Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1739
Title: แรงขับดันองค์กรนำในตลาดทุนไทยสู่ความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน
Other Titles: Driving forces for leading organization in Thai capital market towards corporate social responsibility and sustainability
Authors: สุวัฒน์ ทองธนากุล
metadata.dc.contributor.advisor: สมิทธ์ ตุงตะสมิต, บังอร พลเดชา
Keywords: ธุรกิจ -- ไทย;ตลาดทุน -- ไทย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เป็นแรงขับดันองค์กรให้ดำเนินกิจกรรมตาม แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม 2) ศึกษากระบวนการบริหารที่นำหลักการ CSR สู่ภาคปฏิบัติ และการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) ศึกษาผลลัพธ์จากการได้รับรางวัลด้าน CSR ของบริษัทจดทะเบียน ขอบเขตการวิจัยเชิงคุณภาพใช้ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯ ที่ได้รับรางวัลด้าน CSR จำนวน 10 บริษัท โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารกิจการและ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นคณะกรรมการตัดสินรางวัล CSR ดังกล่าว รวมทั้งผู้บริหาร ก.ล.ต. และตลาด หลักทรัพย์ฯ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การเก็บข้อมูลจากตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทที่ ได้รับรางวัลด้าน CSR ผลการวิจัยพบว่า แรงขับดันองค์กรธุรกิจให้สนใจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมีทั้ง ปัจจัยภายใน คือ การมีผู้นำที่ดี มีค่านิยม และอุดมการณ์การดำเนินงานด้วยหลักความรับผิดชอบต่อผู้ มีส่วนได้เสีย ห่วงใยสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะที่แรงขับดันจากปัจจัยภายนอก คือ กระแสโลกที่ ตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยในชีวิตอนามัย การปกป้องสังคม และสิ่งแวดล้อม มีผลให้เกิดกฎระเบียบ ทั้งระดับประเทศ และระดับสากล รวมทั้งบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้สังคมได้เรียนรู้ และคาดหวังให้มีธุรกิจที่ดี ปัจจัยภายนอกจึงมีความสำคัญมากกว่าปัจจัยภายในโดยกดดันให้ธุรกิจ ต้องปรับตัวให้มีความน่าเชื่อถือ และมีคุณธรรม โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาอย่างในประเทศ ไทย ผู้วิจัยได้สร้างแบบจำลองการบริหารองค์กรสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยบูรณาการ หลักการบริหารที่สำคัญ ที่เริ่มจากระดับคุมนโยบายและแผน ซึ่งแนวทางดำเนินงานอาจถูกแรงขับ ดันของปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายให้เป็นไปในทิศทางใดก่อนส่งต่อนโยบายเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติ ทั้งในกระบวนการธุรกิจ และกิจกรรมสังคม ซึ่งอยู่นอกกระบวนการทางธุรกิจ นำไปสู่ผลลัพธ์ที่มี ผลดี 3 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเป้าหมายรวมของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้จะมีการสื่อสาร และรับรู้ปฏิกิริยาจากสังคมด้วยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) สู่ระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ เพื่อการปรับตัวอย่างเหมาะสม กระบวนการเช่นนี้จึงเกิดผลดีทั้งการป้องกันปัญหา และสามารถสร้างคุณประโยชน์ต่อองค์กร และผู้เกี่ยวข้องทุกด้านให้ดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและ ยั่งยืนร่วมกัน ส่วนผลลัพธ์ของการจัดการประกวดด้าน CSR จะมีส่วนกระตุ้นและส่งเสริมบริษัทจด ทะเบียนโดยรวมให้สนใจ และพัฒนาระบบบริหารตามหลักการ CSR ขณะที่ตัวบริษัทที่ได้รับยก ย่องก็ได้เพิ่มความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นและมีความมุ่งมั่นรักษามาตรฐานเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของวงการ ธุรกิจต่อไป
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this dissertation were to study 1) Factors which have driven organizations to manage activities in accordance with Corporate Social responsibility (CSR), 2) management process which has applied CSR principles into practice and toward the sustainable development, 3) implications of the CSR awards on listed companies. The populations of this qualitative research are the executives from ten listed companies which won the CSR awards, the experts who are the CSR Award commission as well as some executive members from Stock Exchange of Thailand and the Securities and Exchange Commission. Data used in this qualitative research were collected by in-depth interview while data used in quantitative research collected from representative group of stakeholders in listed companies which won CSR Awards. Findings: the driving forces which made the organizations turn their focuses on CSR comes from internal and external factors. The internal factors are the good leaders, core-value and the ideal in doing business with the principles of responsibility for their stakeholders, for society and for environment. The external factors are the global trend in social and environmental awareness, in social and environmental protection which lead to issue the regulations both in national and international level as well as the roles of information and communication technologies which has helped society learn and expect for the good business. The external factors are more important than the internal factors by forcing the corporate to adapt to be more reliable and moral. The researcher has developed the model of the organizational management toward Corporate Social Responsibility by integrating the important principles of management which originate from the top executives who control the corporate policies and plans that have the elements driven from internal and external factors which have the implications on the practical approach both in the business process and social activities. Those processes called “Triple bottom line” ; on the economy, on society and on environment which are the common goal of sustainable development. Moving toward that goal, they need communications and recognize the feedback by merge them into policies and practices in order to adapt and respond in suitable way. This process is very effective in both preventing problems and be beneficial to all involved to operate sustainably and mutually. In addition, the implications of the CSR Awards contest will help motivate and promote the listed companies to turn their focus on and develop their business in line with CSR principles while the admired companies also increase their reliability and commit to maintaining high standards to be the good example continuously
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1739
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CSI-LSBP-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SUWAT THONGTHANAKUL.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.