Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1748
Title: การศึกษาการประเมินผลการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลชุมชนในภาครัฐไทย
Other Titles: A Study of the evaluation of knowledge management in Thai public community hospitals
Authors: นิวัฒน์ชัย นามวิชัยศิริกุล
metadata.dc.contributor.advisor: ปฐม มณีโรจน์, นพปฎล สุนทรนนท์
จารุรัตน์ แหยงกระโทก
Keywords: การจัดการความรู้ -- วิจัย;โรงพยาบาลชุมชน -- วิจัย;โรงพยาบาลในกำกับรัฐบาล
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาการประเมินผลการจัดการความรู้ของโรงพยาบำลชุมชนในภาครัฐไทย ใช้รูปแบบกำรศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำโรงพยาบาลภาครัฐระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 3 แห่งที่มีการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลและมีการดำเนินการจัดการความรู้มาเป็นกรณีศึกษา ได้แก่ (1) โรงพยาบาลบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก (2) โรงพยาบาลบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ และ (3) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ของการจัดการความรู้ การประเมินผลการจัดการความรู้ และสร้างรูปแบบการประเมินผลการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลชุมชนที่เหมาะสมกับบริบทภาครัฐไทย ผลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกทั้งกลุ่มผู้บริหารโรงพยาบาล 21 คน ร่วมกับการสนทนากลุ่มบุคลากรและกลุ่มผู้ป่วย 24 คน รวมถึงการสังเกตการปฏิบัติงานจริงแบบไม่มีส่วนร่วม และการวิเคราะห์เอกสารของทั้ง 3 โรงพยาบาล ด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระและวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า (1) ด้านการบริหารและสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล ผู้บริหารโรงพยาบาลมีลักษณะการนำที่เน้น “คน” ลักษณะการบริหารอย่างมีส่วนร่วม และมีโครงสร้างองค์การเป็นแบบแนวราบ ร่วมกับการใช้โครงสร้างแบบผสมผสาน ในรูปของคณะกรรมการคร่อมสายงานที่มีการพัฒนาและปรับปรุงระบบงาน และคุณภาพโรงพยาบาล โดยมีแรงผลักดันสำคัญ 4 ด้านได้แก่ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลทั้งเชิงบวกและลบต่อการบริหารโรงพยาบาล (2) ด้านการจัดการความรู้มีการกำหนดรูปแบบการจัดการความรู้ทางการแพทย์ด้วยการผสมผสานกับงานประจำ โดยแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพจะเป็นผู้ดำเนินการทำการบ่งชี้ความรู้ สร้างและแสวงหาความรู้จากการทบทวนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดูแลผู้ป่วย เกิดการประมวลและกลั่นกรองความรู้ให้เป็นความรู้ทางการแพทย์ที่เป็นแนวปฎิบัติของการดูแลโรคต่างๆ แต่ความรู้ที่เกิดขึ้นยังไม่ถูกจัดการอย่ำงเป็นระบบ สิ่งค้นพบที่น่าสนใจคือ มีการจัด “วงเรื่องเล่าเร้าพลัง” ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบลึกซึ้งหรือ เรียกว่าการจัดการความรู้แบบจิตปัญญา (spiritual knowledge management) ได้ผลลัพธ์เป็นความรู้ในด้านทักษะการใช้ชีวิตและเสริมพลังในการทำงาน (3) ด้านการประเมินผลการจัดการความรู้ ด้วยการถอดบทเรียนหลังจัดกิจกรรม เรียกว่า การถอดบทเรียนอย่างลึกซึ้งและเสริมพลัง (spiritual and empowerment reflection after action review – SEM AAR) เป็นการประเมินผลแบบใช้กระบวนการ plan-do-check-act ในการพัฒนาและปรับปรุงงาน (improvement) ในระดับบุคคลและทีมงาน โดยมีผู้ประเมินที่มีบทบำทเป็นโค้ชคอยอำนวยความสะดวกและประสานงานกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดความร่วมมือ การมีส่วนร่วม ด้วยผู้ประเมินมีทักษะการสื่อสารที่ดี และที่สำคัญคือมีทักษะทางจิตวิญญำณ (spiritual skills) โดยเฉพาะทักษะการตั้งคำถามและมีการสะท้อนแนวคิดอย่างใคร่ครวญ(spiritual reflection)ให้เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่สร้างคุณค่า (value) จากกำรประเมินต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้สาหรับการประเมินผลการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลชุมชนภาครัฐของไทย มี4 ประเด็นคือประเด็นแรก ด้านผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ประเมินเองได้ จะสามารถทำให้การจัดการความรู้ดำเนินต่อเนื่องและมีพลัง โดยผู้บริหารจะต้องมีภาวะผู้นำที่มุ่งเน้น “คน” การบริหารอย่างมีส่วนร่วมและโครงสร้างองค์การเป็นแบบแนวราบ ร่วมกับการใช้โครงสร้างแบบผสมผสาน สร้างวัฒนธรรมองค์การมุ่งเน้นทำงานเป็นทีม ประเด็นที่สอง กำรบริหารและพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะและประสบการณ์แบบสหวิชาชีพ รวมทั้งมีระบบการพัฒนาผู้ประเมินผลให้มีทักษะการสื่อสำรที่ดีและมีทักษะทำงจิตวิญญำณด้วย โดยเน้นการประเมินผลเป็นการทำให้ทุกคนเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นด้วยเทคนิคการสะท้อนบทเรียนอย่างลึกซึ้ง (spiritual reflection)เพื่อก่อให้ความผูกพันและความสัมพันธ์อันดีต่อกันของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ รวมทั้งเพิ่มกำรใช้ข้อมูลสารสนเทศ ประเด็นที่สาม กระบวนการในการประเมินควรมีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เรียกว่า การถอดบทเรียนอย่างลึกซึ้งและเสริมพลัง ที่ใช้แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพและประเด็นสุดท้าย ผลที่ได้จากการประเมินผลอันได้แก่ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่สร้ำงคุณค่า (value) จากการประเมินต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทางโรงพยาบาลควรวางระบบการรวบรวมองค์ความรู้ (community knowledge) ที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร
