Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1719
Title: | การศึกษาสภาพความพร้อมของครูผู้สอนและผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อรองรับการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1 |
Other Titles: | The study of teachers and parents'readiness for supporting tablet use in grade 1 classroom of Chanthaburi primary educational service area office 1 |
Authors: | มีนนภา รักษ์หิรัญ |
metadata.dc.contributor.advisor: | สานนท์ ฉิมมณี |
Keywords: | แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ -- ความพอใจของผู้บริโภค -- จันทบุรี -- วิจัย;แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพร้อมใช้งานแท็บเล็ตของครูผู้สอน และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ ความรู้และความสามารถ ในการใช้แท็บเล็ต ความคิดเห็นในการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ กิ๊บเล็ต และสภาพความพร้อมในการ จัดการแท็บเล็ตกับนักเรียน 2) เปรียบเทียบสภาพความพร้อมของครูผู้สอนตามลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ 3) เปรียบเทียบสภาพความพร้อมของผู้ปกครองตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ 4) สร้างกรอบแนวคิดเพื่อให้มีความพร้อมใช้งานแท็บเล็ตมากขึ้นและแนวทางการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการใช้แท็บเล็ตสําหรับครูผู้สอนและผู้ปกครอง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจกับกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอนทั้งหมด 110 คน และผู้ปกครองจํานวน 341 คนในปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ใน วิจัยคือ แบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ 1 คําถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ t-Test ANOVA และการทดสอบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมในภาพรวมของครูผู้สอนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของครูผู้สอนตามปัจจัยด้านเพศ ซึ่งครูผู้สอนเพศชายมีความพร้อมมากกว่าเพศหญิง อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในภาพรวมของปัจจัยด้านวุฒิการศึกษาของครูผู้สอนและปัจจัยด้านอาชีพของผู้ปกครอง แต่พบความแตกต่างรายคู่ของสภาพความพร้อมในการช่วยแนะนําบุตรหลานของผู้ปกครองตามปัจจัยด้านเพศและอายุ |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this study are 1) to investigate the readiness of using tablet in grade 1 classrooms for supporting tablet education of teachers and parents in three aspects: skills and abilities of using tablets, opinions on students' learning with tablets and readiness of management for supporting students' education. 2) to compare teachers' readiness with their demographics. 3) to compare parents' readiness. 4) to design a framework and guidelines tranining for improving teachers and parents' readiness on tablet use. The participants are 110 teachers and 341 parents of grade 1 students in year 2012 of Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 1. The questionnaires consisted of five parts by using the check lists, the basis of five-point Likert scale and an open-ended question. The t-Test, ANOVA and post hoc comparison tests were used in analyzing the data. This study indicates that readiness of teachers and parents are at moderate and high levels, respectively. Overall, there is a significant difference between genders for teachers' readiness. Male teachers are found to have higher performances than female. However, there is no significant difference among education level for teachers' readiness as well as occupation for parents' readiness. From the post hoc comparsion, it found that parents' readiness of tablet suggestion is significant difference between genders and ages. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1719 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | ICT-ITM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
MEENNAPA RUKHIRAN.pdf | 78.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.