู่ประเทศไทย ในขณะที่การบริหารจัดการภาวะ วิกฤติราคาน้ำมันและภาวะวิกฤติปิดสนามบิน ปรากฏว่าฝ่ายบริหารการบินไทยได้พยายามอย่าง เต็มที่ในการบรรเทาความเสียหายและลดผลกระทบในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของ การบริหารจัดการภาวะวิกฤติทั้งสองครั้งนี้ ไม่สามารถหยุดยั้งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผล ประกอบการของปี พ.ศ. 2551 ทำให้การบินไทยขาดทุนก่อนหักภาษีเงินได้ 23,600 ล้านบาท | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) -- ภาวะผู้นำ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | ผู้นำ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำ -- วิจัย | en_US |
dc.title | บทบาทผู้นำในการบริหารจัดการภาวะวิกฤติ : ศึกษากรณี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (พ.ศ.2544-2554) | en_US |
dc.title.alternative | Leadership role in crisis management : a case study of Thai Airways international public company Ltd. (2001-2011) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The study aimed investigate the leadership role of Thai Airways International executives in handling and managing the company’s crises during 2001-2011: 1) 9/11 crisis, 2) SARS crisis, 3) Tsunami crisis, 4) Oil price crisis, 5) Airport closure crisis, and 6) Great flood crisis. The focus was placed on the leadership roles of the executives in terms of determination of immediate measures and policies, their implementation and evaluation upon overcoming the hard time. The administrative outcomes of each crisis were also investigated to reflect whether the management led to success or failure. The implication of the current study was to establish guidelines of how executives’ leadership roles should be developed in the future. This qualitative study relied on data from document analyzing, participant observation, and in-depth interview. So as to make the data collection complete, the informants included not only executives but experts in the field crisis management. The results showed that 1. Thai Airways International executives immediately responded to each crisis, which resulted in cutting down the number of flights to restrict the damages as the first priority. After that, the policies regarding cost reduction and income augmentation were continually determined to keep the crisis in control. And after the crisis, the rehabilitation plan included reorganization and modification of strategic plans. This was done along with the boost of tourism industry to make the administration more streamlined and effective. 2. After each crisis, the executive team assessed the effectiveness and efficiency of how the problem was resolved. However, the assessment outcomes were not used in rehabilitation of the company and preparation for future crises, especially in maximizing cost control and adjusting marketing tactics to generate more income. 3. When the leadership roles of the executives were studied in details, it was found that during each crisis the management was more task-oriented or achievementoriented, rather than personnel-oriented. The comparative study was done among the management of 6 crises and it was found that Thai Airways International prioritized its achievement in 4 aspects: 1. cost controlling 2. income maximizing 3. working efficiency maximizing through modification of its organizational structure and strategic plans 4. human resource management in light of morale support boosting among staff Thai Airways International is now a large international organization and a public company in stock market. To most Thai people, “the national airlines” seems like their asset. Comparatively considering its overall management during the past crises, the SARS crisis resolution ranked the highest in terms of effectiveness through the antidisease governmental support policies. On the other hand, the oil price crisis and airport closure crisis resolutions, in spite of all efforts to minimize damages and impacts on a wide scale, brought about a dramatic pre-tax loss valued 23,600 million baht in 2008 which has been considered as a big impact to the operation of the company. | en_US |
dc.description.degree-name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง | en_US |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
CHATCHAWAN SENAWONG.pdf | 4.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.