Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1725
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สิตานนท์ เจษฏาพิพัฒน์ | - |
dc.contributor.author | สมาน วงศ์วรายุทธ | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-23T02:07:10Z | - |
dc.date.available | 2023-06-23T02:07:10Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1725 | - |
dc.description | ดุษฎีนพนธ์ (ปร.ด (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) --มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้นําของผู้นําองค์กร/ชุมชนในการ บริหารตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาการบริหารงานของผู้นําในองค์กรชุมชน 3) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานของผู้นําในองค์กรชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการวิจัยในรูปแบบของการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิง คุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้นําระดับท้องถิ่นและผู้นําระดับท้องที่ จํานวน 270 คนและใช้แบบสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน จํานวน 12 คน ช่วงเวลาเก็บข้อมูลระหว่าง เดือนตุลาคม – เดือนธันวาคม 2555สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์แบบจําแนกชนิดของข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปราชญ์ชาวบ้านส่วนใหญ่เคยเป็นผู้นําชุมชนมาก่อน เช่น อดีตเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็น อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นอาสาสมั ฝ่ายพลเรือน มีคุณลักษณะเป็นผู้นําด้านเกษตรแบบพอเพียง ที่ประสบความสําเร็จในการทําการเกษตร ในระดับจังหวัด ตําบลและหมู่บ้าน และเป็นคนที่มีความ มุ่งมั่นเรียนรู้กับธรรมชาติและดําเนินชีวิต มีรูปแบบการบริหารตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) การวางแผนคน เน้นกําลังคนในการเพาะปลูกแบบพึ่งพาตนเอง 2) การวางแผนการตลาด เน้นเกษตรเพื่อการตลาด (3) การวางแผนทางการคลังโดยให้ความสําคัญการ ทําบัญชีครัวเรือน 4) การวางแผนการเกษตร เน้นการจัดการสหกรณ์การเกษตร กับอีก 4 ประเด็น รอง ประกอบด้วย (1) การจัดการแบบผสมผสาน อาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และเกษตรอินทรีย์ (2) การจัดการที่ดินเพื่อ รที่ดินเพื่อการเกษตร 3) การจัดการอุตสาหกรรมครัวเรือนและ 4) การจัดการ สิ่งแวดล้อม เน้นการอยู่กับธรรมชาติ คุณลักษณะผู้นําและภาวะผู้นําที่ใช้หลักการวางแผนการ ดําเนินงาน การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4 ประเด็นหลักและ 4 ประเด็นรองนั้นสามารถนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญตามกรอบความคิด 4 ทิศความพอเพียง และ 8 ทิศที่ส่งผลให้ครอบครัวมี รายได้ปีละ 1-5 แสนบาท ซึ่งน่าจะเป็นบทสรุปสําหรับผู้นําในทุกระดับ ในการนําไปสู่การวางแผน การบริหารเพื่อแก้ไขปัญหาในสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพ 2. ผู้นําระดับท้องถิ่นและผู้นําระดับท้องที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้นําและภาวะมุมผู้นําในการบริหารตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารองค์กรชุมชนผู้นําจะต้องใช้ความสามารถในการเป็นผู้นําแล้วต้องอยู่บนพื้นฐานของความ พอเพียงด้วย กล่าวคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี อีกทั้งต้องอาศัยทั้ง ความรู้และคุณธรรมมาเป็นแนวทางปฏิบัติในการวางแผน การจัดองค์กร การดําเนินงาน การติดตาม ประเมินผลซึ่งเมื่อยึดหลักการดังกล่าวแล้ว จะทําให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจ กระแสระบบทุนนิยมทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในอนาคต และการ บริหารงานของผู้นําเพื่อให้เกิดความสําเร็จและมีประสิทธิภาพสูงสุด จําเป็นต้องยึดตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเดินทางสายกลาง การดําเนินงานก็จะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. ผู้นําระดับท้องถิ่นและผู้นําระดับท้องที่มีความคิดเเกี่ยวกับการบริหารตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารงานขององค์กรมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ จะต้องมีการจัดระบบการบความเป็นผู้นําของผู้นําองค์กรชุมชน วิสัยทัศน์และภาวะผู้นํา สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะในการดําเนินการบริหารจัดการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะบรรลุความสัมฤทธิผลได้นั้น ผู้นําภาครัฐ ผู้นําองกรค์/ชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการ นําแนวคิดดังกล่าวไปสู่รากหญ้า คือ พี่น้องประชาชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนจึงจะ ประสบความสัมฤทธิผลอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และมีความสุข | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | ผู้นำ -- วิจัย | en_US |
dc.subject | เศรษฐกิจพอเพียง -- ภาวะผู้นำ -- หนองบัวลำภู -- วิุจัย | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำ -- วิจัย | en_US |
dc.title | ผู้นำกับการบริหารตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษา : จังหวัดหนองบัวลำภู | en_US |
dc.title.alternative | Leader and the management of the sufficiency economy philosophy : A case study in Nongbualamphu Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | The purposes of this research were to study the leadership of organizations/ communities' leaders in managing the sufficiency economy philosophy in Nongbualamphu province including, the leader's management, and the problems and obstacles of the management. The methodologies were quantitative and qualitative. Research instruments were interview forms and a questionnaire. Sampling were 12 local scholars and for 270 local leaders. Collected data held during October to December 201 were analyzed using percentage, mean, standard deviation and the data types. The research findings were: 1. Most local scholars used to be the community leaders as village head, public health and civil defense volunteers. The leaders committed to learn about nature and life to the philosophy sufficiency economy in 4 managing aspects: 1) manpower 2) marketing 3) household finance and 4) agriculture, and sub-aspects related to (1) integrated management using solar power and organic farming. (2) land management (3) household industry management and (4) environmental management. These finding are consistant with the concept of "4 paths of sufficiency" and "8 paths of incomes," which could solve current economic and society problems. 2. The opinions of the leaders about the leader traits were at the high level. Besides the leadership, the management must be based on the moderation, reasonable and self-immunity with the moral practice on planning, organizing, working and assessment 3. The agreements of the organizations and communities' leaders about the management were at the high level. The leadership is the major factor for achievement. The effectiveness is based on the managing system both internal and external organization under the vision and traits of the leader. The research concludes: 1. The sufficiency economy became a foundation of life and the national stability of the nation. The sufficiency economy could be a way for all walks of life in the country led by the government officials and all local leaders. 2. The sufficiency economy also fulfills sustainable development. | en_US |
dc.description.degree-name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง | en_US |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SAMAN WONGVARAYUTH.pdf | 8.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.