Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1793
Title: | ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงระหว่างศิลปินกับกลุ่มแฟนคลับ กรณีศึกษา : กลุ่มแฟนคลับไทยและกลุ่มแฟนคลับเกาหลี |
Other Titles: | Parasocial interaction between the artist and their fans case study : Thai and Korean Fans |
Authors: | วินัสตา วิเศษสิงห์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ลักษณา คล้ายแก้ว |
Keywords: | ศิลปิน -- เกาหลี -- วิจัย;ศิลปิน -- ไทย -- วิจัย;ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม -- วิจัย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะและพฤติกรรมของกลุ่มแฟนคลับไทยและ กลุ่มแฟนคลับเกาหลี การสื่อสารของบริษัทต้นสังกัดและการสื่อสารของกลุ่มแฟนคลับที่นําไปสู่การ มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และอธิบายความแตกต่างระหว่างศิลปินเกาหลีกับกลุ่มแฟนคลับไทยและศิลปินไทยกับกลุ่มแฟนคลับเกาหลี มีกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยคือ กลุ่มแฟนคลับไทยของศิลปินเกาหลีซูเปอร์จูเนียร์ และกลุ่มแฟนคลับเกาหลีของศิลปินไทยโทนี่ จา ที่มีอายุระหว่าง 12-30 ปี โดยใช้แนวคิดเรื่องแฟน, แนวคิดเรื่องวัฒนธรรม, แนวคิดการประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด, แนวคิดการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมถึงความจริง, ทฤษฎี การไหลสองทอดของข่าวสารและการสื่อสารสองทาง จะการสื่อสารสองทาง โดยงานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ใช้การสัมภาษณ์ เจาะลึกกลุ่มแฟนคลับทั้ง 2 และบริษัทต้นสังกัดของศิลปินในประเทศไทย การสังเกตแบบมี ส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มแฟนคลับ และการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ ร่วมกับการศึกษา ข้อมูลจากเอกสารและสื่อประเภทต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทั่วไปของกลุ่มแฟนคลับไทยและกลุ่มแฟนคลับเกาหลีจะมีสถานภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลางถึงดี เป็นกลุ่มคนที่มีความมั่นใจ มีน้ำใจ ผูกพันกันด้วยความชื่นชอบศิลปิน แตกต่างที่กลุ่มแฟนคลับไทยจะมีอายุน้อยกว่า มีการรวมกลุ่มที่ถาวรและเหนียวแน่นกว่า ส่วนพฤติกรรมที่เหมือนกันคือมีการสนับสนุนผลงาน และตัวศิลปิน แต่จะต่างกันคือ พฤติกรรมของกลุ่มแฟนคลับไทยจะแสดงออกทางการแต่งกาย และกิริยาท่าทางที่มากกว่า มีพฤติกรรมทั้งในงานสาธารณะและงานเฉพาะกิจ แต่กลุ่มแฟนคลับเกาหลีจะมีพฤติกรรมเฉพาะในงานสาธารณะเท่านั้น ส่วนการสื่อสารที่นําไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมถึงความจริงนั้นมีที่มีการสื่อสารของบริษัทต้นสังกัดไปยังกลุ่มแฟนคลับ เป็นลักษณะการไหลสองทอดของข่าวสาร และการสื่อสารของกลุ่มแฟนคลับเป็นการสื่อสารสองทางโดยมีสื่อเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์เป็นกลไกสําคัญจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้าสู่การเป็นแฟนคลับ มาจากการชื่นชอบศิลปิน การเปิดรับและ แสวงหาข่าวสาร การติดตาม ไปจนถึงการมีส่วนร่วมในที่สุด ส่งผลให้กลุ่มแฟนคลับเกิดปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมกึ่งความจริงกับศิลปิน ที่พบว่า เป็นปฏิสัมพันธ์ที่กลุ่มแฟนคลับรู้สึกฝ่ายเดียว มีลักษณะ ทางความคิด คําพูด และการกระทํา ในด้านบวกและด้านลบ |
metadata.dc.description.other-abstract: | This study aims to describe the characteristics and behaviors of Thai and Korean fans and the communication among the artists' agencies and fans that lead to the parasocial interaction, and to explain the difference of parasocial interaction between Korean artists and Thai fans and between Thai artists and Korean fans. The sample of this research is Thai fans of Korean artists, Super Junior, and Korean fans of Thai artist, Tony Jaa, whose ages are between 12 and 30 years old. This study uses the concepts of lover, culture, marketing public relations, parasocial interaction, two-step flow of communication and two-way communication. This qualitative research uses in-depth interviews with both groups of fans and the artist's agency in Thailand, participant observation for activities of fans, informal discussion and review of relevant documents and media. According to the results of this study, in terms of general characteristics of Thai and Korean fans, their economic status is from moderate to good. They are confident, generous and bound together by appreciating their favorite artists. The difference is that Thai fans are younger and more permanent and cohesive grouping. Both groups have the same behaviors, namely, they support both work and artists. However, the difference is that Thai fans usually express themselves through their dresses and more manners and behave in both public and special activities, while Korean fans express their behaviors in public activities only. The communication that leads to the parasocial interaction originates from the communication of the artists' agencies to their fans in a manner of two-step flow of communication, and the communication of the fans is a two-way communication with websites and online social networks as an important mechanism. The starting point of becoming a fan comes from appreciating their favorite artists, openness and pursuit of information, follow up and, subsequently, participation. These components create a parasocial interaction between the artists and their fans. It is found that it is the relationship in a manner that the fans feel only the one side in which there is both positive and negative nature of thought, speech and action |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2556 |
metadata.dc.description.degree-name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1793 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CA-CA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
VINUSTA WISETSING.pdf | 31.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.