Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1791
Title: | ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติต่อการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่ทางช่องท้อง โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี |
Other Titles: | The Effectiveness of pain management protocol in patients with major abdominal surgery in Nopparatrajathanee Hospital |
Authors: | นภสร จั่นเพ็ชร |
metadata.dc.contributor.advisor: | อำภาพร นามวงศ์, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ |
Keywords: | โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี;ผ่าตัดช่องท้อง;การพยาบาลผู้ป่วย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยปฏิบัติการแบบติดตามไปข้างหน้านี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติต่อการจัดการความปวดหลังผ่าตัดช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นวิสัญญีพยาบาล จํานวน 22 คน พยาบาลวิชาชีพประจํา หอผู้ป่วยศัลยกรรมชายสามัญ 23 คน และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ทางช่องท้อง โรงพยาบาล นพรัตนราชธานี จํานวน 31 ราย ดําเนินการวิจัยตามขั้นตอนของ CURN Model โดยขั้นตอนที่ (1) การแจกแจงปัญหา (2) พัฒนาแน ปฏิบัติการจัดการความปวดหลังผ่าตัดช่องท้องจากหลักฐานเชิง ประจักษ์ พัฒนาแบบบันทึกความปวด พัฒนาบุคลากรพยาบาลโดยการจัดอบรมเรื่องการจัดการ ความปวด เพื่อเพิ่มความรู้เรื่องการจัดการความปวดทั้งของวิสัญญีพยาบาลและพยาบาลประจําหอ ผู้ป่วยศัลยกรรมชายสามัญใช้ระยะเวลาอบรม 1 เดือน (3) การประเมินผลการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติโดยการติดตามนิทศการปฎิบัติcase conference ทุกราย และประชุมกลุ่มทุก 1 เดือนเพื่อปรับปรุงระบบพยาบาลให้เอื้อต่อการนำแนวปฏิบัติไปใช้และ (4) การประเมินผลลัพธ์การพัฒนาระบบ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ในการจัดการ ความปวดของพยาบาลก่อนและหลังพัฒนาระบบ การรับรู้ความความปวดในห้องพักฟื้น 24, 48 และ 72 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดที่หอผู้ป่วยและความพึงพอใจของผู้ป่วยหลัง ผ่าตัดช่องท้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเ สถิตเชิงบรรยาย Paired t-test และ One-sample t-test ผลของการพัฒนาระบบพบว่า วิสัญญีพยาบาลและพยาบาลประจําหอผู้ป่วยศัลยกรรม ชายสามัญมีความรู้เรื่องการจัดการความปวดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p= .005) ค่าเฉลี่ย คะแนนการรับรู้ความปวดของผู้ป่วยหลังการพัฒนาระบบที่ห้องพักฟื้น 5.4 สูงกว่าเกณฑ์ควบคุมได้ (Pain score <5) แต่พบว่ามีการประเมินความปวดเพิ่มขึ้นร้อย ร้อยละ 72.5 และผู้ป่วยทุกรายได้รับ การจัดการความปวดตามแนวปฏิบัติ และค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความปวดก่อนส่งกลับหอผู้ป่วยอยู่ ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ และค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความปวดในระยะหลังผ่าตัดที่ 24, 48 และ 72 ชั่วโมงอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ (Pain score (5) และคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการความปวด หลังใช้แนวปฏิบัติสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=.003) |
metadata.dc.description.other-abstract: | The aims of this Prospective Intervention study were to develop the nursing system for pain management and evaluate the effect of the nursing system to nurses's knowledge, patients' pain perception and satisfaction. The purposive samples consiste of 22 anesthetic nurses, 23 registered nurses in male surgical ward and 31 postoperative patients. CURN model was used as conceptual model. The development process has 4 phases. The first phase was problem identification. The second were evidence based pain management protocol development, evaluation of pain assessment scale development seminar on pain management for nurses. The third phase was protocol by supervision and case conferences. The last phase was outcomes evaluation of the nursing system. Nurses' knowledge of pain management before and after nursing system development, pain perception in recovery room, 24, 48 and 72 hours in ward and satisfaction of the patients were collected. Data were analyzed by descriptive statistics, paired t-test and one sample t-test The findings showed the Nurses' knowledge of pain management before and after nursing system development (p=.005), pain perception scores in recovery room 5.4 highess than pain control (pain score <5). Pain assessment increased 72.5 percent and the mean level of perceived pain and returning patients remained controlled. Pain perception scores at 24, 48 and 72 hours of the intervention had pain score less than pain control (pain score <5). Satisfaction withtheir pain management practices higher the standardstandard of statistical significance (80 percent) p= .003). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1791 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NAPASORN JANPHETE.pdf | 11.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.