metadata.dc.description.other-abstract: This dissertation is a qualitative research of a study of the evaluation of knowledge management (KM) in Thai public hospitals which is based on three selected community hospitals. They are (1) Bangkrathum Hospital in Phisanulok province, (2) Bungkhla Hospital in BuengKan province, and (3) Dansai Crown Prince Hospital in Loei province. The objectives are (1) to study present phenomena of KM and mainly the evaluation of KM of case hospitals, and (2) to generate appropriate evaluation of KM guidelines for Thai public hospitals, especially community hospitals. The methods used are in-depth interviews of 21 hospital administrators and focus groups among 24 persons who are in charge of the management system and the patients. All data are analyzed with thematic analysis. Content analysis of relevant documents and non-participatory observations are held among key issues of KM and the evaluation of KM. Major findings follows (1) similar characteristics of three hospitals are using participation management and quality improvement committees. The organization structure is flat and matrix; by using medical persons across the board, which empower and encourage participatory process of KM and evaluation of KM. However, there are different levels of KM according to their organization contexts and environment factors. (2) KM is enforced by top-down policy which finally integrated into routine jobs and quality system. According to KM process, the knowledge identification of each hospital is initiated by the patient care team and varies depend on contexts. The knowledge creation and acquisition, knowledge codification and refinement are operated by the same teams. The first significant finding of this paper is that the knowledge sharing and learning of the best practices, processed through spiritual knowledge management , has been influenced the continuous development and improvement of quality services. However, the systemic knowledge management could not been established throughout the public hospitals. And finally, (3) the evaluation of knowledge management of all 3 hospitals can divide into four aspects such as (I) evaluators, as the coaches and facilitators, have good communication and spiritual skill.(II) stakeholder’s attitude and information need are recognized. (III) the evaluation system is spiritual and empowerment after action review (SEM AAR), which reflect and recognize the value of workers and each other, this after action review is empowerment and encouragement stakeholders, this is second significant finding from this paper. And (IV) the results of the evaluation are improvement and responsiveness system which distribute community knowledge. The recommendation of this study is that Thai’s public community hospitals are (1) the hospital administrator, chief knowledge officer or project manager should be the evaluators, who worked as the coaches and facilitators. Especially, organization structure should be flat and matrix. (2) Not only stakeholder’s attitude and commitment but also community ownership and democratic participation are recognized. The organization culture should be team work oriented. (3) the evaluation system is spiritual and empowerment after action review (SEM AAR), which reflected understanding and awareness value of workers and each other, this review was empowerment and participation stakeholders. If it could be self-evaluation and overall feedback which is appreciation and suggestion system. And (4) the outcome of this evaluation should be organized via the collection the results and management of organization’s information and knowledge.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1748
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NIWATCHAI NAMWICHAISIRIKUL.pdf8.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.