Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1653
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รัตพงษ์ สอนสุขภาพ, ฉัตรวรัญ องคสิงห์ | - |
dc.contributor.author | พิกุล เสียงประเสริฐ | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-01T08:09:30Z | - |
dc.date.available | 2023-06-01T08:09:30Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1653 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น2) เพื่อสร้างรูปแบบ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ในการวิเคราะห์และเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตามแนวคิดของ John W. Creswell (1998: 15) เพื่อหาความเข้าใจบนพื้นฐานของระเบียบวิธีอันมีลักษณะเฉพาะ ที่มุ่งการค้นหาประเด็น ปัญหาทางสังคม หรือปัญหาของมนุษย์ ในกระบวนการนี้นักวิจัยสร้างภาพหรือข้อมูลที่ทับซ้อน เป็นองค์รวมหรือวิเคราะห์ข้อความ รายงานทัศนะของผู้ให้ข้อมูลอย่างละเอียดและดำเนินการศึกษาในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งในระดับสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 11 ราย ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล) จำนวน 30 ราย อาสาสมัครสาธารณสุข (อ.ส.ม.) ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย (Stake Holder)จำนวน10 รายโดยทำการสนทนากลุ่ม รวมทั้งสิ้น 51ราย และการสัมภาษณ์เชิงลึก อีก 15ราย ประกอบด้วย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลชุมชน(3 ราย)ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาล(8ราย)และประธานอาสาสมัครสาธารณสุข(2ราย) จังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาครัฐ พบว่า ผู้ผลิตยังขาดคุณธรรมมุ่งเน้นการขายโดยการใช้สื่อโฆษณาช่วย ผู้บริโภคขาดความรู้ความเข้าในผลิตภัณฑ์ ที่จะบริโภค เชื่อคล้อยตามคำโฆษณาภาครัฐ และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังคงประสบปัญหา ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและขาดกลไกในการทำงาน ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ขาดการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ การอบรม และพัฒนาบุคลากรไม่ตอบสนององค์การ ขาดระบบการนำข้อมูลจากการประเมินผลไปใช้แก้ไขงานต่างๆ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน จึงเกิดวงจรที่ผู้บริโภคร้องเรียนให้รัฐ ดำเนินการกับ ผู้ผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ เสมอมา 2) ดังนั้นการสร้าง รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ จึงต้องครอบคลุมถึง ผู้ผลิต ผู้บริโภค รัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาทุกภาคส่วนต้องเกิดขึ้น รูปแบบการทำงานต้องเป็นแบบสองทิศทาง คือ จากส่วนกลางลงไปท้องถิ่น และจากท้องถิ่นก็สามารถขึ้นมาส่วนกลางได้ เป็นแบบ Two-ways communication จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงานสูงสุด และนำไปใช้ในองค์กรปกครองส่วนถิ่น 3) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่า การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำเป็นต้องมีการประสานงานซึ่งกันและกันทุกภาคส่วน และแต่ละส่วนต้องพัฒนาองค์กรของตนเอง รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ควรต้องมีการปฏิบัติงาน ในรูปแบบ ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้ คือ P คือ Participation การมีส่วนร่วม Professional ความเชี่ยวชาญ I คือ Innovative Thinking , Innovative Organization เป็นองค์กรนวัตกรรม K คือ KM การจัดการความรู้ / KPI ตัวชี้วัดความสำเร็จ U คือUnique อัตลักษณ์ ของจังหวัด / Unity ความเป็นหนึ่งเดียว L คือ Learning Organization เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- ปทุมธานี -- วิจัย | en_US |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์สุขภาพ -- ไทย -- ปทุมธานี -- วิจัย | en_US |
dc.title | รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี | en_US |
dc.title.alternative | A model of health consumer protection at local administrative level : the case of health products in Pathumthani Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The aims of this research were 1) to study the relationship between producers, consumers, government sector and local administration and 2) to create the model of health consumer protection at local administrative level the case of health products using the qualitative method under concept of John w. Creswell (1988:15) to analyze and collect data from population and subjects, text analysis, attitude report of respondents. A study conducted in a natural situation and the main respondents were health consumer protection responsible team. The subjects consisted of 51 group conversation: 11 respondents of community hospitals in provincial health level, 30 respondents in local administration (city municipality, Town municipality and Sub district municipality) and 10 public health volunteers (P.H.V) which are the delegate of stake holder population. And 15 in-depth interviewees who are Provincial health doctors in Patumthani, Head of consumer protection and health pharmacy group, Head of Pharmacy Division in District Hospitals(3), Director of Division of Public Health and Environment in municipality(8), President of Public Health Volunteer in Patumthani Province(2) The results showed that: 1) The relationship between Producers, consumers. Producers lacked of integrity and using advertising media to persuaded consumers. Consumers lacked of products knowledge and Government sector, local administration and responsible local administrators still confronted the problems in consumer protection and lacked of systematic work procedure which made inefficient performance, lacked of human resource planning and training, unresponsive personnel development in organization, lacked of informative evaluation system, lacked of motivation. So there was consumer protection circuit. Consumers complaint. Government sector check for proceeding the under standard products. 2) The health products in consumer protection at local administration have to create a model of health products in consumer protection to cover the producers, consumers, government sector, local administration and provincial public health. Therefore, the need to develop organizational model involves in all sectors including product in consumer protection work model which will be Two-Ways Communication, from the central to the local and from the local to the central. 3) The research recommendation, researcher has commented that working in heath consumer protection has to manage and coordinate with all sectors and each sector has to develop their own organization. A model of health consumer protection in health products have to operate in the model consisting of the following factors: P is Participation / Professional . I is Innovative Thinking, Innovative Organization . K is KM (Knowledge Management) / KPI (Key Performance Indicator). U is Unique / Unity . L is Learning Organization . | en_US |
dc.description.degree-name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง | en_US |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PIKUL SIANGPRASERT.pdf | 6.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.