Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1723
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สิตานนท์ เจษฏาพิพัฒน์, บังอร พลเดชา | - |
dc.contributor.author | เจตสุภา ตันติพิษณุ | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-22T09:09:26Z | - |
dc.date.available | 2023-06-22T09:09:26Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1723 | - |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | รัฐบาลไทยได้จัดตั้ง “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” เป็นองค์การของรัฐ ภายใต้การกํากับดูแลของกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นกลไกกองทุนหมุนเวียนในการสนับสนุนการศึกษาให้แก่ผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 จนถึงปัจจุบัน มียอดงบประมาณสะสมกว่า 4 แสน ล้านบาท ปล่อยกู้ให้นักเรียน นักศึกษากว่า 4 ล้านคน แต่งบประมาณจากรัฐบาลเริ่มลดงบประมาณ ลงเป็นลําดับตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 และมียอดค้างชําระหนี้สูง การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาหารูปแบบทางเลือกของการระดมทุนเพิ่มเติมแก่กองทุนฯ (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการกองทุนฯในรูปแบบปัจจุบัน และ (3) เพื่อศึกษาและค้นหาแนวทางในการเพิ่มสมรรถนะการชําระคืน เงินกู้ให้กับกองทุนฯ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพอิงประวัติศาสตร์ โดยการศึกษาได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศแหล่งทุติยภูมิจากเอกสาร และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิโดย การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง กับกองทุนจํานวน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้มีตําแหน่งทางการเมือง (2) กลุ่มนักคิด นักวิชาการ ผู้รู้ทางด้านการศึกษา ราชบัณฑิต และบุคคลดีเด่นแห่งชาติ และ (3) กลุ่ม ผู้บริหารระดับสูงของกองห ผู้บริหารระดับสูงของกองทุน รวมทั้งสิ้น 17 คน ผลการศึกษา พบว่า กองทุนฯถูกกําหนดให้เป็นองค์การของรัฐ ได้รับเงินงบประมาณเป็น หลัก ดังนั้น ระเบียบราชการจึงจํากัดแหล่งที่มาของทรัพยากรทางการเงิน นโยบายทางการเมือง นโยบายของรัฐบาล นโยบายคณะกรรมการกองทุนฯ และผู้นําของกองทุน ถือเป็นปัจจัยหลักที่มี ผลกระทบต่อการบริหารจัดการกองทุนฯที่สําคัญที่สุด ปัญหาการชําระหนี้เกิดจากหลากหลายเหตุปัจจัยที่ต้องมีการทบทวนระเบียบและการบริหารงานเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการชําระหนี้ (willingness to pay) และเพื่อให้สะท้อนความสามารถจ่าย (ability to pay) ของผู้กู้ การบริหารจัดการกองทุนต้องพิจารณาอย่างองค์รวม ปรับเปลี่ยนให้องค์การมีความยืดหยุ่น มีชีวิตที่ยืดหยุ่นเพื่อความอยู่รอด มีการเรียนรู้ การศึกษาได้ทางเลือกเพื่อปรับปรุงการดําเนินงานใน 3 แนวทาง ดังนี้ 1) กองทุนฯ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการปรับปรุงการบริหารจัดการโดยทําแผน และเพิ่มความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 2) มีการปรับเปลี่ยนองค์การใน ระยะปานกลางแก้ระเบียบที่เป็นอุปสรรคบางข้อ และ 3) การปรับรื้อระบบขนาดใหญ่อย่างเต็ม รูปแบบ มีการ rebrand เพื่อสะท้อนภาพพจน์ที่ถูกต้อง ปฏิรูปองค์การให้มีชีวิตมีความเป็นอิสระ พอสมควรในกรอบของธรรมาภิบาลที่ดี ให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกองทุนต่างๆ มาเป็นหุ้นส่วน สําคัญของการด้าเนินงานร่วมกับกองทุนอย่างใกล้ชิด | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | กองทุนกู้ยืมเืพื่อการศึกษา -- การจัดการ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | การบริหารจัดการ | en_US |
dc.title | การเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการด้านการเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | Enhancing the financial management capacity of the student loans fund | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The Thai government established Student Loan Fund to be an official organization, under the auspice of the Ministry of Finance, to broaden access to higher education of poor students. Since 1996, the SLF already has loaned over 40 billion Baht to 4 million students. Since 2012, however, there has been a clear declining trend of the fund-and default loans are on the rise. This study aims to (1) explore additional alternatives to raise more fund; (2) diagnose the management of fund in its present form and (3) explore additional options to enhance the capacity of debtors to return the loan. This study uses qualitative approach based on secondary data and primary data. 17 informants who provided primary data and information are classified into three groups: policy makers; relevant academia and (3) present and former management of the SLF. The study found that SLF is destined by laws to rely solely on government funding. Policies of political parties, governments and governing boards dictate the operations carried out by managers of SLF. Many factors influence the default rates, hence, improved management must effectively reflect debtors' willingness to pay and their ability to pay. The management of SLF must be reformed to be more flexible, be an organic and learning organization. The study proposed three possible scenarios for improvement: (1) Business- as-usual scenario suggests marginal improvement upon the current operations, with more integrative and more participatory manner. (2) Moderate improvement suggests additional amendment to the existing rules and regulations, and (3) Radical change includes rebranding to truly reflect its core values under good governance-enabling full participation of all stakeholders. | en_US |
dc.description.degree-name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง | en_US |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
CHEDSUPHA TANTIPISANU.pdf | 4.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.