Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1727
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิรัชฌา วิเชียรปัญญา | - |
dc.contributor.author | อาภรณ์ บุญคงมาต | - |
dc.date.accessioned | 2023-06-23T02:57:08Z | - |
dc.date.available | 2023-06-23T02:57:08Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1727 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ระดับการรับรู้ประโยชน์และผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ และเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อสร้างการรับรู้ผลกระทบและพฤติกรรมป้องกันตนเองจากการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนมากกาลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลการเรียนส่วนมากมากกว่า 3.00 ส่วนพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้เฟสบุ๊กส์ โดยเป็นการใช้งานจากที่บ้าน มีระยะเวลาใช้งานมากกว่า 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสนทนา ส่วนมากมีประสบการณ์ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์มากกว่า 4 ปี ผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 2. ระดับการรับรู้ประโยชน์จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านที่สอบถามคือ ด้านอารมณ์ (xˉ = 3.88) ด้านการเรียน (xˉ = 3.54) และด้านสังคม (xˉ = 3.48) ส่วนการรับรู้ผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับน้อยทุกด้านที่สอบถาม ยกเว้นด้านสุขภาพที่พบว่ามีการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 2.72) 3. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองด้านการใช้งานอยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.41) ส่วนพฤติกรรมในด้านเทคนิคพบอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 3.40) 4. แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อสร้างการรับรู้ผลกระทบและพฤติกรรมป้องกันตนเองมี 4 แนวทางดังนี้ 1) แนวทางพัฒนากิจกรรมด้านการเรียน “เพื่อนร่วมเรียนรู้” 2) แนวทางพัฒนากิจกรรมด้านสังคม “ชุมชนออนไลน์สีขาว” 3) แนวทางพัฒนากิจกรรมด้านอารมณ์ “รู้จักและเข้าใจตนเอง” และ 4) แนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองด้านเทคนิค “รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยรังสิต | en_US |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา -- พฤติกรรม -- วิจัย | en_US |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา -- พฤติกรรม -- ภูเก็ต -- วิจัย | en_US |
dc.subject | เครือข่ายสังคมออนไลน์ -- วิจัย | en_US |
dc.title | แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อสร้างการรับรู้ผลกระทบและพฤติกรรมการป้้องกันตนเองจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดภูเก็ต | en_US |
dc.title.alternative | Learner development activities guideline to enhance of the effects and self-defense from social network of secondary school students in Phuket Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.description.other-abstract | This research analyses the perceived benefits and effects of online social networks with regard to behavior. The main objective of this research was to develop guidelines and activities that would make students’ aware of behavior they could use to protect themselves while using social networks. The samples in this study were 387 students from Phuket. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The collected data were used to calculate the frequency, percentage, mean and standard deviation. The results: 1. Most respondents are female secondary school students with a GPA higher than 3.00 who have used online social networks for more than 4 years. They use Facebook from their homes for 1 2 hours per day for conversation. 2. The overall perceived benefits of using social networks is at the excellent level. Each aspect: emotion (xˉ = 3.88), learning (xˉ = 3.54) and social (xˉ = 3.48) is also at the excellent level. The perception of the effects of social networks is at the low level level in every aspect except health, which is at the moderate level (xˉ = 2.72). 3. The overall protection behavior is at the high level (xˉ = 3.41). Knowledge of behavioral techniques is at the moderate level (xˉ = 3.40). 4. Activities developed to make students aware of behavior they could use to protect themselves while using social networks are: 1) learning activities, such as “Co-learning”, 2) social activities , such as “A White community”, 3) emotional events, such as “Knowing and understanding myself” and 4) behavioral guidelines to promote self-protection techniques, such as “Knowing online media”. | en_US |
dc.description.degree-name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.degree-level | ปริญญาโท | en_US |
dc.contributor.degree-discipline | การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ | en_US |
Appears in Collections: | ICT-ITM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
APORN BUNKONGMAT.pdf | 6.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.