Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1706
Title: | การใช้ภาพบุคคลแนวสีเอกรงค์ เพื่อการสื่อความหมายของงานโฆษณาในนิตยสาร |
Other Titles: | The uses of monochrome potrait image for signification in magazine's advertisment |
Authors: | ปรัชญ์ วีสเพ็ญ |
metadata.dc.contributor.advisor: | กฤษณ์ ทองเลิศ |
Keywords: | โฆษณาทางวารสาร -- วิจัย;สีเอกรงค์ -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงคุณลักษณะของสินค้าและวิธีการสื่อความหมายผ่านภาษาภาพเชิงเทคนิคของงานโฆษณาที่ใช้ภาพบุคคลแนวสีเอกรงค์ในนิตยสาร และเพื่อให้เข้าใจถึงแก่นจินตนาการของผู้รับสาร คือ นักศึกษาระดับอุดมศึกษา และคนในวัยทำงานที่มีต่องานโฆษณา โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาพ The Good Eye เพื่อศึกษาพิจารณามิติที่เกี่ยวกับภาพ ให้เข้าใจความหมาย โดยใช้แนวคิดเชิงสัญญะวิทยา เพื่อการวิเคราะห์ความหมาย ทั้งความหมายโดยตรงและความหมายโดยแฝง และกระบวนการในการสร้างความหมาย โดยมีแนวคิดเรื่องภาษาภาพเชิงเทคนิค จิตวิทยาของสี แนวคิดเรื่องการถ่ายภาพบุคคล และแนวคิดวิเคราะห์แก่นจินตนาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ภาพ ภาพบุคคลแนวสีเอกรงค์ของงานโฆษณา ในนิตยสาร จำนวน 10 ชิ้นงาน คัดเลือกจากหน้าโฆษณาของนิตยสารที่มีภาพบุคคลแนวสีเอกรงค์อย่างเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นิตยสาร Harper’s Bazaar ในช่วงปี พ.ศ. 2553-2555 ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาของงานภาพบุคคลแนวสีเอกรงค์มีคุณลักษณะของสินค้าที่ปรากฏ ดังนี้ (ก) คุณลักษณะของการเว้าวอนทางเพศ (ข) คุณลักษณะของความหรูหรา(ค) คุณลักษณะของความมั่นคง (ง) คุณลักษณะของความสัมพันธ์ในครอบครัว ในส่วนของวิธีการสื่อความหมายตามแนวทางการวิเคราะห์ภาพ The Good Eye ใช้แนวคิดเรื่องภาพภาษาภาพเชิงเทคนิคและกระบวนการในการสร้างความหมายประกอบด้วย (1) การใช้องค์ประกอบภาพ มุมกล้องและการจัดวาง (2) ความหมายแฝงจากสี (3) ความหมายจากแสง การจัดแสง (4) อารมณ์ภาพ ในส่วนของแก่นจินตนาการของกลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่า แก่นจินตนาการมี 4 ประเภทได้แก่ จินตนาการเกี่ยวกับ (1) คุณลักษณะของสีขาว-ดำ (2) คุณลักษณะของการเว้าวอนทางเพศ (3) คุณลักษณะของภาพลักษณ์ (4) คุณลักษณะของความสัมพันธ์ในครอบครัว |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research aims to study the characteristics of products, the significations through technical visual language of magazine’s advertisement by using Monochrome Portrait Images, and the fantasy themes toward the advertisement of the message receivers which were university students and working-age people. The Good Eye was used in order to analyze the visual dimensions whereas Semiology was based on to analyze images’ denotative and connotative meanings and meaning construction process. There were three conceptual frameworks the analysis was relied on; psychology of colors for technical visual language, fantasy theme and portrait image. The researcher selected ten pages of advertisement specifically from Harper’s Bazaar Magazine during 2010-2012. The findings found that the characteristics of products based on the Monochrome Portrait Images analysis included (1) sex appeal, (2) luxury, (3) stability and (4) family relationship. In addition to the analysis based on The Good Eye, Image and representation and meaning construction process, the significations were seen as consisting of (1) composition, camera angles and layouts, (2) colors’ connotative meanings, (3) lights’ connotative meanings and lighting design, and (4) moods. In accordance with the target group’s fantasy themes, it was found that there were four themes related to characteristics of (1) black and white, (2) sex appeal, (3) image, and (4) family relationship. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1706 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CA-CA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PRAT WEESAPHEN.pdf | 3.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.