Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1772
Title: การบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ ผังมโนทัศน์ ในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเจริญวิชช์ฺ จังหวัดกระบี่
Other Titles: The integration of sufficiency economy philosophy concepts through the “concept map” into learning management for primary school level 6 students at Chareonvich school in Krabi Province
Authors: เจษฎาวุฒิ พัวพันสวัสดิ์
metadata.dc.contributor.advisor: สุพัตรา ประดับพงศ์
Keywords: การจัดการเรียนรู้ -- วิจัย;ผังมโนทัศน์;นักเรียนประถมศึกษา -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการนาแนวคิดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนรู้สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 “สถานศึกษา พอเพียง” จังหวัดกระบี่ ทั้ง 12 แห่ง 2) เพื่อบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดย ใช้ “ผังมโนทัศน์” ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเจริญวิชช์ จังหวัดกระบี่ และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการบูรณาการฯ กลุ่มตัวอย่างสาหรับวัตถุประสงค์ ข้อ 1 คือ ผู้อานวยการ“สถานศึกษาพอเพียง” 12 คน และครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้ 57 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ กลุ่มตัวอย่างสาหรับ วัตถุประสงค์ข้อ 2 - 3 คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเจริญวิชช์ จังหวัดกระบี่ จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้ มีดังนี้ 1) แบบ สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสาหรับผู้อานวยการสถานศึกษา 2) แบบสอบถามสาหรับครูผู้สอน 3) การ วิเคราะห์เอกสาร 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังเรียน 6) แบบ ประเมินพฤติกรรม/การปฏิบัติตนของนักเรียนในกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 7) แบบประเมินคุณลักษณะ “อยู่อย่างพอเพียง” ของนักเรียน และ 8) แบบประเมิน ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ “ผังมโนทัศน์” สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่า ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และ t-test for dependent samples ผลการวิจัยสาหรับที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ 1. จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน ทั้ง 12 แห่ง พบว่า 1.1) “สถานศึกษาพอเพียง” ได้นำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปกำหนดในวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของ แผนปฏิบัติการประจำปี (ร้อยละ 100) 1.2) คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษามีการประชุม ร่วมกัน เพื่อหาแนวทางในการนาแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข” ไปจัดการเรียนรู้ (ร้อยละ 83.33) 1.3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่วนใหญ่เป็นทางด้าน การเกษตร การสร้างอาชีพและการหารายได้ (ร้อยละ100) 1.4) “สถานศึกษาพอเพียง” แต่งตั้ง คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามกิจกรรมการเรียนรู้ที่รองรับแนวคิดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 100) และ 1.5) สถานศึกษาพอเพียงกำหนดให้มีการประเมินผลการ ดำเนินงานตามกิจกรรมการเรียนรู้ (ร้อยละ 75) 2. จากการสอบถามครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า 2.1) การพัฒนาหลักสูตรมี การบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ร้อยละ 100) 2.2) สัดส่วนของการบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสาระการเรียนรู้ของทุก กลุ่มสาระการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( x̅ = 3.16) 2.3) ในการจัดการเรียนรู้ มีการ วางแผนการบูรณาการ การจัดโครงงาน/กิจกรรมการเรียนรู้ และการจัดแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ( x̅ = 4.23) 2.4) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการวัดและประเมินผลมีมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( x̅ = 3.91) และ 2.5) ปัญหาการดำเนินการ พบว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในเรื่องความ เข้าใจ “หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข” และการนาไปประยุกต์ใช้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.55) 3. การบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ “ผังมโนทัศน์” พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเจริญวิชช์ สามารถวิเคราะห์ “ผังมโนทัศน์” ซึ่งประกอบด้วย “ความมุ่งหมาย” “ความรู้” “คุณธรรม” “ประหยัด” “ประโยชน์” “ประสิทธิภาพ” และ “ปลอดภัย” อย่างครบองค์รวม เพื่อใช้ในการวางแผนและปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยรวม ร้อยละ 82.50 4. การประเมินประสิทธิผลของการบูรณาการโดยใช้ “ผังมโนทัศน์” พบว่า 4.1) ค่าเฉลี่ย ของคะแนนรวม ด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 4.2) นักเรียน มีการแสดงพฤติกรรม/การปฏิบัติในกระบวนการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 12.96 อยู่ในระดับ มาก 4.3) นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้าน “อยู่อย่างพอเพียง” คะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 8.05 อยู่ในระดับมาก และ 4.4) นักเรียนมีความพึงพอใจ ที่มีต่อการบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ “ผังมโนทัศน์” มีค่าเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น อยู่ในระดับมาก ( x̅ = 4.23)
