Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1773
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการเก็บภาษีเงินได้ของมูลนิธิ : ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา
Other Titles: Legal problems regarding income tax for foundations : in comparative analysis between Thailand and The United States of America
Authors: อาภรณ์ แสงใสแก้ว
metadata.dc.contributor.advisor: ศิรภา จำปาทอง
Keywords: ภาษีเงินได้ -- ไทย;ภาษีเงินได้ -- สหรัฐอเมริกา;ภาษี -- การจัดเก็บ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้ของมูลนิธิ ประการแรกมีสาเหตุมาจาก การจําแนกประเภทมูลนิธิ ซึ่งตามกฎหมายไทยสามารถจําแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ มูลนิธิที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และประเภทที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ จึงมักเกิดความสับสนในการแยกประเภท ประกอบกับประกาศกระทรวงการคลัง (ฉบับที่ 531) กําหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขาดประสิทธิภาพเอาไว้ ทําให้มูลนิธิจํานวนมากที่มี วัตถุประสงค์ไม่แสวงหากําไร ไม่สามารถเข้าหลักเกณฑ์การพิจารณาได้ นอกจากนั้น หากเมื่อมูลนิธิ ใดหารายได้จัดกิจกรรมที่ทําให้เป็ กิดรายได้ ตามมาตรา 40 (1)- (8) แห่งประมวลรัษฎากร มูลนิธิเหล่านั้น มีหน้าที่ที่จะเสียกณฑ์การคํานวณภาษีเงินได้มูลนิธิซึ่งแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์การคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไป เพราะการคิดคํานวณภาษีเงินได้มูลนิธิคิดจากฐานรายได้ ในขณะที่การคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไปคิดจากฐานกําไรสุทธิ คือรายได้หักด้วย รายจ่าย การจัดเก็บภาษีเงินได้ในประเทศไทยจึงไม่เป็นธรรม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ฉบับนี้ จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหากฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของมูลนิธิ โดยศึกษาจากประมวลรัษฎากรของประเทศไทย และนําไปเปรียบเทียบกับประมวลรัษฎากรของประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาพบว่าการเข้าสู่หลักเกณฑ์การพิจารณายกเว้นภาษีเงินได้และ ภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยนั้นมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และกลายเป็นภาระให้กับมูลนิธิ ในขณะที่ หลักเกณฑ์ดังกล่าวของประเทศสหรัฐฯ ปรากฏความชัดเจนมากกว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงไม่เอื้อ ต่อมูลนิธิในประเทศไทยที่มีวัตถุประสงค์ที่ไม่แสวงหากําไร และช่วยเหลือสาธารณะอย่างแท้จริง จึงสมควรควรที่จะมีการพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อมูลนิธิ เหล่านั้น
metadata.dc.description.other-abstract: The first legal problem of collection of foundation income tax is caused by the classification of this type of juristic person. According to Thai Internal Revenue Code, are two types of coundations; the exempted and unexempted foundations. This causes confusion among the organizers of foundations. Due to the Declaraion of Ministry of Finance (No. 531), such inefficient requirements also pose significant problems for foundations to be qualified for income tax and VAT exemption purposes and enter into the system. This results a huge number of foundations which practice with nonprofit purpose cannot obtain the stax exemption status. In addition, any foundation organizes activites to raise funds is subject to pay tax under Section 40 (1)- (8) of Thai Internal Revenue Code, be calculated on income base, not net profit base like any other juristic person. This thesis surveys on the legal problems of foundation income tax. In comparison, it studies on the differences between Thai and and the United States Internal Revenue Code. This study finds that Thai Internal Revenue Code is more problematic than the U.S. version, especially, those requirements for foundations to enter into to be qulatified for income tax and VAT exemptions. Such unfair and unflexible requirements burden the foundations to comply with. Therefore, there should be consideration to revise and provide suitable guidelines for foundations which have a real purpose of being non-profit be able to apply
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (นิติศาสตรมหาบัณฑิต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2554
metadata.dc.description.degree-name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิติศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1773
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Law-Law-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ARPORN SANGSAIKAEW.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.