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this doctoral dissertation were to 1) study the current situation of implementing sufficiency economy philosophy concepts in learning management for Grade 6 students of the 12 schools certified as “Sufficiency Economy Education Institutions” in Krabi, 2) integrate the sufficiency economy philosophy concepts through the “Concept Map” in learning management for Grade 6 students of Chareonvich School in Krabi, and 3) evaluate the effectiveness of the integration. The sample group for Objective 1 consisted of 12 purposely selected school directors and 57 purposely selected teachers responsible for 8 learning strands in Grade 6 at the 12 certified schools. The sample group for Objectives 2-3 was 60 purposely selected students in Grade 6 at Chareonvich School in Krabi. The research instruments were 1) a semi-structured interview for school directors, 2) a questionnaire for teachers, 3) document analysis 4) Thai and science lesson plans, 5) pre- and post- knowledge tests, 6) a behavior assessment form, 7) an attribute assessment form, and 8) a student satisfaction questionnaire. Statistics used for data analysis were frequencies, percentages, means, standard deviations, and t-test for dependent samples. The main findings of this study were as follows: 1. The findings from interviewing the school directors disclosed that 1.1) the 12 certified schools had specified the sufficiency economy philosophy concepts in the visions, missions, and goals of their annual action plans (100%); 1.2) their teachers and educational institution committee had meetings to find out the way to implement the sufficiency economy philosophy with “three loops two conditions” in managing learning for their students (83.33%); 1.3) most of the learning activities involved agriculture, career building, and earning a living (100%); 1.4) the committee was appointed to monitor the implementation of the learning activities (100%); and 1.5) the evaluation of the implementation was specified in the certified schools (75%). 2. The findings from the responses by the teachers revealed that 2.1) there was the integration of the sufficiency economy philosophy concepts in all learning strands in Grade 6 of the certified schools (100%); 2.2) the integration proportion was at an average level ( x̅ = 3.16); 2.3) the certified school teachers planned the integration and arranged projects/learning activities as well as learning resources for their students at a high level ( x̅ = 4.23); 2.4) all learning strands were measured and evaluated at a high level ( x̅ = 3.91); and 2.5) problems in the implementation were found in students’ learning outcomes in terms of their understanding and the application of the sufficiency economy philosophy concepts at an average level ( x̅ = 2.55). 3. The integration of the sufficiency economy philosophy concepts in Thai and science learning management through the “Concept Map” showed that Chareonvich School Grade 6 students could holistically analyze the elements of the “Concept Map” consisting of “Objective,” “Knowledge,” “Moral,” “Economy” “Usefulness,” “Efficiency,” and “Safety” in planning their learning activities at the average percentage score of 82.50. 4. The integration effectiveness evaluation disclosed that 4.1) the students’ post-test scores in both Thai and science learning were significantly higher than their pre-test scores at the 0.05 level; 4.2) Chareonvich School Grade 6 students earned the total average score of their performance in the learning process at the high level of 12.96; 4.3) Chareonvich School Grade 6 students earned the total average score of their “Sufficiency” attributes at the high level of 8.05; and 4.4) student satisfaction towards the integration of the sufficiency economy philosophy concepts through the “Concept Map” in their learning was at a high level ( x̅ = 4.23).
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด.( การศึกษา)) มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556
metadata.dc.description.degree-name: ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การศึกษา
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1772
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-ES-D-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JESSADAVUTH PUAPANSAWAD.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.